แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การเพิ่มศักยภาพการผลิตปลานิลในระบบอินทรีย์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
ยังไม่ได้เพิ่มมาตรการ
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประสบการณ์ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ สรีรวิทยาสัตว์น้ำ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกรอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศบริเวณบ้านศรีไค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่า เกษตรกรมีการอนุบาลลูกปลานิลในบ่อดินขนาด ประมาณ 1 ไร่ จำนวน 5 บ่อ มีช่วงระยะเวลาการเลี้ยง 2 เดือนต่อรุ่น ประสบปัญหาการอนุบาลลูกปลาเนื่องจากไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ จึงทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกปลา โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนขาดช่วง เกษตรกรจึงต้องการจัดการปริมาณและคุณภาพของน้ำให้เหมาะสมต่อลูกปลา ข้อสรุปประเด็นความต้องการของชุมชน/โรงเรียนเครือข่ายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่า ชุมชนตำบลเมืองศรีไคต้องการดำเนินโครงการเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ที่มีการต่อเนื่องในส่วนของชุมชนและโรงเรียนและต้องการให้มีการจัดอบรมให้ความรู้ในด้านการทำเกษตรกรรมแบบอินทรีย์ และกลุ่มพัฒนาครูและนักเรียน ต้องการให้มีการพัฒนางานด้านเกษตรในพื้นที่โรงเรียน จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น สามารถนำไปสู่การกำหนดรูปแบบการให้ความรู้กับชุมชนและโรงเรียน การกำหนดแผนงาน และกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม การเลี้ยงปลานิลในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ การเลี้ยงในกระชัง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอเมือง วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ และ พิบูลมังสาหาร ในปี พ.ศ. 2554 มีผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังเพิ่มขึ้น (724 ราย) ผลผลิตปลานิล 14,630 ตันต่อปี มูลค่า 785,312,000 บาท (สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี, 2556) พื้นที่แม่น้ำมูลบริเวณอำเภอวารินชำราบ มีผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังทั้งหมด 221 ราย อยู่ในพื้นที่ตำบลบุ่งหวาย (บ้านวังยาง) หนองกินเพล บุ่งไหม ห้วยขะยุง ท่าลาด และ คำน้ำแซบ มีผลผลิตต่อปี 5,243.7 ตัน (14.36 ตันต่อวัน) มูลค่า 356,571,600 บาท โดยมีแหล่งรับซื้ออยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี (65 %) ศรีสะเกษ (20 %) อำนาจเจริญ (10 %) สุรินทร์ (3 %) และยโสธร (2 %) คณาจารย์และบุคลากรทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้และการถ่ายทอดการเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ ประกอบด้วย การเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ การเตรียมอาหารสำหรับปลานิล และการจัดการสภาพการเลี้ยงให้เหมาะสม โดยผ่านการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ และให้เกษตรกรลงมือปฏิบัติได้จริง ซึ่งฟาร์มประมงจะจัดทำระบบต้นแบบเพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้การเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ให้กับเกษตรกร
2.เพื่อเผยแพร่ความรู้การเตรียมอาหารปลาในการเลี้ยงปลาระบบอินทรีย์ให้กับเกษตรกร
3.เพื่อให้คำปรึกษาเกษตรกรเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ได้ด้วยตนเอง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.การประชุมสำรวจกลุ่มเป้าหมายและเตรียมความพร้อมผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ 2.การจัดทำเอกสารการเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ 3.การจัดทำเอกสารการเรียนรู้การเตรียมอาหารปลาในการเลี้ยงระบบอินทรีย์ให้กับเกษตรกร 4.การอบรมเชิงปฏิบัติการการเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ 5.การอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมอาหารปลาในการเลี้ยงปลาระบบอินทรีย์ให้กับเกษตรกร 6.การให้คำปรึกษาการผลิตปลานิลในระบบอินทรีย์ในพื้นที่ของเกษตรกรเมืองศรีไค 7.การสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 8.การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประชุมสำรวจกลุ่มเป้าหมายและเตรียมความพร้อมผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ -- --- --- --- 10,000.00
2.การจัดทำเอกสารการเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ -- --- --- --- 10,000.00
3.การจัดทำเอกสารการเรียนรู้การเตรียมอาหารปลาในการเลี้ยงระบบอินทรีย์ให้กับเกษตรกร --- -- --- --- 10,000.00
4.การอบรมเชิงปฏิบัติการการเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ --- -- --- --- 50,000.00
5.การอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมอาหารปลาในการเลี้ยงปลาระบบอินทรีย์ให้กับเกษตรกร --- -- --- --- 40,000.00
6.1การให้คำปรึกษาการผลิตปลานิลในระบบอินทรีย์ในพื้นที่ของเกษตรกรเมืองศรีไค --- - -- --- 10,000.00
7.การสรุปผลการดำเนินงานโครงการ --- --- -- --- 10,000.00
8.การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- -- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
09.00-12.00 ความรู้เบื้องต้นของชีววิทยาการเลี้ยงปลานิล ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
13.00-16.00 ชีววิทยาการอนุบาลลูกปลานิลและชีววิทยาการเลี้ยงปลานิล ผศ.ธนาทิพย์ แหลมคม และนายชำนาญ แก้วมณี
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
09.00-12.00 การเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
13.00-16.00 การจัดการปลานิลในระบบอินทรีย์และการจัดการคุณภาพน้ำในระบบอินทรีย์ ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และนายชำนาญ แก้วมณี
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
09.00-12.00 การเตรียมอาหารปลานิลในระบบอินทรีย์ ผศ.ดร.กาญจนา พยุหะ
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
13.00-16.00 การเตรียมวัตถุดิบอาหารปลานิล และ การเตรียมและเก็บอาหารปลานิล ผศ.ดร.กาญจนา พยุหะ และ นายชำนาญ แก้วมณี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.เกษตรกรสามารถมีความรู้ในการจัดการและการเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ 2.เกษตรกรสามารถมีเตรียมอาหารสำหรับการเลี้ยงปลานิลในระบบอินทรีย์ 3.เกษตรกรสามารถผลิตปลานิลในระบบอินทรีย์
ด้านสังคม : 1.เกษตรกรสามารถผลิตปลานิลที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค 2.ระบบน้ำและการจัดการปลานิลในระบบอินทรีย์มีความปลอดภัยต่อการเกษตรอื่นและพื้นที่
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1.ระบบน้ำและการจัดการปลานิลในระบบอินทรีย์มีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม 2.การลดการใช้ยารักษาโรคและสารเคมีในการผลิตปลานิลจะไม่ทำลายระบบนิเวศในน้ำและดิน
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีความเหมาะสม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1204351 เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาประมง
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ทักษะการปฏิบัติงานทางประมงในพื้นที่จริงและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวน 25 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีการมอบหมายให้นักศึกษาเข้าร่วมเตรียมงาน การให้ความรู้ทางด้านการเลี้ยงปลา การจัดการปลานิล การเตรียมอาหารปลา
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 17,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,400.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 6,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 76,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 4,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 7,500.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 45,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสำหรับจัดทำกระชังสำหรับพ่อแม่พันธุ์ปลานิล
=
10,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาสำหรับจัดทำกระชังสำหรับการอนุบาลลูกปลา
=
10,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม
=
5,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
=
5,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมานักศึกษาเตรียมงาน
=
10,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาปรับปรุงบ่อซีเมนต์สำหรับการอนุบาลลูกปลา
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 56,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์คอมพิวเตอร์
2 x 4,000 บาท
=
8,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
2 x 1,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 44,200.00 บาท )
1) ค่าพันธุ์ปลานิล
=
5,000.00 บาท
2) ค่าอาหารปลา
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัตถุดิบอาหารปลา
=
8,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุจัดทำระบบน้ำและลม
=
8,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุวิเคราะห์น้ำอย่างง่าย
=
7,000.00 บาท
6) ค่าถ่ายเอกสารและการเข้าเล่มรายงาน
=
2,200.00 บาท
7) ค่าวัสดุโฆษณาและประชาสัมพันธ์
=
1,000.00 บาท
8) ค่าวัสดุประกอบการอบรม
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท