แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชนในโครงการบัญชีสัญจร เพื่อการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Event Point) สำหรับวิสาหกิจชุมชน รุ่นที่ 3
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ยังไม่ได้เพิ่มผู้รับผิดชอบโครงการselect * from response_data rd,user_data ud,education ed,user_tname ut,resp_type rt where (rd.user_id=ud.user_id) and (rd.resp_type_id=rt.resp_type_id) and (ud.tname_id=ut.tname_id) and (ud.edu_id=ed.edu_id) and rd.pro_id=313 order by rd.resp_type_id

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปี 2551-2552 ทำให้ธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงิน และต้องเลิกกิจการไป บางธุรกิจต้องลดปริมาณกิจกรรมลง อาทิเช่น ลดการขายหรือการบริการลงลดการผลิตสินค้าบางประเภทลง ในช่วงดังกล่าว บางธุรกิจจำเป็นต้องให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนเวลา (Early Retires) บางธุรกิจประสบปัญหาการทำงานโดยให้ลูกจ้างและพนักงานรับภาระงานมากขึ้น โดยไม่รับคนงานใหม่เพิ่ม บัณฑิตจบใหม่ต้องว่างงาน ลูกจ้างพนักงานจำนวนมากตกงาน รัฐบาลจึงเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าว โดยมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา ซึ่งถือเป็นโครงการทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐบาลต้องการให้มีแหล่งการจ้างงานและการกระจายรายได้ จึงมุ่งเน้นสร้างวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยด่วน กล่าวคือสร้างวิสาหกิจชุมชนที่มีความพร้อม และมีความต้องการอันแน่วแน่ที่จะสร้างธุรกิจที่เป็นของตนเองขึ้น เพราะมีความถนัดและประสบการณ์ มีความกล้าที่จะเสี่ยงต่ออุปสรรค์และการท้าทาย ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนต้องมีความรอบรู้ในทุกด้านของตนเอง และรอบรู้ธุรกิจคู่แข่งขันด้วย ส่วนความรอบรู้ในตนเอง คือ มีความเข้าใจและสรรหาข้อมูลตนเองว่าเป็นอย่างไรตลอดเวลา ซึ่งปัจจัยที่ควรศึกษาและนำมาพัฒนาธุรกิจตนเองคือ ปริมาณขาย ราคาขาย ต้นทุนของสินค้าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยนำมาศึกษาความสัมพันธ์กัน และทำการวิเคราะห์ ซึ่งทางศาสตร์ด้านการบริหารเรียกว่า การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Event Point) จะทำให้ทราบว่าจะสู้คู่แข่งขันได้อย่างไร จะลดราคา หรือจะลดต้นทุน แล้วจะทำให้กำไรเปลี่ยนแปลงไปอยางไร เพื่อที่จะสามารถหาว่าต้องผลิต และขายสินค้าเท่าใด จึงจะคุ้มทุนพอดี และทราบแนวทางการดำเนินการ กับกำไรที่ต้องการ ดังนั้น จากความต้องการในหนังสือเลขที่ อบ/0109/601 ของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้มีความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน และมีความเข้าในในความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณ และกำไร ข้างต้นทั้งหม ซึ่งสามารถพัฒนาวิสาหกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี สามารถวางกลยุทธ์ในการต่อสู้กับคู่แข่งขัน และมีความมั่นใจในการประกอบการ ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนและการตัดสินใจ และเพื่อเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชนร่มกับคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งจะทำให้แก้ปัญหาในการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยขยายพื้นที่การฝึกอบรมไปยังเขตพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป เป็นโครงการที่ 3

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนเห็นความสำคัญของการคิดจุดคุ้มทุน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปริมาณ รายได้ ต้นทุนและกำไร เพื่อวางแผนทางการดำเนินการกับกำไรที่ต้องการ 2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชน สู่ความสำเร็จและก้าวไปสู่ความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. โดยเน้นเป้าหมายกลุ่มเกษตรกรตำบลหนองขอน สินค้าข้าวกล้องงอก เพาะเห็ด อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี 2. โดยเน้นเป้าหมายกลุ่มเกษตรตำบลหัวเรือ สินค้าพริก และพืชผักทางการเกษตร อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1. ทำจดหมายติดต่อประสานงานและทำป้ายประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1.2. จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ เพื่อให้วิสาหกิจชุมชน ได้มีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน และมีความเข้าใจในความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณและกำไร ข้างต้นทั้งหมด ซึ่งสามารถพัฒนาวิสาหกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี สามารถวางกลยุทธ์ในการต่อสู้กับคู่แข่งขัน และมีความมั่นใจในการประกอบการ ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนและตัดสินใจ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขอรับงบประมาณ -- --- --- --- 0.00
2.เตรียมแผนงาน -- --- --- --- 5,000.00
3.ประชุมวิธีการดำเนินงาน -- --- --- --- 5,000.00
4.ติดต่อประสานงาน --- -- --- --- 5,000.00
5.ประชาสัมพันธ์ --- - --- --- 5,000.00
6.เตรียมโครงการฯ --- --- - --- 10,000.00
7.ดำเนินการ --- --- -- -- 7,000.00
8.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- -- 7,000.00
9.รายงานผล --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ - รวมเวลา 0 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
08.30 ลงทะเบียน
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
09.00-10.30 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน อ.ปาณมน วิยะชัย
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
10.30-12.00 การคำนวณจุดคุ้มทุนของการผลิตพืช อ.ปาณมน วิยะชัย
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
13.00-14.30 แบ่งกลุ่มวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการผลิตพืชแต่ละชนิด อ.จริยา อ่อนฤทธิ์
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
14.30-16.00 วิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการผลิตพืชแต่ละกลุ่ม หาจุดบกพร่อง ให้คำแนะนำ อ.ในสาขาบัญชี จำนวน 4 ท่าน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใชในการจัดทำบัญชีฟาร์มของตน หรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ -สร้างรากฐานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสังคม : -เป็นการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่ชุมชน และก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มากขึ้นกว่าเดิม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สัมมนาทางการบัญชี
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ในหัวข้อ วิชา สัมมนาทางการบัญชี
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 23,440.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 9,040.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 13,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 6,600.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงานนักศึกษาช่วยงาน
=
1,600.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นผ้าโฆษณาประชาสัมพันธ์
=
3,000.00 บาท
3) ค่าบำรุงสถานที่
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 7,460.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
2,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,460.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
3,460.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 44,000.00 บาท