แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การสร้างมูลค่า ผ้าท้องถิ่นโดยการถอดท่าฟ้อนรำ และการตกแต่งห้องพักด้วยผ้าย้อมครามวงศ์ปัดสาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายฐิติ ราศีกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถิติประยุกต์
ประสบการณ์ : - การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการจัดการ การตลาด บุคคล -การส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อทำการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับประเทศในกลุ่ม AEC ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - การวิจัยในประเทศกัมพูชา - การจัดงาน เปิดบ้านบริหารศาสตร์ ณ เซนทรัลพลาซา อุบลราชธานี ปี 2559 , 2560
ความเชี่ยวชาญ : - การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) - การวิจัยเชิงพื้นที่ - การวิจัยตลาด
หัวหน้าโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ผู้ร่วมโครงการ
นายชวพจน์ ศุภสาร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จักริน วชิรเมธิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การเขียนโปรแกรม PHP & MySQL จัดโดย SIPA และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556
ความเชี่ยวชาญ : - System Analysis and Design - Web Design and Development - Internet Marketing - Social Media Marketing - Data Mining - Parallel Programming - Database and Application Programming - Php Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
เหรัญญิก
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
นายไพศาล วงศ์ปัดสา มีอาชีพรับราชการครู เป็นบุตรของ อัญญา บุญทอง วงศ์ปัดสา กับ อัญญานาง วัง วงศ์ปัดสา เป็นสะใภ้ ซึ่งเป็นบุตรของ อัญญา ยืน วงศ์ปัดสา กับ อัญญานาง วัง วงศ์ปัดสา นายไพศาล วงศ์ปัดสา เป็นลูกหลาน ตระกูลวงศ์ปัดสา ซึ่งสืบเชื้อสายจาก อัญญา ผู้ปกครองเมืองเขมราษฏร์ธานี ได้บันทึกประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับลายผ้ามัดหมี่ของตระกูล และเขียนเป็นพินัยกรรมมอบให้เป็นมรดก แก่ นายพิฆเนศ วงศ์ปัดสา หลานชาย ซึ่งเป็นบุตรของ นายรังสฤษณ์ และนางธนิษฐา วงศ์ปัดสา พร้อมผ้าโบราณทั้งผ้าไหม และผ้าฝ้าย จำนวนหนึ่งตู้ ก่อนที่ท่านจะได้เสียชีวิตในปี พ.ศ.2553 แต่ผ้าเก่าโบราณของบรรพบุรุษมีความเก่าแก่จนไม่ทราบอายุของผ้า ก็ยังถูกเก็บไว้ในตู้ไม้เก่า คล้องโซ่อย่างดีต่อไป นายไฟศาล วงศ์ปัดสา เป็นผู้บันทึกเรื่องเล่า ของ พ่อแม่ และ ปู่ ยา ตา ยาย และของชาวบ้านโคกกงพะเนียง คัดลอกจากฉบับเดิมเพื่อให้ลูกหลานได้อ่าน มีความรู้พอประมาณ และมีคติในบางเรื่อง จากตำนานผ้าที่ถูกบันทึกจำนวน 24 ลาย ปัจจุบันได้ถูกแกะเป็นลายผ้าแล้วจำนวน 14 ลายปรากฏเค้าโครงเกี่ยวกับศิลปะการแสดงของชาวเขมราฐที่น่าสนใจอยู่ 2 ลาย ได้แก่ ลายนาคน้อย และลายตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน ดังมีเรื่องเล่าดังนี้ ผ้ามัดหมี่ลายนาคน้อย ใช้หมี่ 8 ลำ ใช้วิธีการค้นเต้น หรือค้นกระโดด ค้นวนออก 2 ทอออก 4 นับลำล่างสุดได้ 100 เส้น จำนวนหนึ่งหัว ใช้ 2 หัว ต่อผ้า 1 ผืน ผ้ามัดหมี่ลายนาคน้อย พ.