แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ “UBU WATCH ม.อุบลฯ และชุมชน น่าอยู่” ประจำปีงบประมาณ 2561
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายทรงพล อินทเศียร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : English Language Teaching
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ
นายณัฐชนนท์ โสสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : นิติศาสตร์
ประสบการณ์ : ผู้ช่วยนักวิจัย สกว.
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมาย,วิจัยทางกฎหมาย
ผู้ร่วมโครงการ
นายตรีภพ เดชภิมล คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : จิตวิทยา
ประสบการณ์ : งานด้านกิจการนักศึกษา 25 ปี
ความเชี่ยวชาญ :
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และเป็นที่เชื่อถือได้รับความไว้วางใจจากบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสถาบันแห่งนี้ ในปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคาดว่าจะมีนักศึกษาใหม่เข้ามาประมาณ 5,000 คน เมื่อรวมกับนักศึกษาเก่าทุกชั้นปีทุกระดับแล้วคาดว่าน่าจะมีนักศึกษาทั้งหมดประมาณ 15,000 คน มหาวิทยาลัยตระหนักอยู่เสมอว่าเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษา ณ สถาบันแห่งนี้ ก็ย่อมต้องเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาทั้งหลายให้ได้ศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษาและใช้ชีวิตประจำวันระหว่างศึกษาอย่างมีความสุขตามอัตภาพ มหาวิทยาลัยพยายามจัดหาที่พักภายในมหาวิทยาลัยให้เพียงพอสำหรับนักศึกษาทุกคน แต่ติดขัดเรื่องงบประมาณในการจัดสร้างหอพักเพิ่มเติม ทำให้ต้องมีนักศึกษาบางส่วนประมาณ 10,000 คน ต้องออกไปหาที่พักภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยก็อดที่จะเป็นห่วงไม่ได้ว่านักศึกษาที่ออกไปพักข้างนอกเมื่ออยู่ไกลหูไกลตาจากบรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูบาอาจารย์แล้ว จะประพฤติปฏิบัติตนและมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและสังคมภายนอกอย่างไร จะใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากน้อยเพียงใด ยิ่งในปัจจุบันซึ่งเป็น สังคมยุคโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการสื่อสารอย่างรวดเร็วไร้พรมแดน กระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการดำเนินชีวิตประจำวันของนักศึกษาซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นช่วงที่ล่อแหลมต่อการถูกชักจูง ยั่วยุไปในทางเสื่อมเสียได้ง่าย อาจประพฤติตนไปในทางที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหาภาวะวิกฤติทางสังคมที่มีผลกระทบต่อนักศึกษาหลายประการ เช่น ปัญหาการพนันฟุตบอล การขายบริการทางเพศ การใช้ความรุนแรง การทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ปัญหาจากการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ การทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอุบัติเหตุ(วินัยจราจร) นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยยังต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาวะ คือการสร้างเสริมให้นักศึกษาและประชาชนโดยรอบมหาวิทยาลัยเป็นผู้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ดีพร้อม สมบูรณ์ มีแรงกำลังที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศชาติต่อไป เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนผ่านสถานศึกษาขยายผลสู่สถาบันทางสังคม ชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีสุขภาวะที่ดีขึ้น จากผลการดำเนินงานโครงการ “ม.อุบลฯ น่าอยู่ UBU WATCH” ที่ผ่านมา งานวินัยและสวัสดิภาพนักศึกษา สำนักงานพัฒนานักศึกษา ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันของนักศึกษาที่ว่างจากการเรียนการสอนแล้ว พบว่า นักศึกษาบางส่วนนิยมดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพื่อการสังสรรค์และเข้าสังคมเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนฝูง ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบจากปัญหาเรื่องการบริโภคแอลกอฮอล์ที่มีการแอบแฝงเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ แหล่งเริงรมย์ที่เพิ่มขึ้น รุกล้ำใกล้สถานศึกษา ร้านค้าและบริการที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบที่พักอาศัยหอพักนักศึกษานอกมหาวิทยาลัย ทำให้เยาวชนที่รู้ไม่เท่าทันเกิดค่านิยมที่ผิดก้าวสู่ วังวนของอบายมุข หลายรูปแบบที่มีความรุนแรงมากน้อยตามลำดับ เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ จนถึงยาเสพติด ต้องเร่งดำเนินการให้นักศึกษาและกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการหนุนเสริมให้รู้เท่าทันปัญหาแอลกอฮอล์ มุ่งเป้าสู่ขั้นตอนการลด ละ เลิกจากอบายมุขได้เกิดพลังขับเคลื่อนภาคีเครือข่าย ปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม ตลอดจนค่านิยมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มหาวิทยาลัยตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว มีความเห็นว่าหากปราศจากความร่วมมือช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ที่จะช่วยกันป้องกัน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ย่อมส่งผลกระทบกับนักศึกษาถึงขั้นภาวะวิกฤตอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้รับทราบ ตระหนักและเข้าใจในการอยู่อาศัยร่วมกันในสังคม สามารถประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กติกา มารยาทของสังคมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถใช้ชีวิตและศึกษาเล่าเรียนอย่างมีความสุข งานวินัยและสวัสดิภาพนักศึกษา สำนักงานพัฒนานักศึกษา จึงได้กำหนดจัดทำโครงการ “ม.อุบลฯ และชุมชน น่าอยู่”ประจำปีงบประมาณ 2560 ขึ้น โดยอาศัยการใช้มิติทางด้านสังคมเข้ามาช่วยเหลือดูแลนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า หอพัก และทุกภาคส่วนฯลฯ

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อพัฒนากลไกและกระบวนการทำงานด้านสุขภาวะ ด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา เยาวชนและประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ให้เกิดความยั่งยืน
2.2.เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาวะ ด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา เยาวชนและประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย
3.3.เพื่อให้เกิดศูนย์ข้อมูลด้านสุขภาวะ ด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา เยาวชนและประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย
