แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน ปีที่ 7
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายประพนธ์ บุญเจริญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชศาสตร์(การผลิตพืชไร่ )
ประสบการณ์ : 1.การวิจัยด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ แบบยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2.การวิจัยด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ ในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง 3.การวิจัยด้านเทคนิคการจัดการพืชอาหารสัตว์ ในสภาพแปลงหญ้าผสมถั่วพืชอาหารสัตว์
ความเชี่ยวชาญ : ด้านพืชอาหารสัตว์ และด้านการผลิตข้าว
หัวหน้าโครงการ
นายสราญ ปริสุทธิกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การเลี้ยงแพะ พืชอาหารสัตว์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อารีรัตน์ ลุนผา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สัตวศาสตร์ (วิชารองพืชไร่)
ประสบการณ์ : - เจ้าหน้าที่วิจัยโครงการพืชอาหารสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ปี 2543-2549 - อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ปี 2550-ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : - พืชอาหารสัตว์ การจัดการทุ่งหญ้า และอาหารสัตว์
ผู้ร่วมโครงการ
นายวันชัย อินทิแสง คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สัตวศาสตร์
ประสบการณ์ : 17
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตดคนม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ทางภาครัฐได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรทุกกลุ่มและทุกชุมชนได้หันมาทำการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมในรูปแบบที่เพิ่มมูลค่าสิ้นค้าต่อหน่วย ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์ สินค้าชุมชนให้สามารพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม เพื่อให้ทุกกลุ่ม/ชุมชนสามารถประกอบอาชีพและมีรายได้พึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชน และมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะจัดเตรียมความพร้อมของเกษตรกรให้มีความรู้ทางด้านการผลิตอาหารเป็นแหล่งครัวโลกของประเทศไทย จึงได้มุ่วเน้นให้เกษตรกรไทยมีความรู้ด้านการผลิตพืชและสัตว์ รวมทั้งอุตสาหกรรมการเกษตรด้านต่างๆ และโดยเฉพาะการผลิตสัตว์เพื่ออุตสาหกรรมนั้น ต้นทุนอยู่ที่อาหารสัตว์ ดังนั้นถ้าเกษตรกรมีความรู้ด้านการผลิตพืชอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายทั้งในรูปผลิตผลหญ้าแห้ง หญ้าหมัก และการผลิตเมล็ดพันธ์ ต้นกล้าพันธุ์ เพื่อการพัฒนาทางด้านอาชีพและผลิตอาหารหยาบคุณภาพดีให้เพียงพอสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ในอนาคต อันเป็นการลดการใช้อาหารข้นราคาแพง และเป็นการลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมให้เกษตรกรของประเทศไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีกินดีอยู่ดี อนึ่งในช่วงระยะเวลา ปี พ.ศ.2560 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมชุมชน ชื่อโครงการ “การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน” ได้ดำเนินงานในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 มีกลุ่มเกษตรกรและผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ เป็นจำนวน 2 กลุ่ม และมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯทั้งสิ้น 100 คน ซึ่งจำแนกเป็นเพศชาย 40 คน และหญิง 60 คน มีอายุระหว่าง 36-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 73.70 มีระดับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และปริญญาตรี ร้อยละ 71.90, 22.80 และ 5.40 ตามลำดับ เป็นผู้ที่มีอาชีพการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.20 และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000.