แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.อุทัย อันพิมพ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พัฒนบูรณาการศาสตร์
ประสบการณ์ : การผลิตเห็ด การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ การขยายพันธุ์พืช การจัดการความรู้ เศรษฐกิจพอเพียง
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการความรู้เรื่องเห็ด การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน (เกษตรประณีต) เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการทรัพยากรมนุษย์
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการฟาร์มของเกษตรรายย่อยเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากสภาวการณ์การเป็นหนี้ของเกษตรกรนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมหันไปรับจ้างในเมืองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการทำฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยประสบกับภาวะต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตตกต่ำ ขายไม่ได้ราคา จึงทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ส่งผลให้กับเกษตรกรรายย่อยประสบกับความยากจน และนับวันที่จะแผ่ขยายในวงกว้างทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งทางด้านจิตลักษณะโดยมีองค์ประกอบ 7 ประการ ได้แก่ (1) จนเงิน (2) จนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) จนทางสังคม (4) จนทางการเมือง (5) จนการศึกษา (6) จนทางวัฒนธรรม และ (7) จนทางจิตวิญญาณ ไร้สิ่งยึดมั่นทางจิตใจ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม และนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานการวิจัยของอุทัย อันพิมพ์ (2554) พบว่าการที่เกษตรกรไม่สามารถที่จะรักษาอาชีพของตนให้อยู่ได้นั้นเนื่องมาจากความรู้ไม่พอใช้ เพราะในการทำฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการฟาร์มในลักษณะทำตามกันมา เกษตรกรไม่ได้ศึกษาองค์ความรู้ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการทำฟาร์มอย่างรอบด้านและไม่ครอบคลุมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างรอบด้าน จึงนับว่าเป็นความล้มเหลวของการทำฟาร์มของเกษตรกรรายย่อย แต่ก็มีอยู่บ้างที่ประสบความสำเร็จ แต่อยู่ในระดับที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมของประเทศ และเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะเป็นเกษตรกรที่มีฐานะอยู่ในระดับปานกลางที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ขึ้นไป ในขณะที่เกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนับได้ว่าเป็นเกษตรกรในระดับรากหญ้าที่มีฐานะไม่ค่อยจะสู้ดีนัก (ยากจน) ในสังคม ที่จะต้องต้องหาเช้ากินค่ำ และประกอบอาชีพการเกษตรมาอย่างยาวนาน กลับพบว่ายิ่งทำการเกษตรมากเท่าใดก็ยิ่งมีความยากจนมากยิ่งขึ้น พร้อมกับมีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เกษตรกรไม่สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นภาพที่เห็นตามสื่อต่างๆ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน จากรายงานของการวิจัยของนายแพทย์อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร, (2549) ซึ่งร่วมทำงานกับเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน และอุทัย อันพิมพ์, (2550) พบตรงกันว่า จากแนวทางการพัฒนาอาชีพการเกษตรที่ผ่านมาโดยมุ่งเน้นการผลิตแบบเชิงเดี่ยว เน้นการผลิตที่มุ่งหวังผลผลิต และกำไรมากๆ ได้ส่งผลให้เกษตรกรขาดความมั่นคงในชีวิต รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย สุดท้ายจึงทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เป็นสินเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอีกประการหนึ่งคือ กระบวนการส่งเสริมของภาครัฐ ที่พยายามให้ทั้งความรู้ทางวิชาการ และปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งส่งผลระยะยาวแบบซึมซับ สุดท้ายเกษตรกรจึงขาดความเชื่อมั่นในตนเองทั้งด้านความรู้วิชาการและภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ตนเองสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ และประสบการณ์ จากสภาพปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับสังคมอาชีพเกษตรกรรม เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน จึงมีความเห็นว่าแนวทางที่จะทำให้อาชีพเกษตรกรรมนั้นสามารถดำรงอยู่ และสามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวให้มีความสุขได้คือเกษตรกรจะต้องหันมาทำ ?เกษตรประณีต? ที่อุทัย, (2550) ได้ให้ความหมายว่า ?เกษตรประณีตเป็นกระบวนการเรียนรู้ในการทำเกษตรผสม โดยเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ ก่อน เมื่อมีความรู้และความชำนาญแล้ว จึงขยายพื้นที่ให้มากขึ้น ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของตนและครอบครัว? ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถที่จะทำให้เกษตรกรมีความยั่งยืนในอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.