แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายไกรศักดิ์ ยงกุลวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : วิทยากรการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ วิทยากรการจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ การจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการหัวข้อที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ ของวิสาหกิจชุมชน ในตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง 25 หมู่บ้าน พบว่า ต้องการได้รับความรู้เรื่อง การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชน ดังเอกสารแนบ 1 ดังนั้น เพื่อเป็นการจัดบริการวิชาการที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งสอดคล้องกับ? ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ?ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต โดยคำนึงถึงความสมดุลพอดี และความพอประมาณอย่างมีเหตุผลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้อยู่ดีมีสุข จุดเน้นของเศรษฐกิจพอเพียงจะอยู่ที่การมีภูมิคุ้มกัน เนื่องจากการมีภูมิคุ้มกันที่ดีจะช่วยทำให้กิจการสามารถดำรงอยู่ได้ในลักษณะไม่เสี่ยงมากจนเกินไปทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นที่ไม่อาจคาดเดาล่วงหน้าได้หรือถ้าหากได้รับผลกระทบกะสามารถฟื้นตัวได้ในเวลารวดเร็วพอสมควร โดยที่การจะมีภูมิคุ้มกันที่ได้นั้นจำเป็นต้องมาจากการพึ่งตัวเองให้ได้เป็นส่วนใหญ่ หมายถึงใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เองหรือหาได้ง่ายในท้องถิ่นมากที่สุด ใช้เทคโนโลยีเหมาะสมที่สามารถจัดการหรือควบคุมได้ หรือมีทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนทางกายภาพที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นเงินทุนเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิต ตลอดจนภาวการณ์ตลาดที่สามารถจัดการได้โดยไม่ยากจนเกินไป และถ้าสามารถที่จะพึ่งตนเองได้มากเท่าไหร่ ภูมิคุ้มกันก็จะมีสูงมากขึ้นไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นและมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดก็สามารถจัดการได้ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ทุกประเภทอยู่ในขอบเขตความสามารถที่จะจัดการได้เอง แต่การจะพึ่งตัวเองนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มี ความพอประมาณ ความหมายของความพอประมาณก็คือทำทุกอย่างเท่าที่จะสามารถจัดการเองได้ไม่เกินกำลังความสามารถหรือโลภมาก จากบทความเรื่อง "เศรษฐกิจโต...แล้วมีใครได้อยู่ได้กิน" กล่าวถึง ความจริงที่ว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงยากจน หรือมีชีวิตความเป็นอยู่เพียงในระดับพอยังชีพ (subsistence level) ช่องว่างทางรายได้และฐานะและขีดความสามารถทางเศรษฐกิจห่างกันมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ และมีปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติหนักขึ้นทุกปี ซึ่งสร้างความทุกข์ยากลำบาก และต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นของการทำมาหากินทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นเศรษฐกิจไทยก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้ ยังต้องพึ่งต่างประเทศ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและอื่นๆ สินค้าที่คนไทยผลิตได้ ก็เผชิญกับการแข่งขันสูง ตลอดจนผลิตภาพและประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิตก็ไม่ดี แรงงานไทยส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเพียงแรงงานไร้ฝีมือที่ดูเหนื่อยล้าลงมาก เพราะรายได้ค่าจ้างก็ยังต่ำ ทรัพยากรมนุษย์ไทย ที่น่าจะเป็นกำลังคนหรือสินทรัพย์อันล้ำค่าของประเทศ (โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่จะต้องหากินจากทรัพยากรประเภทความรู้ และสติปัญญาของมนุษย์) ธุรกิจชุมชนเป็นสถาบันทางธุรกิจพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจไทย ที่ผ่านมามีระบบการบริหารจัดการค่อนข้างขาดระบบ การประกอบการอาศัยการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ทำให้ไม่สามารถพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพในระยะยาวได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉพาะธุรกิจชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ และรู้จักการวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันได้ โดยอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการความรู้เรื่องการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของชุมชนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนได้รับความรู้เรื่องการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสามารถวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมเองได้และสามารถบูรณาการ ความรู้หลักการด้านการจัดการ การตลาด บัญชีและการเงินเพื่อใช้มองภาพรวมและวางแผนธุรกิจได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพต่างๆ ใน 25 หมู่บ้านของตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และกลุ่มวิสาหกิจอื่นๆที่สนใจเข้าร่วม
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ เป็นการอบรมนอกพื้นที่ ณ.องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาด โดยจัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำกิจกรรมกลุ่ม เกี่ยวกับ การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ความรู้หลักการด้านการจัดการ การตลาด บัญชีและการเงินเพื่อใช้มองภาพรวมและวางแผนธุรกิจได้

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขอรับงบประมาณ เตรียมแผนงาน ประชุมวิธีการดำเนินงาน --- --- --- 8,000.00
2.ติดต่อประสานงาน ประชาสัมพันธ์ รับสมัครผู้อบรม เตรียมเอกสาร --- --- --- 7,600.00
3.ดำเนินการ สรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- 44,000.00
4.สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผล --- --- --- 14,400.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
09.00 – 10.30 น. บรรยายและแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเ นายไกรศักดิ์ ยงกุลวณิชและคณะ
0 พ.ศ. 543
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
0 พ.ศ. 543
10.45 – 12.00 น. บรรยายและแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ - การเป็นผู้ป นายไกรศักดิ์ ยงกุลวณิชและคณะ
0 พ.ศ. 543
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
0 พ.ศ. 543
13.00 – 14.30 น. บรรยายและแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ หลักการตลาดกับการประยุกต์ใช้ - ความสำคัญและก ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
0 พ.ศ. 543
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
0 พ.ศ. 543
14.45 – 16.00 น. บรรยายและแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ การบัญชีที่จำเป็นสำหรับธุรกิจขนาดย่อมที่สำคัญ - คว ผศ.นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้และมีภูมิคุ้มกันทางการเงิน เกิดการสร้างงาน สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในธุรกิจได้
ด้านสังคม : -กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ด้านการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชนและสามารถวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆที่มีผลกระทบต่อสภาวะการแข่งขันได้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
740

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
หลักสูตร การจัดการธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การจัดส่งธุรกิจ , วิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิชาการจัดการธุรกิจ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 32,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 17,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงปฎิบัติการจำนวน 1 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 3,600.00 บาท/ชม.
=
7,200.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 23,900.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
2,500.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,900.00 บาท )
1) ค่าจ้างพิมพ์เอกสาร
=
4,900.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาแรงงาน
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 18,100.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 18,100.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
22,400 แผ่น x 0.50 บาท
=
11,200.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,700.00 บาท
=
3,700.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,200.00 บาท
=
3,200.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 74,000.00 บาท