-บาท คิดเป็นร้อยละ 89.60 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯสามารถติดต่อเข้ารับการอบรม/สอบถามข้อมูลการอบรมได้หลายช่องทาง วิธีการ มีระดับความคิดเห็นมาก - มากที่สุด ร้อยละ 86.80 เกษตรกรได้ความรู้ด้านการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรได้รับความรู้ด้านการปลูกและจัดการแปลงทุ่งหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์ ให้สามารถนำไปใช้ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อันจะส่งผลต่อการลดปัญหาการขาดแคลนหญ้าพืชอาหารสัตว์ และลดต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สนับสนุนโครงการของรัฐบาลที่ส่งเสริม “ การเลี้ยงโคและกระบือไว้ใช้งานและเป็นธนาคารออมสินแก่เกษตรกร” และเป็นการเผยแพร่งานด้านวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การดำเนินการจัดฝึกอบรมฯควรจัดในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เมษายน ของทุกปี สำหรับการจัดฝึกอบรมครั้งนี้มีความเหมาะสมทั้งช่วงเวลา สถานที่ รูปแบบการจัดฝึกอบรมฯ วิทยากร สื่อการนำเสนอภาคบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ปฏิบัติงานภาคสนาม อาหารและอาหารว่าง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.50 ส่วนการประเมินภายหลังการฝึกอบรมฯ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ คิดเป็นร้อยละ 98.50 และเกษตรกรมีพื้นที่สำหรับการปลูกสร้างแปลงหญ้าเฉลี่ย 0.75 ไร่ต่อฟาร์ม มีโคและกระบือ เฉลี่ย 4.80 ตัวต่อครัวเรือน จากการสัมภาษณ์และสอบถามข้อมูลของเกษตรผู้เลี้ยงโคและกระบือ พบว่า เกษตรกรมีทัศนคติที่ดีต่อการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ86.42 เนื่องจากปศุสัตว์ที่เกษตรกรเลี้ยงมีสุขภาพดีขึ้น และที่สำคัญการปลูกหญ้าช่วยทำให้การเลี้ยงโคและกระบือ มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ช่วยลดเวลาและแรงงานที่ออกไปทำการเกี่ยวหญ้าธรรมชาติมาเลี้ยงได้เป็นอย่างมาก และ สามารถมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมฯ สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มากกว่าร้อยละ 90 และการมีรายได้เสริมจากการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ยังไม่เกิดมูลค่าจากการจำหน่ายขึ้น โดยเกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมฯไปลดค่ายใช้จ่ายในด้านการจัดซื้ออาหารหยาบเสริม ประมาณ 2,000-4,000 บาทต่อเดือน( ร้อยละ 58 ) ขณะที่ในด้านคุณภาพชีวิตซึ่งสามารถประมาณเป็นตัวเงินได้ 2,500 – 3,000 บาทต่อเดือน และเป็นการนำความรู้ไปใช้พัฒนาอาชีพ ซึ่งได้นำความรู้ไปพัฒนาใช้หลังการอบรมภายใน 1 เดือน (ร้อยละ 86) ซึ่งเป็นการนำความรู้ไปใช้ในครอบครัว (ร้อยละ 78) ด้านสุขภาพสัตว์ พบว่า ปศุสัตว์ที่เลี้ยงมีความอ้วน สีผิวมัน และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบ กับสุขภาพสัตว์ก่อนการให้กินหญ้าสดที่ได้จาก แปลงปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ โดยมีราคาโคเนื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20 บาทต่อตัวต่อวันต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จากการศึกษาแบบสำรวจ ยังพบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์โคเนื้อ มีความสนใจและตั้งใจ ที่จะพัฒนาทุ่งหญ้าพืชอาหารสัตว์ แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญที่มีต่อการพัฒนาทุ่งหญ้าพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีดังต่อไปนี้ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ในการอบรมมีความเหมาะสม อาหารและเครื่องดื่มเพียงพอ เอกสารประกอบการบรรยายเหมาะสม จำนวนอุปกรณ์เครื่องมือเหมาะสม และระยะเวลาที่ใช้ในการให้บริการวิชาการเหมาะสม มีระดับความคิดเห็นมาก-มากที่สุด ร้อยละ72.90, 68.40, 84.40, 79.20 และ 82.20 ตามลำดับ ด้านคุณภาพการให้บริการ หัวข้อการอบรมตรงกับความต้องการ / ความสนใจ วิทยากรมีความรู้ ความสามารถและถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ระดับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ก่อนการอบรม ระดับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์หลังการอบรม และความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลาและค่าใช้จ่ายมีระดับความคิดเห็นมาก-มากที่สุด ร้อยละ92.60, 94.70, 74.10, 83.00 และ80.00 ตามลำดับ ซึ่งจากระดับความคิดเห็นดังกล่าว เป็นแนวทางการประเมินที่สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาโครงการบริการวิชาการแก่สังคมชุมชน ให้มีความเหมาะสมและเป็นที่ต้องการของสังคมอย่างแท้จริงต่อไป ทั้งนี้เพราะสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้แก่เกษตรกร มีแนวทางสร้างเสริมอาชีพ ช่วยเพิ่มผลผลิต/เพิ่มรายได้/ ลดค่าใช้จ่าย คิดเป็นร้อยละ 81.60 กรณีที่เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ คิดเป็นร้อยละ 85.00 และการนำความรู้ที่ไดรับไปขยายผลต่อในด้านต่างๆ ได้แก่ ประยุกต์เป็นองค์ความรู้ใหม่ คิดเป็นร้อยละ67.80 และเผยแพร่ต่อ คิดเป็นร้อยละ 83.10 ขณะที่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดโครงการฝึกอบรมฯ คิดเป็นร้อยละ 86.42