เสน่ห์ จามริก. (2541) ได้กล่าวว่าในการศึกษาชุมชนชนบท หรือการที่คนในชนบทจะสามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุขนั้นจะต้องประกอบด้วย 3 มิติ ได้คือ มิติที่ 1 ต้นทุนชีวิต เอาไว้เป็นฐาน พวกธรรมชาติ พวกดิน แหล่งน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ ฯลฯ ที่ใช้เป็นต้นทุนชีวิตเนื่องจากซื้อขายไม่ได้ ไม่เช่นนั้นคนหนึ่งจะตกเป็นเหยื่อของอีกคนหนึ่ง เราต้องสร้างความเข้าใจ สร้างความสำนึกให้จงได้ เราจะจัดการการเรียนรู้อย่างไร มิติที่ 2 ดุลยภาพชีวิต ต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน สุขภาพอนามัย ครอบครัว สภาพแวดล้อม ชนบทมีความสบายเรื่องอาหาร แต่ต้องมีการพัฒนาสิ่งนี้ให้ถูกสุขลักษณะสมัยใหม่ ความรู้วิทยาศาสตร์เบื้องต้นต้องรู้ และมิติที่ 3 การพัฒนาชีวิต และสังคมไปกับกระแสของโลกภายนอก คือกระแสการพัฒนาชนบท ซึ่งได้แก่ เรื่องของการแปรรูป เพิ่มมูลค่าการออม กองทุนชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่น ฯลฯ วัฒนธรรมการเรียนรู้ มีแกนกลางคือ คน ครอบครัว และชุมชน ดังนั้น คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนด้านบริหารศาสตร์ และเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีประณิธานที่ว่า ?คณะบริหารศาสตร์ รวมทุกศาสตร์ด้านการบริหาร? จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมกันในการจัดการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้มีความยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการความรู้ฟาร์มเกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชนต้นแบบเพื่อการพึ่งพาตนเอง 2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการวางแผนการผลิตการตลาด ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เป็นเยาวชน เกษตรกร นักเรียน บ้านโพธิ์ตก ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียงที่ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรม ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ รวมเงิน ไตรมาสที่ ๑ ไตรมาสที่ ๒ ไตรมาสที่ ๓ ไตรมาสที่ ๔ (บาท) ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. แผนงาน ๑.ประชุมเตรียมงานกับคณะทำงาน 2,000 ๒.ติดต่อวิทยากร 2,000 ๓.เตรียมเนื้อหา การอบรม 3,000 ๔.จัดเตรียมวัสดุ เอกสาร และสื่อในการฝึกอบรม 20,000 ๕.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5,000 ๖.รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 2,000 ๗.ฝึกอบรม 30,000 ๘.สรุปและประเมินผลโครงการ 5,000 แผนเงิน 4,000 23,000 42,000 69,000 (บอกจำนวนเงินที่มีแผนจะใช้ในแต่ละไตรมาส)

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ - รวมเวลา 0 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
08.30-17.00 น. หลักการ แนวคิด และเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการทำเกษตรประณีตเกษตรประณีต การประยุกต์ใช้ในการประกอบอาช อุทัย และคณะ ดร.สุขวิทย์ และคณะ
25 สิงหาคม พ.ศ. 2556
08.30-17.00 น. กรณีศึกษาการทำเกษตรประณีต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรประณีตกับการจัดการความรู้ด้านการผลิต และการ ธรรมวิมล และคณะ รัชนี และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด และเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการทำเกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น 2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ด้านการทำเกษตรประณีตไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพได้
ด้านสังคม : 1. สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับประชาชนทั่วไป 2. ได้เครือข่ายการเรียนรู้เกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสารเคมีมากขึ้น 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ในเรื่องของการอนุรักษ์ป่า และการใช้ประโยชน์จากป่าโดยการปลูกป่าปลูกเห็ดมากขึ้น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1,380

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาสหวิทยาการการพัฒนาสังคมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง
หลักสูตร ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเศรษฐกิจพอเพียง
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน กระบวนทำงานกับชุมชน และการพัฒนาอาชีพในชุมชน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด 10 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 15,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 24,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,600.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสถานที่
=
2,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารพร้อมเข้าเล่ม (60 เล่มx60 บาท)
=
3,600.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงาน (200 x 6 คน x 2 วัน)
=
2,400.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 26,050.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 26,050.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,500.00 บาท
=
2,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 341.00 บาท
=
17,050.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 3,450.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 0 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 3450 บาท
=
3,450.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 69,000.00 บาท