4.4.เพื่อส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับนักศึกษา เยาวชนและประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2.เด็ก เยาวชน ประชาชน พื้นที่รอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
5000 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ การดำเนินงานของโครงการ “ม.อุบลฯ และชุมชน น่าอยู่” ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เพื่อศึกษาและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและ ประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ๔ แผนงานหลัก ได้แก่ ๑. แผนขับเคลื่อนงาน ๒. แผนพัฒนานโยบาย ๓. แผนสำรวจข้อมูลและศูนย์ข้อมูล และ ๔. แผนบริหารจัดการ ๑. แผนขับเคลื่อนงาน เป็นการจัดกระบวนการเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนางานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและ ประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยวิธีการทำงานที่หลากหลาย ได้แก่ การศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและชุมชน การสำรวจสภาวการณ์ในพื้นที่และออกแบบกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยและชุมชน การจัดการองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ ตลอดจนนำไปสู่การเสนอเข้าเป็นนโยบายการด้านการสร้างเสริมสุขภาวะและสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษาและประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ๒. แผนพัฒนานโยบาย เป็นการทำงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและ ประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ๓. แผนสำรวจข้อมูลและศูนย์ข้อมูล เป็นการมุ่งเน้นให้เกิดศูนย์ข้อมูลด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและ ประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย โดยต้องเป็นฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงานและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยการจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จัดทำศูนย์ข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ ๔. แผนบริหารจัดการ เป็นการมุ่งเน้นการบริหารจัดการโครงการและสนับสนุนให้กลไกการขับเคลื่อนงานเป็นไปได้ด้วยความราบรื่น รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะและศักยภาพของคณะทำงาน อีกทั้งเป็นกลไก ติดตาม ที่หนุนเสริมการดำเนินงานในแต่ละแผนงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “ฟังเสียงข้างบ้าน”โดยเชิญประชุมคณะกก.ภายในและภาคีเครือข่ายภายนอก -- --- --- --- 30,000.00
2.จัดพิธีลงนามในบันทึกตกลงความร่วมมือ(MOU)คณะกก.ภายในและภาคีเครือข่ายภายนอก -- --- --- --- 20,000.00
3.ออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลสภาวการณ์ด้านสุขภาวะ(เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด) ด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา เยาวชนและประชาชนในช - --- --- --- 5,000.00
4.การสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะ(เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด) และด้านสวัสดิภาพความปลอดภัย - --- --- 20,000.00
5.วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลด้านนศ.และเยาวชน --- --- -- 20,000.00
6.จัดเวทีประชาคมเยาวชนและประชาชนในพื้นที่เพื่อผลักดันนโยบายพื้นที่สร้างสรรค์ --- --- --- 30,000.00
7.สนับสนุนทุนและดำเนินกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ 3 พื้นที่ๆละ 30,000 บาท --- --- --- 90,000.00
8.การลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนกิจกรรมใน 3 พื้นที่ --- --- - -- 15,000.00
9.นำเสนอผลการดำเนินงานของพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกก. ที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ --- --- --- -- 10,000.00
10.ประชุมพิจารณาเห็นชอบร่างนโยบายการขับเคลื่อน --- --- --- -- 10,000.00
11.จัดงานประกาศนโยบายการขับเคลื่อน --- --- --- -- 30,000.00
12.กระบวนการถอดบทเรียนการดำเนินงานของคณะกก.ขับเคลื่อน --- --- --- -- 10,000.00
13.ม.อุบลฯ และชุมชนร่วมใจรณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100 % - 70,000.00
14.ค่าตอบแทน คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการและค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเพื่อร่วมออกตรวจ จัดระเบียบสังคม ร่วมกับภาคีเครือข่ายตลอดปีงบประมาณ - 50,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.เกิดกลไกการทำงานด้านสุขภาวะ ด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา เยาวชนและประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย สามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน 2.เกิดแกนนำนักศึกษา เยาวชนและประชาชนรุ่นใหม่ มีจิตอาสา เป็นพลเมืองที่มีสติปัญญา มีทักษะในการดำเนินชีวิต 3.ผู้บริหารและบุคลากรมีความเข้าใจในการดำเนินงานด้านสุขภาวะ ด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 5.ศูนย์ข้อมูลและฐานข้อมูลสามารถใช้ได้จริง เป็นฐานข้อมูลกลาง และเป็นที่ยอมรับ 6.นโยบายการขับเคลื่อนถูกบรรจุไว้ในแผนระดับมหาวิทยาลัยและระดับชุมชนท้องถิ่น 7.ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่สร้างสรรค์และนโยบายได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกิดกระบวนการเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนางานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและ ประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยวิธีการทำงานที่หลากหลาย ได้แก่ การศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและชุมชน การสำรวจสภาวการณ์ในพื้นที่และออกแบบกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยและชุมชน การจัดการองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ ตลอดจนนำไปสู่การเสนอเข้าเป็นนโยบายการด้านการสร้างเสริมสุขภาวะและสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษาและประชาชนในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย
ด้านอื่นๆ : 1. เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน 2. เกิดศูนย์ประสานงาน 3. มีฐานข้อมูลและศูนย์ข้อมูล 4. มีนโยบายขับเคลื่อนในระดับมหาวิทยาลัยและระดับชุมชนท้องถิ่น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
5000
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 430,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 430,000.00 บาท )
1) งบประมาณสรุปทั้งโครงการ
=
430,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 430,000.00 บาท