แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการบัญชีสัญจรการจัดทำงบประมาณเพื่อกำไรที่ยั่งยืน สำหรับวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางรัชนี แสงศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : อาจารย์ด้านบัญชี
ความเชี่ยวชาญ : การบัญชี
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ ประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตภาวะทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ที่เรียกว่า ?Asian Financial Crisis? ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 1997 ซึ่งทำให้เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจกันทั่วโลก โดยการล้มละลายทางเศรษฐกิจครั้งนี้ มีผลกระทบสำคัญต่อระดับเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการลดค่าเงินจากอัตราแลกเปลี่ยน ราคาหุ้นมีความผันผวน และราคาสินทรัพย์ที่ตกต่ำ ฯลฯ ซึ่งกิจการวิสาหกิจชุมชน ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน วิสาหกิจชุมชน ในประเทศไทยถือว่ามีความสำคัญ และส่งผลกระทบต่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีวิสาหกิจชุมชน เป็นจำนวนมาก ดังนี้รัฐบาลจึงให้ตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนของเศรษฐกิจวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจมหภาคระดับประเทศต่อไป รัฐบาลจึงเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าว โดยมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา ซึ่งถือเป็นโครงการทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐบาลต้องการให้มีแหล่งการจ้างงานและการกระจายรายได้ จึงมุ่งเน้นสร้างวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยด่วน กล่าวคือสร้างวิสาหกิจชุมชนที่มีความพร้อม และมีความต้องการอันแน่วแน่ที่จะสร้างธุรกิจที่เป็นของตนเองขึ้น เพราะมีความถนัดและประสบการณ์ มีความกล้าที่จะเสี่ยงต่ออุปสรรค์และการท้าทาย ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนต้องมีความรอบรู้ในทุกด้านของตนเอง และรอบรู้ธุรกิจคู่แข่งขันด้วย ส่วนความรอบรู้ในตนเองคือ มีความเข้าใจและสรรหาข้อมูลตนเองว่าเป็นอย่างไรตลอดเวลา ซึ่งปัจจัยที่ควรศึกษาและนำมาพัฒนาธุรกิจตนเองนอกจากจะสามารถวิเคราะห์ต้นทุนได้แล้วนั้น จะต้องสามารถวางแผนงบประมาณต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น งบประมาณขาย งบประมาณผลิต งบประมาณวัตถุดิบ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ งบประมาณกำไรขาดทุน ซึ่งจะทำให้แต่ละกลุ่มสามารถคาดการณ์ผลประกอบการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เกิดทักษะการวางแผนที่ก่อให้เกิดกำไรได้อย่างยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น จากที่ได้ให้บริการวิชาการแก่วิสาหกิจชุมชนในโครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชนเพื่อการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ในปีงบประมาณ 2555 พบว่า วิสาหกิจชุมชนแต่ละชุมชน ยังขาดทักษะการจัดทำงบประมาณ ไม่สามารถพยากรณ์กำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้ไม่สามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดังนั้น จากความต้องการดังกล่าว จึงทำให้คณะกรรมการโครงการเล็งเห็นถึงปัญหาที่วิสาหกิจชุมชนประสบ จึงได้กำหนดโครงการนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนในการวางแผนการดำเนินงานอย่างมีระบบ สามารถวางกลยุทธ์ในการต่อสู้กับคู่แข่งขัน และมีความมั่นใจในการประกอบการ ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนและตัดสินใจ และเพื่อเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชนร่วมกับคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งจะทำให้แก้ปัญหาในการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมั่นคง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนเห็นความสำคัญของการจัดทำงบประมาณ เพื่อการวางแผนทางการดำเนินงาน กับกำไรที่ต้องการ อย่างยั่งยืน
2.เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชน สู่ความสำเร็จและก้าวไปสู่ความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.โดยเน้นเป้าหมายกลุ่มเกษตรตำบลหนองขอน สินค้าข้าวกล้องงอก เพาะเห็ด อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี 2.โดยเน้นเป้าหมายกลุ่มเกษตรตำบลหัวเรือ สินค้าพริก และพืชผักทางการเกษตร อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1. ทำจดหมายติดต่อประสานงานและทำป้ายประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1.2. จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ เพื่อให้วิสาหกิจชุมชน ได้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำงบประมาณ ซึ่งสามารถพัฒนาวิสาหกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี สามารถวางกลยุทธ์ในการต่อสู้กับคู่แข่งขัน และมีความมั่นใจในการประกอบการ ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนและตัดสินใจ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขอรับงบประมาณ -- --- --- --- 0.00
2.เตรียมแผนงาน -- --- --- --- 5,000.00
3.ประชุมวิธีการดำเนินงาน -- --- --- --- 5,000.00
4.ติดต่อประสานงาน --- -- --- --- 3,000.00
5.ประชาสัมพันธ์ --- - --- --- 5,000.00
6.เตรียมโครงการฯ --- --- - --- 20,000.00
7.ดำเนินการ --- --- -- -- 12,000.00
8.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- -- 3,000.00
9.รายงานผล --- --- --- -- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ - รวมเวลา 0 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
09.00 – 10.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ อ. จริยา อ่อนฤทธิ์
31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
10.30 – 12.00 น. การจัดทำงบประมาณขาย ดร. ชนัญฎา สินชื่น
31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
13.00 – 14.30 น. แบ่งกลุ่มในการจัดทำงบประมาณผลิต และงบประมาณกำไร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี
31 สิงหาคม พ.ศ. 2557
14.30 – 16.00 น. วิเคราะห์งบประมาณกำไรของแต่ละกลุ่ม หาจุดบกพร่อง ให้คำแนะนำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรม(มีเวลาในการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 80 % สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดทำงบประมาณของตน หรือถ่ายความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ -สร้างรากฐานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสังคม : -เป็นการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่ชุมชน และก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มากขึ้นกว่าเดิม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา บัญชีบริหาร
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / เข้าใจและนำไปใช้ในรายวิชา • วิชาบัญชีบริหาร
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 31,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 13,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 14,900.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 7,600.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงานนักศึกษาช่วยงาน (200 บาท 8 คน 1 วัน)
=
1,600.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นผ้าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ( 3 ผืน x 1,000)
=
3,000.00 บาท
3) ค่าบำรุงรักษาสถานที่
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
2,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,700.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
=
2,700.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 55,000.00 บาท