แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบเกษตรกรอัจฉริยะ(Smart Farmer)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายมงคล ปุษยตานนท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ภาคเกษตรของประเทศไทย เป็นภาคการผลิตที่มีประชากรมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังทำการเกษตรด้วยแรงงานคน และอาจมีการนำเครื่องจักรกลขนาดกลางและขนาดใหญ่เข้ามาใช้งานในลักษณะเครื่องมือทุ่นแรง เช่นรถไถขนาดเล็ก รถเกี่ยวข้าว เครื่องตัดหญ้า เป็นต้น ซึ่งปัจจัยการผลิตก็ยังคงต้องพึงพาแรงงานคนอยู่มากกว่า 90 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ปัจจุบันอัตราการเกิดเด็กของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ แต่ในขณะเดียวกันภาคการเกษตรที่เป๋นภาคการผลิตที่สำคัญและมีประชากรจำนวนมากที่สุดประกอบอาชีพเกษตรนั้น ยังคงต้องใช้แรงงานคนเป็นหลักในการผลิต ทั้งที่แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลน ทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำตามมาเป็นลูกโช่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระราชทานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่ปวงชนชาวไทย เกษตรกรส่วนใหญ่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปปรับใช้โดยมีการปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และมีการประยุกต์เป็นทฤษฎีใหม่ โดยเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมในการปรับพื้นที่ให้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่ทำให้เกษตรกรสามารถพึงพาตนเองได้และลดภาระค่าใช้จ่ายอีกทั้งสามารถเพิ่มรายได้อีกด้วย ในปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิตอล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบอินเตอร์เน็ตได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว และราคาลดลงอย่างมาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งภาคการเกษตรจึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ การวางแผนการผลิต การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ การควบคุมการให้น้ำ การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การจำหน่าย การคำนวณต้นทุน การทำบัญชีครัวเรือน เพื่อลดความต้องการในการใช้แรงงาน ประหยัดต้นทุนและพลังงาน ควบคุมคุณภาพการผลิต รวมไปถึงการวางแผนการผลิต และการจำหน่ายผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่สอดรับกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่เกษตรกรมีอายุมากขึ้นมีแรงงานในครอบครัวน้อยลง การทำงานในอนาคตสามารถลดการใช้แรงงานลง เน้นการใช้ประสบการณ์ความรู้ และความเอาใจใส่ เพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์กับการผลิตด้านการเกษตร เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้แรงงาน เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยที่อยู่อาศัยให้สะดวกปลอดภัย และประหยัดพลังงาน โครงการนี้จึงเสนอพื้นที่สาธิตตัวอย่างสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาปรับใช้กับแนวทางเกษตรทฤษฏีใหม่และอารยสถาปัตย์ ที่ออกแบบเพื่อสาธิตการทำการเกษตรที่เหมาะในยุคดิจิตอล และถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรผู้สนใจ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ด้านเกษตร เทคโนโลยีดิจิตอล เทคโนโลยีการเกษตร เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับเกษตร และเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมายหลัก 1.เกษตรชุมชนภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง 2.อุตสาหกรรมการเกษตรภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง กลุ่มเป้าหมายรอง 1.เกษตรชุมชนและอุตสาหกรรมการเกษตรในพื้นที่อื่นๆ 2.นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกำหนดกิจกรรม เตรียมการจัดซื้อจัดจ้างและดำเนินโครงการ 2) ปรับปรุงพื้นที่เพื่อเป็นแปลงสาธิตตามรูปแบบที่กำหนด 3) ก่อสร้างระบบโรงเรือนต่างๆ 4) วางระบบบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แปลงสาธิต รวมระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ปั๊ม และระบบควบคุม 5) ติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อใช้จัดการแปลงตามแนวทางเกษตรอัจฉริยะ 6) ปลูกพืชยืนต้น 7) ปลูกลงพืชตามฤดูกาล เช่น ข้าว พืชหมุนเวียนอื่นๆ พืชอาหารสัตว์ เป็นต้น 8) ประชาสัมพันธ์และจัดโครงการถ่ายทอดความรู้ 9) ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล 10) สรุปข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค 11) จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกำหนดกิจกรรม เตรียมการจัดซื้อจัดจ้างและดำเนินโครงการ --- --- --- 0.00
