แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.พัชริดา ปรีเปรม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ออกแบบผลิตภัณฑ์
ประสบการณ์ : ทำวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ความเชี่ยวชาญ : ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
แนวโน้มและทิศทางของกระแสการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่จะเห็นได้ในปี 2020 (Green Trend In 2020) หรือใน 7 ปีข้างหน้านับจากนี้ ผ่านมุมมองและการคาดการณ์ของ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต มองว่า เนื่องจากปัจจุบัน ด้วยแนวความคิด กระบวนการและกฎหมายต่างๆ ทำให้เห็นว่าเริ่มมีอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือผู้ประกอบการที่เป็น “Green Industry” มากขึ้น และจะมีฉลากสิ่งแวดล้อมมากมายบนผลิตภัณฑ์เพื่อจะบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือรักษ์โลกแค่ไหน นอกจากนี้ จะเห็น “การผลิตผลิตภัณฑ์” ที่ไม่ใช่การผลิตแบบ Mass Production แต่จะเป็น “Mass Customization” มากขึ้นเรื่อยๆ คือการผลิตแบบจำกัดปริมาณในแต่ละครั้งโดยสามารถผลิตซ้ำเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่ Limited Edition สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้เกิด “แรงกระเพื่อม” ในสังคม คือการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีมากขึ้น เพราะสิ่งต่างๆ ที่ผลิตจากโรงงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกแนวโน้มหนึ่งคือ “Eco Fashion” จะเกิดขึ้นมาก จากปัจจุบันที่วงการแฟชั่นส่วนใหญ่ไม่ให้ความสนใจ มีเพียงบางส่วน เช่น ดาราฮอลลีวูดเริ่มนำเสนอเสื้อผ้าของตนเองว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เส้นใยออร์แกนิกในการทอ ใช้สีธรรมชาติในการย้อม หรือจะเห็นการออกแบบแฟชั่นที่หรูหรา เช่น H&M, Hermes หรือการให้ความสำคัญกับโรงงานบำบัดน้ำเสีย การทำธุรกิจแบบแฟร์เทรด เป็นต้น (สิงห์ อินทรชูโต, ASTVผู้จัดการออนไลน์: 2557) ในปี พ.ศ. 2529 บ้านผักกระยา ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มี เจ้าหน้าที่เข้ามาฝึกอบรมการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากรังไหมและหัตถกรรม แต่ไม่มีตลาดรองรับจึงได้พัฒนาเป็นการทำหัถกรรมถักกระเป๋า-หมวกจากป่าน (ด้ายกระสอบ) แต่ความต้องการของตลาดยังไม่มาก จึงเปลี่ยนวัสดุเป็นด้าย สายร่ม และไหมพรม ต่อมาในปี 2537 จึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตำบลจากหน่วยงานภาครัฐโดยการสนับสนุนวัสดุ ได้แก่ ด้าย โดยจัดสรรให้สมาชิกยืมและส่งใช้คืนเป็นเงิน ในระยะเวลา 1 ปีหมุนเวียนกันจนถึงปัจจุบัน จากการลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มได้จัดทำขึ้นพบว่า มีการนำสีเคมีมาใช้ในการย้อม และรูปแบบของสินค้าเป็นรูปแบบที่เดิม ไม่มีความหลากหลาย และไม่ตรงตามความต้องการของตลาด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้ความสำคัญกับการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุนและเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งหนึ่งในแผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชนของทางมหาวิทยาลัย ได้แก่ การสร้างมูลค่าและสร้างอาชีพจากศิลปวัฒนธรรมและหัตถกรรมชุมชน จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมองเห็นโอกาสและความท้าทายที่พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าให้แก่ชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
2.เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถักกระเป๋าและผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
10 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1: การศึกษา-สำรวจเบื้องต้น ประกอบด้วย 1) ศึกษาข้อมูลภาคเอกสารลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น 2)รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 3)วางแผนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2: อบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) ศึกษาบริบทของผู้เข้าร่วมโครงการ 2) ศึกษาความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการ 3)ให้ความรู้ด้านการตลาด 4)การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 3: การประเมินผล-ถอดบทเรียน-สรุป ประกอบด้วย 1) การวิพากษ์ผลิตภัณฑ์โดยนักออกแบบ ผู้เข้าร่วมโครงการและผู้เชี่ยวชาญ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.กิจกรรมที่ 1: การศึกษา-สำรวจเบื้องต้น ประกอบด้วย 1) ศึกษาข้อมูลภาคเอกสารลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น 2)รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 3)วางแผนการดำเนินงา --- --- --- 10,000.00
2.ขั้นตอนที่ 2: อบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) ศึกษาบริบทของผู้เข้าร่วมโครงการ 2) ศึกษาความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการ --- - --- --- 30,000.00
3.กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผู้เข้าร่วมโครงการและนักออกแบบ --- - --- 50,000.00
4.ขั้นตอนที่ 4 : การประเมินผล-ถอดบทเรียน-สรุป ประกอบด้วย 1) การวิพากษ์ผลิตภัณฑ์โดยนักออกแบบ ผู้เข้าร่วมโครงการและผู้เชี่ยวชาญ 2) ถอดบทเรียนการเข้าร่วมโค --- --- -- -- 30,000.00
5.ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรูปเล่ม --- --- --- - 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 369 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
17 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.00-16.00 ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหัตถกรรมถักกระเป๋าในจังหวัดอุบลราชธานี
24 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.00 รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และวางแผนการดำเนินงาน
22 มกราคม พ.ศ. 2561
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดร.พัชริดา ปรีเปรม, นายเสกสันตื ศรีสันต์, อ.ชวพจน์ ศุภสาร
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
8.30-16.30 วันแรกของการลงพื้นที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผู้เข้า่วมดครงการและนักออกแบบ ดร.พัชริดา ปรีเปรม นายเสกสันตื ศรีสันต์
30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
8.30-16.30 วันสุดท้ายของการลงพื้นที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยผู้เข้า่วมดครงการและนักออกแบบ ดร.พัชริดา ปรีเปรม นายเสกสันตื ศรีสันต์
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
8.30-16.30 การวิพากษ์ผลิตภัณฑ์โดยนักออกแบบ ผู้เข้าร่วมโครงการและผู้เชี่ยวชาญ ดร.พัชริดา ปรีเปรม, นายเสกสันตื ศรีสันต์, อ.ชวพจน์ ศุภสาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มมูลค่าของสินค้าหัตถกรรมการถักกระเป่า
ด้านสังคม :
ด้านสิ่งแวดล้อม : ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : ได้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
10
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
95
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เทคโนโลยีการผลิต
หลักสูตร ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต การออกแบบอุตสาหกรรม
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มอบหมายงานให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 111,950.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 43,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
28,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 68,750.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 68,750.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
18,750.00 บาท
2) จำนวน 5 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
50,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 132,610.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 92,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 60,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 1,500.00 บาท
=
60,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 5,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 7 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
5,600.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 27,000.00 บาท )
1) จำนวน 30 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 300.00 บาท
=
27,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
8,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 8 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10.00 บาท )
1) จ้างเหมาจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 10 ชิ้น ชิ้นละ 3000 บาท
=
10.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 12,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ไวนิลโครงการ
3 x 1,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) หมึกเลเซอร์
3 x 3,000 บาท
=
9,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 256,560.00 บาท