แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดและวิธีปฏิบัติ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจิตภินันท์ เจริญรุ่งเรือง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การกำกับดูแลกิจการ
ประสบการณ์ : อาจารย์ สาขาการจัดการธุรกิจ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารโครงการ การบริหารธุรกิจด้านการเกษตร
หัวหน้าโครงการ
นางสาวบุษกร คำโฮม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : หัวหน้างานอาวุโส แผนกผลิต ส่วนงานควบคุมคุณภาพ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาคุณภาพ และการเพิ่มผลิตภาพ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การดำเนินธุรกิจนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสังคมซึ่ง ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน รัฐบาล ประชาชน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เนื่องจากในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการต้องมีการนำทรัพยากรต่างๆ เช่น ทุน แรงงาน วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเข้ากระบวนการและได้ผลลัพท์ออกมาเป็นสินค้าและบริการที่ส่งมอบให้กับลูกค้า หากธุรกิจมุ่งเน้นแต่ผลกำไรโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่สังคมและสิ่งแวดล้อมได้รับ ธุรกิจนั้นก็ยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่มีการเผยแพร่แนวความคิดนี้ ในปี 1987 จากรายงานของคณะกรรมาธิการระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ขององค์การสหประชาชาติ ที่เรียกว่า Our Common Future ระบุว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในปัจจุบัน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถของคนในรุ่นถัดไปในการตอบสนองต่อความต้องการในช่วงเวลานั้น ทั้งนี้ การพัฒนาอย่างยั่งยืน จะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในแต่ละด้านก็จะมีการเชื่อมโยงและมีผลกระทบซึ่งกันและกันด้วย ( ที่มา ) การพัฒนาอย่างยั่งยืน จะมุ่งเน้นที่ความยั่งยืนของสังคมโดยรวม ไม่ใช่ความยั่งยืนหรือความอยู่รอดของบุคคล หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หากองค์กรธุรกิจนำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมไปดำเนินการ จะส่งผลให้อยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว อีกทั้ง ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรและเตรียมความพร้อมรับมือกับการแข่งขันทางธุรกิจที่ได้นำ ?ความรับผิดชอบต่อสังคม ?มาเป็นประเด็นกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับ ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม บางส่วนอาจมองแค่ประเด็นการบริจาคสิ่งของหรือการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เท่านั้นแต่แท้จริงแล้ว ประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมี 7 หัวข้อหลัก (Core Subjects) ด้วยกัน ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี สิทธิมนุษยชน ข้อปฏิบัติทางด้านแรงงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติอย่าง เป็นธรรม ความใส่ใจต่อผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน โดยหัวข้อหลักต่าง ๆ เหล่านี้ จะครอบคลุมถึงผลกระทบหลัก ๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคมที่กำหนดขึ้นโดยองค์กร ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดและวิธีการปฏิบัติ รวมถึงการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของตน คณะผู้ดำเนินโครงการจึงมีแนวคิดจัดโครงการ ?ความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดและวิธีปฏิบัติ? ขึ้น โดยหวังว่าจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานีได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ประกอบการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อสังคม
2.เพื่อให้ผู้ประกอบการ นำความรู้ ไปใช้ในการวางแผนและดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
- ตรียมแผนงานอบรม - ประชาสัมพันธ์ - รับสมัครผู้ร่วมโครงการ - ดำเนินโครงการ - สรุปโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ตรียมแผนงานอบรม -- --- --- --- 2,000.00
2.ประชาสัมพันธ์ --- -- --- --- 3,000.00
3.รับสมัครผู้ร่วมโครงการ --- - --- --- 0.00
4.ดำเนินโครงการ --- --- -- --- 21,000.00
5.สรุปโครงการ --- --- -- --- 5,120.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556 - 23 เมษายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 เมษายน พ.ศ. 2556
8.00-9.00 ลงทะเบียน
22 เมษายน พ.ศ. 2556
9.00-10.00 ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของ CSR อ.จิตภินันท์ เจริญรุ่งเรือง
22 เมษายน พ.ศ. 2556
10.00-11.00 มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ CSR อ.จิตภินันท์ เจริญรุ่งเรือง
22 เมษายน พ.ศ. 2556
11.00-14.00 การกำกับดูแลกิจการที่ดี อ.จิตภินันท์ เจริญรุ่งเรือง
22 เมษายน พ.ศ. 2556
14.00-16.00 ความใส่ใจต่อผู้บริโภค อ.จิตภินันท์ เจริญรุ่งเรือง
23 เมษายน พ.ศ. 2556
13.00-15.00 การดูแลสิ่งแวดล้อม อ. บุษกร คำโฮม
23 เมษายน พ.ศ. 2556
11.00-12.00 การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน อ.จิตภินันท์ เจริญรุ่งเรือง
23 เมษายน พ.ศ. 2556
9.00-11.00 ข้อปฏิบัติทางด้านแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ อ. บุษกร คำโฮม
23 เมษายน พ.ศ. 2556
8.00-9.00 ลงทะเบียน
23 เมษายน พ.ศ. 2556
15.00-16.00 ตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อ. บุษกร คำโฮม และ อ.จิตภินันท์ เจริญรุ่งเรือง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ตัวแทนผู้ประกอบการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินงานด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ
ด้านสังคม : เป็นการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่ชุมชน และก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความตระหนักใน ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมของการดำเนินชีวิตและหาแนวทางลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา จริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ
หลักสูตร บริหารธุกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 9,080.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,880.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 1,680.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,680.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 17,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 7,100.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม
=
3,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงาน(200 บาท 2 คน 2 วัน )
=
1,200.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด (200 บาท 2 คน 2 วัน)
=
400.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาพิมพ์รายงานและจัดทำรูปเล่ม
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 4,050.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 3,750.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,750.00 บาท
=
1,750.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 300.00 บาท )
1) ค่าล้างอัดภาพ
=
300.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 390.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 0 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 390 บาท
=
390.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 31,120.00 บาท