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อการพัฒนาเกษตรกรเครือข่ายผู้ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ให้มีอาชีพการผลิตหญ้าพืชอาหาร สัตว์เพื่อเลี้ยง ปศุสัตว์แบบยั่งยืน 2.เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่สังคมชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ กระบือ และเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าขาย ในเขตพื้นที่อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คน 2.เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าพืชอาหาสัตว์และผู้สนใจทั่วไปในเขตพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.สำรวจความต้องการของเกษตรกร 2.รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกร 3.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 4.ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ 5.ติดตามตรวจเยี่ยมและประเมินผล 6. วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจความต้องการของเกษตรกร --- --- --- 1,500.00
2. รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกร -- -- --- --- 2,500.00
3.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำนักงาน และวัสดุประชาสัมพันธ์ --- - --- --- 25,000.00
4.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- -- -- --- 40,000.00
5.ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ --- --- - --- 15,000.00
6.ติดตามตรวจเยี่ยมและประเมินผล --- --- --- - 15,000.00
7.วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผลการดำเนินงาน --- --- --- -- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-09.00 พิธีเปิด (รุ่นที่1) ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
14.40-16.30 การปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์(ต่อ) - การเตรียมดินและต้นกล้า - การปลูกพืชอาหารสัตว นายประพนธ์ บุญเจริญ
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
14.30-14.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่งดื่ม -
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
13.00-14.30 การปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์ - แนะนำพันธุ์พืชอาหารสัตว์ - การเตรียมเมล็ดพ นายประพนธ์ บุญเจริญ
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
11.40-12.00 เทคนิคการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
11.30-11.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่งดื่ม -
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
10.00-11.30 การจำแนกพืชอาหารสัตว์ ดร. อารีย์รัตน์ ลุนผา
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-10.00 ความสำคัญของพืชอาหารสัตว์ต่อปศุสัตว์ไทยในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
14.40-16.30 การบรรยายการทำแปลงสาธิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
14.30-14.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่งดื่ม -
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
13.00-14.30 บรรยายการทำแปลงสาธิตพืชอาหารสัตว์ การปลูกพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
10.40-12.00 การเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์ นายวันชัย อินทิแสง
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
10.30-10.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่งดื่ม -
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-10.30 การจัดการและการใช้ประโยชน์พืชอาหารสัตว์เพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
21 เมษายน พ.ศ. 2561
14.40-16.30 การปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์(ต่อ) - การเตรียมดินและต้นกล้า - การปลูกพืชอาหารสัตว นายประพนธ์ บุญเจริญ
21 เมษายน พ.ศ. 2561
14.30-14.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่งดื่ม -
21 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00-14.30 การปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์ - แนะนำพันธุ์พืชอาหารสัตว์ - การเตรียมเมล็ดพ นายประพนธ์ บุญเจริญ
