แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษา
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ความเชี่ยวชาญ : ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 6 ปี
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ผู้ร่วมโครงการ
นายสุภวัฒน์ โสวรรณี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์ศึกษา
ประสบการณ์ : รับผิดชอบโครงการและประสานการดำเนินงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงบประมาณและโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิศิชานันท์ ศรีสุวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีทั่วไป 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางรัตนาพร ทิวะพล คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : นักวิทยาศาสตร์ 30 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางมัทธนา กะชา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมี 1 เป็นเวลา 20 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเสาวนีย์ เหล่าสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2552 สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น ได้ดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ในระดับปฐมวัย ตั้งแต่ปี 2555 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปี 2560 มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา บริษัทและหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ ได้ขยายผลสู่ระดับประถมศึกษาเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนไทย และเพื่อศึกษาถึงกระบวนการและแผนงานที่เหมาะสม โครงการจึงได้วางแผนโครงการนำร่องระดับประถมศึกษา ซึ่งจะทดลองใช้กับโรงเรียนจำนวน 30 โรง ภายในปีการศึกษา 2559 และนำมาปรับแก้อีกครั้งให้เหมาะสมเพื่อขยายผลต่อไปในปีการศึกษา 2560 โดยโครงการมีแผนงานโดยสังเขป ดังนี้ 1. โรงเรียนนำร่องจะต้องส่งตัวแทนจำนวน 2 คน เข้าร่วมอบรมแนวการจัดการเรียนการสอนและวิธีการใช้ใบกิจกรรมการทดลองระดับชั้นประถมศึกษา 2. โรงเรียนนำกิจกรรมไปใช้ในชั้นเรียนปกติเป็นระยะเวลา 1 ภาคเรียน โดยใช้ใบกิจกรรมการทดลองและแผนการสอนที่ทางโครงการแจกให้เป็นคู่มือ 3. โครงการและผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะติดตามผลกับทางโรงเรียน โดยจะมีการจัดงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างโรงเรียนและโครงการในเดือนเมษายน 2560 และหลังจากนั้นจึงเริ่มปรับแก้หลักสูตรและขยายผล สู่โรงเรียนอื่น ๆ เครือข่ายท้องถิ่นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็น 1 ในเครือข่ายนำร่องที่จะร่วมพัฒนาโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ต่อเนื่องจากระดับปฐมวัยสู่ระดับประถมศึกษา

วัตถุประสงค์
1.เพื่อนําร่องการพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษาและส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม โดยใช้แนวทาง Hands-on (การลงมือทําด้วยตนเอง)
2.เพื่อศึกษาปัญหาของการจัดการเรียนการสอนและการใช้ใบกิจกรรมการทดลองของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับชั้นประถมศึกษา
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา
4.เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนเครือข่ายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย เข้ารับตราพระราชทานอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูในระดับปฐมวัยและประถมศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 ประชุมกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยระดับประถมศึกษากับส่วนกลางที่กรุงเทพฯ ขั้นตอนที่ 2 อบรมกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยระดับประถมศึกษาให้กับครูโรงเรียนเครือข่าย ขั้นตอนที่ 3 ครูโรงเรียนเครือข่ายรับตราพระราชทานที่กรุงเทพฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยระดับประถมศึกษากับส่วนกลางที่กรุงเทพฯ --- --- --- 17,400.00
2.อบรมกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย --- --- --- - 34,650.00
3.ครูโรงเรียนเครือข่ายรับตราพระราชทานที่กรุงเทพฯ --- --- --- -- 14,400.00
4.ครูโรงเรียนนำร่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปัญหาในการนำกิจกรรมไปใช้ในชั้นเรียน --- --- --- -- 10,900.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 รวมเวลา 214 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
9-16 น. ประชุมกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยระดับประถมศึกษากับส่วนกลางที่กรุง วิทยากรหลัก (Core Trainer)
30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
9-16 น. อบรมกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษา วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น (Local Trainer)
27 สิงหาคม พ.ศ. 2560
9-16 น. งานรับตราพระราชทาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับปฐมวัย วิทยากรหลัก (Core Trainer)
20 กันยายน พ.ศ. 2560
9-16 น. ครูโรงเรียนนำร่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปัญหาในการนำกิจกรรมไป วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น (Local Trainer)

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : สร้างนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรรุ่นใหม่ ให้ประเทศไทยมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ
ด้านสังคม : ตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย
ด้านสิ่งแวดล้อม : ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ประยุกต์ใช้ในการทดลอง
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1933.75 ต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1107809 Independent Study การค้นคว้าอิสระ
หลักสูตร วิทยาศาสตร์ศึกษา
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาเห็นความเชื่อมโยงระหว่างบริการวิชาการกับการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 23,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงาน 4 คน 3 วัน ๆ ละ 6 ชม. ๆ ละ 25 บาทจำนวน 4 คน x จำนวน 18 ชม. x จำนวน 25.00 บาท/ชม.
=
1,800.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 41,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 15,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 11,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 5 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
2) จำนวน 1 คืน x จำนวน 6 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบันทึกภาพนิ่งและวีดีโอวันละ 1,000 บาทจำนวน 3 วัน
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 12,550.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถตู้ครั้งละ 4000 บาท 2 ครั้ง
2 x 4,000 บาท
=
8,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,550.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
1,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
2,550.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 77,350.00 บาท