แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านป่าหญ้าคาและศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนภูดานกอย ระยะที่ 2 (ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับการร่วมพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนตามแนวพระราชดำริฯ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา
ประสบการณ์ : 1. การสอนวิชาชีววิทยา 9 ปี 2. การวิจัย 2.1 อนุกรมวิธานของพืชสกุลทองพันชั่ง (Rhinacanthus) และ สกุลเหงือกปลาหมอ (Acanthus) ในประเทศไทย 2.2 อนุกรมวิธานของพืชสกุลครามป่า (Tephrosia) และ สกุลมะแฮะเลือด (Rhynchosia) ในประเทศไทย 3. การบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ระยะที่ 1 สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหญ้าคาและศูนย์การเรียนรู้ภูดานกอย ประจำปีงบประมาณ 2560
ความเชี่ยวชาญ : อนุกรมวิธาน กายวิภาคศาสตร์ สัณฐานวิทยาเรณู
หัวหน้าโครงการ
นางอรัญญา พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สรีรวิทยาพืช
ประสบการณ์ : (1) หัวหน้าโครงการเพาะเมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้ป่า (ระยะที่ 4: กล้วยไม้สกุลหวาย) และโครงการศึกษาสภาวะการปลูกลูกกล้วยไม้สกุลกะเรกะร่อนในสภาพป่าธรรมชาติ (2) Light and Scanning Electron Microscopy Studies of Stomata, Guard Cells and Trichomes in Mokjong (Scaphium macropodum)
ความเชี่ยวชาญ : Plant Physiology และ Plant Tissue Culture
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุทธนา ปลอดสมบูรณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา
ประสบการณ์ : อาจารย์ผู้สอนวิชา Biology I และ Introduction to Biology II
ความเชี่ยวชาญ : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและแพลงค์ตอน
ผู้ร่วมโครงการ
นายณัฏฐ์ ดิษเจริญ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ประสบการณ์ : โครงการศูนย์พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา : ศูนย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (พฤษภาคม 2555 – เมษายน 2560) โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับรูปแบบพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (ปีงบประมาณ 2558: ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้ตามผู้เรียน ทุนวิจัยหน้าใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มกราคม 2554 – ธันวาคม 2554)
ความเชี่ยวชาญ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ผู้ร่วมโครงการ
นางวาริณี พละสาร คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : ชีววิทยา
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการความหลากหลายของเห็ดในสวนสัตว์อุบลราชธานีและพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการชีววิทยาและห้องวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของพรรณพืชที่มีความหลากหลายทางชีวภาพพันธุกรรม และนิเวศวิทยา ซึ่งมีความสำคัญต่อมนุษย์ โดยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จาเป็นสาหรับปัจจัยสี่ ปัจจุบันมี หน่วยงานต่างๆ ของรัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาวิจัย รวบรวมความรู้และผลิตผลงานวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์ ไว้มากมาย ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานจนถึงการประยุกต์ใช้อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพืชอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ สำหรับการวางแผนอนุรักษ์อย่างยั่งยืนต่อไป ตามที่สำนักงานส่งเสริมบริหารงายวิจัยฯ ร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 (ตชด.) ได้มีนโยบายให้คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้โรงเรียนด้านการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพสธ.) ในประเด็นงานสวนพฤกศาสตร์โรงเรียนที่มีกรอบการดำเนินงานและองค์ประกอบสำคัญที่ต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน ได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลุกในโรงเรียน การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ การรายงานผลการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งครอบคลุมถึงการเพิ่มศักยภาพแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้มีพิพิธภัณฑ์พืชในท้องถิ่นหรือห้องพฤกษศาสตร์ ซึ่งมีโรงเรียนเป้าหมาย 2 แห่ง คือ โรงเรียน ตชด.บ้านป่าหญ้าคา และ ศูนย์การเรียขนรู้ (ศกร.) ตำรวจตระเวนชายแดนภูดานกอย โดยผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2560 ได้ร่วมกันกำหนดพื้นที่สำหรับจัดทำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและอบรมเชิงปฏิบัติการการการสำรวจเก็บทรัพยากร ได้แก่ การสำรวจพรรณไม้ การทำและติดป้ายรหัสประจำต้น และการทำตัวอย่างพรรณไม้ (แห้ง ดอง และเฉพาะส่วน) ให้แก่ครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จากการประเมินพบว่าผู้ร่วมกิจกรรมมีความรู้และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ของคณะวิทยาศาสตร์จึงได้จัดทำ “โครงการย่อยสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านป่าหญ้าคาและศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนภูดานกอย ระยะที่ 2” ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับการร่วมพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมสนองพระราชดำริฯ ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและพัฒนาคุณภาพครูและนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อพัฒนาสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้มีศักยภาพใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในโรงเรียน 2. เพื่อพัฒนาครูและนักเรียนด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 3. เพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการนำองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพของตนเองไปสร้างประโยชน์จากการบริการวิชาการให้แก่หน่วยงานภายนอก

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
(1) ครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 2 แห่ง คือ ตชด.บ้านป่าหญ้าคา และ ศกร. ตำรวจตระเวนชายแดนภูดานกอย (2) บุคลากรและนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดทำกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่โรงเรียน/ศูนย์การเรียนรู้ 2. ดำเนินการตามแผนงาน 3. กำกับติดตามและประเมินความก้าวหน้า 4. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดทำกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่โรงเรียน/ศูนย์การเรียนรู้ 1.1 ทำทะเบียนพรรณไม้ 1.2 ทำผังพันธุ์ไม้ในบริเวณศูนย์การเรียนรู้ 1.3 ติดชื่ -- -- --- --- 125,000.00
2.กำกับติดตามและประเมินความก้าวหน้าที่โรงเรียน/ศูนย์การเรียนรู้ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยกำกับติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ และประเมินผลความสำเร็จของโครงกา --- -- --- -- 20,000.00
3.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 28 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 334 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.30 กิจกรรมการสำรวจเก็บทรัพยากร ช่อทิพย์ กัณฑโชติ อรัญญา พิมพ์มงคล วาริณี พละสาร
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30-16.30 กิจกรรมการสำรวจเก็บทรัพยากร ช่อทิพย์ กัณฑโชติ อรัญญา พิมพ์มงคล วาริณี พละสาร
15 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.30 กิจกรรมการสำรวจเก็บทรัพยากร ช่อทิพย์ กัณฑโชติ อรัญญา พิมพ์มงคล วาริณี พละสาร
16 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.30 กิจกรรมการสำรวจเก็บทรัพยากร ช่อทิพย์ กัณฑโชติ อรัญญา พิมพ์มงคล วาริณี พละสาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : โรงเรียนมีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : บุคลากรและนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับการบริการวิชาการ เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1,500 บาท/คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1111 315 อนุกรมวิธานพืช
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาชีววิทยา)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1111 315 อนุกรมวิธานพืช
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาชีววิทยา)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 62,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 36,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 26,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 21,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
21,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 44,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 1,500.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 44,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 19,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 19,000 บาท
=
19,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมัน
5 x 1,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) วัสดุอื่นๆ ในการจัดทำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท