แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ รุ่นที่ 15
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Plant Pathology
ประสบการณ์ : การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมไส้เดืนฝอยรากปมโดยชีววิธี การเพาะเห็ด
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เห็ดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาป้องกันรักษาโรคได้หลายชนิด แต่เนื่องจากสภาพทางธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการเกิดและเจริญเติบโตของเห็ดป่าได้ลดลงอย่างรวดเร็วจึงส่งผลให้ปริมาณเห็ดลดน้อยลงด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการบริโภคของประชากรได้ทวีเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก ประกอบกับการศึกษาวิจัยการเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ พัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ จึงทำให้มีเห็ดหลายๆ ชนิด ได้กลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดต่างๆ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ฟางข้าว ผักตบชวา เศษใบไม้ หญ้า ซังข้าวโพด ฯลฯ มาใช้เป็นวัสดุเพาะสำหรับเพาะ ด้วยวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผลผลิตที่ได้สามารถนำมาบริโภคในครัวเรือนทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเพาะเป็นปริมาณมากสามารถนำไปจำหน่ายเป็นการเพิ่มรายได้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง หรือทำเป็นอาชีพหลักซึ่งนับว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่สูง เกษตรกรและประชาชนทั่วไปต่างให้ความสนใจกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามการเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตสูง ผู้เพาะจำเป็นต้องรู้จักชีวิตและนิสัยของเห็ด เพื่อที่จะนำความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เช่นสารอาหาร เกลือแร่ วิตามิน ความชื้น ความเป็นกรด-ด่างของน้ำและอาหาร อุณหภูมิ อากาศ แสง แรงดึงดูดของโลก โรค แมลง มาปรับให้เหมาะสมกับเห็ดที่เพาะเลี้ยง เพื่อให้มีการเจริญของเส้นใยเห็ดเป็นจำนวนมาก ๆ เพียงพอที่จะรวมตัวกันแล้วจึงสร้างเป็นดอกเห็ดได้ตามต้องการ ผลการวิเคราะห์โครงการเดิม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และหลักการเพาะเห็ด แก่ผู้ที่สนใจการเพาะเห็ด จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ?เทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ? ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปมาแล้วจำนวนทั้งสิ้น 14 รุ่น ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมฯทั้งที่เป็นผู้ประกอบการเพาะเห็ด ข้าราชการครู เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล แม่บ้าน และประชาชนทั่วไป และในปีงบประมาณ 2556 วางแผนดำเนินการฝึกอบรมฯ โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และกลุ่มเกษตรกรที่เพาะเห็ดเดิมอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ หรือนำไปเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน และนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ชมชน ยกระดับรายได้ชุมชนให้สูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขในสังคม ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติที่ดีต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดแก่เกษตรกรที่สนใจในอาชีพและผู้ที่สนใจทั่วไป
2.เพื่อส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มรายได้ของครัวเรือน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรผู้เพาะเห็ดและประชาชนทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 รับสมัครผู้เข้าอบรมโดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุ อินเตอร์เน็ท ฯลฯ ของมหาวิทยาลัย 1.2 จัดเตรียมโรงเรือนสาธิต สถานที่ วัสดุ และเอกสารประกอบการฝึกอบรม 1.3 จัดฝึกอบรมโดยการบรรยายและปฏิบัติการ 1.4 สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์ --- - --- --- 1,000.00
2.รับสมัครผู้เข้าอบรม --- -- --- --- 2,000.00
3.จัดเตรียมเอกสารวัสดุ --- - --- --- 25,000.00
4.เตรียมเอกสารประกอบจัดฝึกอบรม --- - --- --- 6,000.00
5.จัดฝึกอบรมฯ --- --- -- --- 24,000.00
6.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- - --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556 - 6 เมษายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
16.00-16.30 น. ปิดการฝึกอบรมและมอบใบประกาศเกียรติคุณ
0 พ.ศ. 543
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
0 พ.ศ. 543
10.30-12.00 น ปฏิบัติการ “ผลิตก้อนเชื้อเห็ดและนึ่งก้อนเชื้อ ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ /นางวาสนา ลิลา
0 พ.ศ. 543
14.30-16.00 น. ปฏิบัติการ “โรคและแมลงศัตรูเห็ด ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ / นายสมชาย คำแน่น
0 พ.ศ. 543
14.30-16.00 น. ปฏิบัติ “การผลิตหัวเชื้อเห็ด ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/นางขนิษฐา วันทา
0 พ.ศ. 543
13.00 – 14.30 น. บรรยาย การผลิตหัวเชื้อเห็ด ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
0 พ.ศ. 543
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
0 พ.ศ. 543
10.30 – 12.00 น. ปฏิบัติการ “เตรียมแม่เชื้อเห็ด” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ/นางขนิษฐา วันทา
0 พ.ศ. 543
09.00 – 10.30 น. บรรยาย “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด” และ“ขั้นตอนการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก” ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
0 พ.ศ. 543
13.00 – 14.30 น. ปฏิบัติการ “การต่อเชื้อเห็ดและเปิดดอกเห็ด นายบรรพต คชประชา/ ยุวดี ชูประภาวรรณ
5 เมษายน พ.ศ. 2556
08.30-09.00 น. ลงทะเบียนพร้อมรับเอกสารฝึกอบรม
6 เมษายน พ.ศ. 2556
09.00 – 10.30 น. บรรยาย “การผลิตก้อนเห็ด การเปิดดอกเห็ด” “โรงเรือนเปิดดอกเห็ดและชั้นวางก้อนแบบต่างๆ” และ “ปัจจัยที่ม ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมแก่ผู้ร่วมโครงการ ทำให้สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
ด้านสังคม : เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อทำกิจกรรมการเพาะเห็ด ทำให้เกิดความคุ้นเคย ความรัก ความสามัคคี ในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : เป็นนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพาะเห็ด ทำให้เป็นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-สามารถสร้างอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมให้แก่ประชาชนทั่วไป วิสาหกิจชุมชน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1202 344 Mushroom Production
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น/สามารถสอบผ่านในรายวิชาร้อยละ 100
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 15 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 21,240.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,640.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชม.บรรยายจำนวน 1 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 600.00 บาท/ชม.
=
3,000.00 บาท
2) ค่าตอบแทนวิทยากร ชม.ปฏิบัติจำนวน 2 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 600.00 บาท/ชม.
=
9,600.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 18,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,600.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมายานพาหนะ 2 ครั้งๆ ละ 1,800 บาท
=
3,600.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาทำป้ายประชาสัมพันธ์ 2 แผ่นๆ ละ 500 บาท
=
1,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบรม 30 ชุดๆล ะ200 บาท
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
2,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) วัสดุงานบ้านงานครัว
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 47,640.00 บาท