ศ.2427 เกิดขึ้นพร้อมกับปี ชาววงศ์ปัดสา สร้างวัดกลาง เมื่อนานมาแล้ว ข่าวเล่าขานกันอยู่มิขาดระยะ คือชาวบ้านโคกกงพะเนียง ได้พบเห็นนางสองนางมายืมฟืม ในเวลาบ่ายคล้อยเกือบค่ำ วันศีล 5 พอดี วันนั้นมีลมพัดโชยมาเยือกเย็น ผิดปกติ นางฟาง นั่งทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้าน นางทั้งสองสวย ผิวขาวเหลือง มีปิ่นปักผม 3 ช่อ ข้างหูทั้งสองข้าง ผมยาวกลางหลัง นางยิ้มและพูดว่า “ข้ามาขอยืมฟืมเจ้าไปทอผ้า สัก 5-6 วัน แล้วจะเอามาส่งคืน” นางฟาง ตอบว่า “ทำไมเร็ว จะทออะไรถึงได้ทอ 5-6 วัน” นางบอกว่า “ข้าจะทอผ้ามัดหมี่ลายนาคน้อย” “เจ้าให้ยืมเถิด ข้าจะทอลายนาคน้อย มาให้เจ้าดู” แล้ว นางฟางก็ถามว่าบ้านเจ้าอยู่ที่ใด นางตอบ “อยู่ฝั่งห้วยใกล้ๆนี่เอง” นางฟางคิดว่าเป็นชาวบ้านท่าปัดซุม ฝั่งลาวนั่งเรือมายืม จึงให้ไป 5 วันต่อมา อากาศอึมครึม ลมเย็นๆเช่นเดิม เวลาเดิม นางทั้งสอง เดินเข้ามา “ข้าเอาฟืมมาส่งแล้ว” นางก็อวดผ้าซิ่น นางฟางรีบเดินมาขอดูใกล้ๆ ก็ตกใจ ลายผ้าเป็นตัวนาคน้อยจริงๆ นางบอกว่า “เจ้าทอลายนี้นะข้าจะอวยพร ใส่แล้วชาวบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข”ถ้าเจ้าเห็นบั้งไฟผุดขึ้นเหนือน้ำ เจ้าอย่าพากันตกใจ คือ พญานาค ท่านมาอวยพร ให้เจ้าอยู่เย็นเป็นสุข อายุมั่นขวัญยืน แล้วนางก็เดินจากไป นางฟางคิดว่าทำไมจึงอวยพรอย่างนี้ จึงรีบชวน นางจัน นางยืน แอบตามไปส่องทางดูว่าจะกลับไปบ้านใด นางย่องไปจนถึงฝั่งโขง เห็นสองนางโบกมือลา นางฟาง ตกใจว่า กูอยู่ในป่ากล้วยแท้ๆ ทำไมนางถึงได้เห็น ภาพที่นางฟางได้เห็น คือ นางเดินลงน้ำ เห็นแต่เส้นผมฟูน้ำหายไป นางฟางรับไม่ไหว จึงเป็นลมกลางป่ากล้วย เพื่อนทั้งสองจึงรีบไปขอความช่วยเหลือจากพระ และสังกะลีวัด ให้ออกมาเอามดแดงให้นางดม สังกะลีไม่เข้าใจ จึงเคาะมดแดงใส่ตานางฟาง นางจันจึงได้ด่าทอว่า “พ่อกับแม่ มึงบ่เอาไปขุใส่ตา เขาเอามายอง ให้ดมตั่ว” เมื่อนางฟื้นขึ้นมา นางถึงบอกเล่าให้พระและชาวบ้านฟังทั้งหมด แล้วจึงนำความมาบอกเล่า บ้านวงศ์ปัดสา ให้วาดแต้มภาพ ผ้ามัดหมี่ แล้วให้บ้านวงศ์ปัดสา ทอผ้าลายนาคน้อย ใช้เวลาวาดภาพ เริ่มทำครั้งแรก 3 เดือน แกะลาย และ ค้นหาวิธีการที่จะได้ออกมาเป็นตัวนาค ใช้สมองความคิดรวมกันทั้งหมู่บ้านโคกกงพะเนียง ลายจึงได้โด่งดังมากในสมัยนั้น คนรู้จักแพร่หลาย บ้านวงศ์ปัดสา ก็สอนให้คนอื่นๆ มัดทั่วกัน นิยมใส่บุญเดือนหก เซิ้งบั้งไฟพญานาค หมี่นาคน้อย เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2427 (บุญเดือนหก ควรนำพิณแคนมาเป่า เพื่อถวายพญานาค ) “สาวสองนางมายืมฟืมชาวบ้าน ขอบันทึกเป็นตำนานไว้ลูกหลานได้อ่าน ลือกันไปทุกบ้านเผิ่นงามล้ำกว่าผู้ใด เผิ่นมาอวยพรให้เมืองเขมราฐจงมีชัยความเจริญสิเฮืองฮุ่ง เห็นบั้งไฟผุดพุ่งขึ้นเหนือน้ำให้อยู่เย็น เป็นประเพณีไว้ บุญบั้งไฟยามใด๋ ให้ไทบ้านได้สวมใส่ หมี่นาคน้อยเผิ่นมัดไว้ ชาวบ้านให้อยู่เย็น ให้เย็นกายเย็นในเนื้อ เย็นในคีง บ่อฮ้อนแฮง เสียงเพลงพิณจงบรรเลง สุขสบายทุกบ้าน โบราณได้บันทึกกลอน” สำหรับลายที่สองได้แก่ ลายตุ้มโฮม ฮักแพง แบ่งปัน เกิดจากการตีกลองร้องป่าว ในสมัยก่อน การรวมตัวของชาวบ้าน เมื่อได้ยินเสียงกลองตุ้มโฮมที่วัด เพื่อจัดงานบุญของทุกปี เพื่อความสามัคคี รักใคร่ปรองดองของคนในหมู่บ้าน เวลาค่ำแลงลง ชาวบ้าน ก็รวมกัน กองประชุม ทุกครัวเรือน ก็จะส่งลูกชาย เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันการรำครั้งแรกของชาวบ้านกงพะเนียง คือ การรำตุ้มพาง เกิดจากชาวบ้านร่วมกันทำบุญ ตีฆ้องร้องป่าว และจุดธูปเทียน ขอเชิญพญานาค ขึ้นมาร่วมบุญ นางหนึ่งเกิดเป็นลมล้มลง แล้วลุกขึ้นมาฟ้อนรำ อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ชาวบ้านจึงถามว่ารำอะไร สวยงามมาก นางจึงตอบว่า “รำตุ้มพาง” มีท่ารำ ผ้าซิ่นที่ใส่ลายตุ้มโฮม “ให้ฮักแพงกันไว้ เด้อชาวไทย สิเฮืองฮุ่ง ให้หุงข้าวน้ำ ยามไทบ้านอื่นมา บุญบ้านเฮามาฮอดแล้ว เสียงแซวๆ คนมาฮ่วม รวมพลังเด้อพี่น้อง เสียงกลองฆ้องสนั่นเมือง สามัคคีกันเอาไว้ โฮมหัวใจให้เป็นหนึ่ง บุญมาฮอดมาถึงของบ้านเฮาเทื่อนี้ มีคุณค่าให้จื่อจำ ให้ตุ้มโฮมกันเอาไว้ บุญบ้านเฮายามได๋ ให้คนส่า บ่อึดเหล้า อึดยา ผลหมากรากไม้ อาหารพร้อมอยู่สู่แนว “คือการร่วมมือร่วมใจกัน ในบุญประจำปี จึงทอผ้ามัดหมี่ลายนี้ขึ้น ชื่อลาย ตุ้มโฮมฮักแพงแบ่งปัน โดย อัญญานาง วัง วงศ์ปัดสา จากเรื่องเล่าประวัติของลายผ้าทั้งสองลายจากทั้งหมดสิบสี่ลายข้างต้น รวมทั้งภูมิปัญญาของชาวอุบลราชธานีข้างต้นผนวกกับความสามารถของปราชญ์ชาวอุบลด้านดนตรีที่มีจำนวนมาก อนึ่งการท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันที่นักท่องเที่ยวเน้นการท่องเที่ยวที่ช้าลง กล่าวคือการท่องเที่ยวในครั้งนั้นๆ นักท่องเที่ยวมิได้ท่องเที่ยวเพื่อให้ได้จำนวนสถานที่ท่องเที่ยวจำนวนมากในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง หากแต่การท่องเที่ยวนั้นนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะต้องการศึกษา เรื่องราวของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ด้วย จึงมักใช้เวลาในการศึกษาแต่ละสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแหล่งนานขึ้น คณะผู้ดำเนินโครงการจึงสนใจในประวัติของลายผ้า แห่งตระกูลวงศ์ปัดสา และเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่สามารถหยิบยกให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นได้ จึงจัดทำข้อเสนอโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายใต้ชื่อโครงการ “การสร้างมูลค่า ผ้าท้องถิ่นโดยการถอดท่าฟ้อนรำ และการตกแต่งห้องพักด้วยผ้าย้อมครามวงศ์ปัดสาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล” ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่จะต้องมีหน้าที่ในการทำนุบำรุง ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น และภูมิภาคอื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ รับรู้และรักษาไว้ภายใต้บริบทโลกาภิวัตน์ต่อไปนอกจากนี้เพื่อเป็นส่งเสริมธุรกิจที่พักในจังหวัดอุบลราชธานีให้มีข้อได้เปรียบด้านศักยภาพในแง่ของการแข่งขัน โดยข้อเสนอโครงการนี้จะขับเคลื่อนโดยคณาจารย์ และนักศึกษาจาก 3 สาขาวิชา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นคนไทยรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และมีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับธุรกิจภาคท้องถิ่นให้มีรายได้สูงขึ้นอีกด้วย ที่มา: นางธนิษฐา วงศ์ปัดสา สัมภาษณ์, 2559

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถอดท่ารำทำนองจากลายผ้าฝ้ายทอมือย้อมคราม ลายนาคน้อยและลายตุ้มโฮมฮักแพงแบ่งปัน มรดกแห่งตระกูลวงศ์ปัดสา
2.เพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจที่พักโดยใช้ผ้าย้อมคราม มรดกแห่งตระกูลวงศ์ปัดสา