2.ปรับปรุงพื้นที่เพื่อเป็นแปลงสาธิตตามรูปแบบที่กำหนด --- - --- --- 0.00
3.ก่อสร้างระบบโรงเรือนต่างๆ --- -- -- --- 0.00
4.วางระบบบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แปลงสาธิต รวมระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ปั๊ม และระบบควบคุม --- -- - --- 0.00
5.ติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อใช้จัดการแปลงตามแนวทางเกษตรอัจฉริยะ --- --- - --- 0.00
6.ปลูกพืชยืนต้น --- --- - --- 0.00
7.ปลูกลงพืชตามฤดูกาล เช่น ข้าว พืชหมุนเวียนอื่นๆ พืชอาหารสัตว์ เป็นต้น --- --- -- -- 0.00
8.ประชาสัมพันธ์และจัดโครงการถ่ายทอดความรู้ --- --- - -- 0.00
9.ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล --- --- -- -- 0.00
10.สรุปข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค --- --- --- - 0.00
11.จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- - 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 220 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ด้านการเกษตร รุ่นที่ 1 ดร มงคล ปุษยตานนท์ ดร อธิพงศ์ สุริยา
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. ระบบจ่ายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ดร ประชา คำภักดี
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. การใช้โปรแกรม excel กับการวางแผนต้นทุน-กำไร ดร บงกช สุขอนันต์
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. การใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ควบคุมการผลิตพีชในโรงเรือน ดร มงคล ปุษยตานนท์ /นายผดุง กิจแสวง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ด้านการเกษตร รุ่นที่ 2 ดร มงคล ปุษยตานนท์ / ดร อธิพงศ์ สุริยา
19 สิงหาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. พลังงานทดแทนในภาคการเกษตร ดร ประชา คำภักดี
2 กันยายน พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวางแผนต้นทุน ทำการตลาด และหาข้อมูลทางการเกษตร ดร บงกช สุขอนันต์ / ดร เกรียงศักดิ์ ตรีประพิณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : เกษตรกรและผู้ที่สนใจได้รับความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลกับเทคโนโลยีด้านการเกษตร และอารยสถาปัตย์ เพื่อการลดการใช้แรงงานภาคการเกษตร ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ประหยัดพลังงาน และเกษตรกรผู้ที่สนใจสามารถนำรูปแบบฟาร์มอัจริยะตัวอย่าง ไปใช้ประโยชน์จริงได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา : ไมโครคอลโทรลเลอร์ (Microcontroller) / วิชา : การวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
หลักสูตร วิศวกรรมไฟฟ้า
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 75
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วม ไม่น้อยกว่า 20 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนหัวข้อโครงงานที่นำมาถ่ายทอด ไม่น้อยกว่า 3 หัวข้อ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 181,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 144,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 144,000.00 บาท )
1) จำนวน 15 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
144,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 25,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 25,200.00 บาท )
1) จำนวน 14 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
25,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) ค่าเบี้ยประชุมจำนวน 12 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 616,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 84,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 6 เดือน x เดือนละ 7,000.00 บาท
=
84,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 484,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสร้างโรงเรือน
=
200,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบริการ
=
54,000.00 บาท
3) ค่าปรับพื้นที่
=
200,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาประกอบชุดอุปกรณ์พร้อมติดตั้ง
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 202,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 50,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 50,000 บาท
=
50,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 100,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 100,000 บาท
=
100,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 52,800.00 บาท )
1) วัสดุประกอบการอบรม
=
5,000.00 บาท
2) วัสดุอื่นๆ
=
47,800.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 1,000,000.00 บาท