21 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
21 เมษายน พ.ศ. 2561
11.40-12.00 เทคนิคการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
21 เมษายน พ.ศ. 2561
10.30-10.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่งดื่ม -
21 เมษายน พ.ศ. 2561
10.00-11.30 การจำแนกพืชอาหารสัตว์ ดร. อารีย์รัตน์ ลุนผา
21 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00-10.00 ความสำคัญของพืชอาหารสัตว์ต่อปศุสัตว์ไทยในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
21 เมษายน พ.ศ. 2561
08.30-09.00 พิธีเปิด (รุ่นที่2) ดร.สราญ ปริสุทธิกุล
22 เมษายน พ.ศ. 2561
08.30-10.30 การจัดการและการใช้ประโยชน์พืชอาหารสัตว์เพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ
22 เมษายน พ.ศ. 2561
10.30-10.40 พักรับประทานอาหารว่างและเครื่งดื่ม -
22 เมษายน พ.ศ. 2561
10.40-12.00 การเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์ นายวันชัย อินทิแสง
22 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
22 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00-16.30 บรรยายการทำแปลงสาธิตพืชอาหารสัตว์ คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2000-3000 บาทต่อเดือน
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับการจำหน่ายไม่น้อยกว่า 2 กลุ่มเกษตรกร มีเกษตรกรผ่านการฝึกอบรมด้านพืชอาหารสัตว์ไม่น้อยกว่า 100 คน
ด้านสิ่งแวดล้อม : มีพื้นที่ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100 ไร่
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีพื้นที่ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100 ไร่ (คิดเป็นเงินต้นทุนประมาณ 2,500 บาทต่อไร่)คิดเป็นจำนวนเงินรายได้ค่าคุ้มทุน จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการ 100 คน เท่ากับ 250,000 /100 บาทต่อคน หรือ 2,500.- บาทต่อคน แต่การใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมฯเท่ากับ 100,000/100 =1,000.- บาทต่อค เพราะฉะนั้น สรุปว่ามีความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ใช้ไป

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1201 201 Field work(Agronomy) I
หลักสูตร ปริญญาตรี วิทยาศาสตรเกษตรศาสตร์ (พืชไร่)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การปลูกพืชไร่เศรษฐกิจ กรณีพืชตระกลูหญ้า เน้นการปลูกหญ้าพลาสพาลัมอุบล
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มอบหมายให้นักศึกษาทำรายงานการผลิตพืชอาหารสัตว์

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 25,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 10,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 32,720.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 6,720.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 6,720.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 420.00 บาท
=
6,720.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
16,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 47,080.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 8,100.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน ได้แก่ ซองพลาสติก ปากกา กระดาษ ฯ
100 x 56 บาท
=
5,600 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
2,500 x 1 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) วัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ ป้ายไวนิล และวัสดุอุปกรณ์
2 x 600 บาท
=
1,200 บาท
2) ค่าเช่าห้องประชุมเพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ
2 x 1,500 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,080.00 บาท )
1) ค่าหมึกพิมพ์ 4 สี (แดง น้ำเงิน เหลือง และดำ) ชุดบันทึกข้อมูล
1 x 3,080 บาท
=
3,080 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 5,200.00 บาท )
1) น้ำมันเชื้อเพลิง(ดีเซล)
200 x 26 บาท
=
5,200 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 26,500.00 บาท )
1) วัสดุฝึกอบรม เมล็ดพืชอาหารสัตว์ จำนวน 100 กิโลกรัม
=
20,000.00 บาท
2) วัสดุการเกษตร เมล็ดพืชอาหารสัตว์ และปุ๋ยเคมี
=
6,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 105,000.00 บาท