3.เพื่อการสร้างมูลค่า ผ้าย้อมคราม มรดกแห่งตระกูลวงศ์ปัดสา ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักศึกษา 3 สาขาวิชา จากคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การเรียนรู้ และการถ่ายทอดลายผ้าจากตระกูลวงศ์ปัดสา 2. การบริหารการจัดการเรียนรู้ และถ่ายทอดลายผ้า โดยใช้หลักการจัดการโครงการ ได้แก่ PDCA , Grantt Chart , PERT/CPM เพื่อบริหารจัดการการดำเนินกิจกรรมในข้อ 1 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนด 3. การสร้างการจัดการผ้า/ลายผ้า ที่ได้จากข้อ 1 มาจัดเป็นห้องพักเพื่อการบริการห้องพัก แบบ Home Stay ในระบบ 3D Digital เพื่อเพิ่มมูลค่า และจัดการผ้าและลายผ้าที่มีประวัติศาสตร์ ได้อย่างยั่งยืน และเหมาะสม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.รวบรวมข้อมูลการทำผ้าฝ้ายทอมือย้อมคราว ติดต่อผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทอผ้า -- --- --- --- 5,000.00
2.ประสานงานกับทายาทวงศ์ปัดสาเรื่องการบรรยายประวัติผ้าของตระกูล -- --- --- 20,000.00
3.นักศึกษาถอดท่ารำและการตกแต่งห้องพัก --- - --- --- 40,000.00
4.เผยแพร่การสร้างสรรค์ผลงานทั้ง 2 ด้าน ผ่าน T DET --- --- - --- 25,000.00
5.ประชุมสรุปเบิกจ่ายการเงิน --- --- -- -- 5,000.00
6.ประชุมสรุป เล่มโครงการ --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
2 เมษายน พ.ศ. 2561
07.00 ลงทะเบียน -
2 เมษายน พ.ศ. 2561
17.31 -17.35 ถ่ายภาพร่วมกันก่อนวิทยากรทายาทวงศ์ปัดสา เดินทางกลับเขมราฐ -
2 เมษายน พ.ศ. 2561
14.01-17.30 นักศึกษาและทายาทวงศ์ปัดสาร่วมกันวางแผนการตกแต่งห้องพักด้วยผ้าย้อมคราม ตระกูลวงศ์ปัดสา -
2 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00-14.00 นักศึกษาเรียนรู้การทอผ้าตระกูลวงศ์ปัดสา ทายาทวงศ์ปัดสา
2 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน -
2 เมษายน พ.ศ. 2561
11.30-12.00 นักศึกษาสาขาการจัดการ สาขาการจัดการการโรงแรม และสาขาระบบสารสนเทศ ทายาทวงศ์ปัดสา
2 เมษายน พ.ศ. 2561
10.40-11.30 นักศึกษาสาขาการจัดการ สาขาการจัดการการโรงแรม และสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ฟังประวัติผ้าตระกูลวง ทายาทวงศ์ปัดสา
2 เมษายน พ.ศ. 2561
10.31-10.40 รับประทานอาหารว่าง -
2 เมษายน พ.ศ. 2561
10.00-10.30 นักศึกษาสาขาการจัดการ สาขาการจัดการการโรงแรม และสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฟังประวัติผ้าตระกูลวงศ -
2 เมษายน พ.ศ. 2561
9.00 ทายาทวงศ์ปัดสาแนะนำตัว ทายาทวงศ์ปัดสา
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
13.16 -14.30 วิพากษ์ท่ารำและทำนองโดยทายาทตระกูลวงศ์ปัดสา
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
14.31-14.40 รับประทานอาหารว่าง
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
14.41-15.00 นักศึกษาสาธิตการตกแต่งห้องพัก
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
15.01-16.00 วิพากษ์การตกแต่งห้องพักโดยทายาทตระกูลวงศ์ปัดสา
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
16.01-16.30 นักศึกษา คณะและ สาขาอื่นๆ ผู้เข้าร่วมโครงการ 200 คน กรอกแบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการและกรอกแบบประ
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
13.00-13.15 นักศึกษาแสดงท่ารำ ทำนอง ลายนาคน้อย และลายตุ้มโฮมฮักแพงแบ่งปัน
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
11.31-12.00 นักศึกษานำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับลายผ้าตระกูลวงศ์ปัดสา ลายตุ้มโฮมฮักแพงแบ่งปัน
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10.41-11.30 นักศึกษานำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับลายผ้าตระกูลวงศ์ปัดสา ลายนาคน้อย
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10.31-10.40 รับประทานอาหารว่าง
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.11-10.30 นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจนำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับลายผ้าตระกูลวงศ์ปัดสา โดยรวม
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.01-09.10 นักศึกษาแนะนำตัว การนำเสนอท่ารำ และการตกแต่งห้องพักจากผ้าตระกูลวงศ์ปัดสา
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
08.30-09.00 ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมโครงการ
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
16.31-16.40 ถ่ายภาพร่วมกัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ได้การสร้างมูลค่า ผ้าท้องถิ่นโดยการถอดท่าฟ้อนรำ และการตกแต่งห้องพักด้วยผ้าย้อมครามวงศ์ปัดสาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านสังคม : ศิลปะการรำ การย้อมผ้า การใช้ผ้าพื้นบ้าน ได้รับการยกระดับ สู่การตกแต่งห้องพัก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการจำหน่ายแบบเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เป็นของตกแต่ง เพื่อการให้บริการที่พักแบบ Home Stay
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
490

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1705 317 ,1705 225, 1701460 , 1706 411
หลักสูตร การจัดการการโรงแรม การจัดการธุรกิจ การตลาด และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
นักศึกษาชั้นปี : 2-3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การศึกษาศิลปวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจในแนวทางการจัดแต่งห้องพัก ในงานบริการด้านโรงแรม
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ เรียนรู้ เข้าใจ ที่มา รากเหง้าของสินค้า และการนำเสนอจัดแต่งโดยคำนึงถึงคุณค่าของสินค้า ก่อนนำไปใช้

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,300.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,100.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
1,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,100.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
2,100.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 79,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 47,700.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงานตกแต่งนิทรรศการภาคเช้า (1 คน * 500 บาท* 14 ลายผ้า)
=
7,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาทำความสะอาดสถานที่(2 คน *500 บาท*2 รอบ)
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาแรงงานแจกแบบประเมินโครงการ (2 คน * 500 บาท)
=
1,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาทอผ้าลายนาคน้อย (15 ผืน* 1,200 บาท)
=
18,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาทอผ้าลายตุ้มโฮมฮักแพงแบ่งปัน (15 ผืน* 1,200 บาท)
=
18,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาทำป้ายประชาสัมพันธ์
=
1,700.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
100 x 50 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
10 x 500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท