แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2555
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ มรดกร่วมทางวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ในฐานะเครื่องมือที่ใช้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ไทย และ ลาว
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ยังไม่ได้เพิ่มผู้รับผิดชอบโครงการselect * from response_data rd,user_data ud,education ed,user_tname ut,resp_type rt where (rd.user_id=ud.user_id) and (rd.resp_type_id=rt.resp_type_id) and (ud.tname_id=ut.tname_id) and (ud.edu_id=ed.edu_id) and rd.pro_id=36 order by rd.resp_type_id

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป. ลาว ทำให้มหาวิทยาลัยเห็นความจำเป็นของการสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความร่วมมือและความเข้าใจอันดีต่อกัน ประเทศไทยและ สปป.ลาว มีความสัมพันธ์กันมานับแต่อดีต ด้วยเหตุที่เป็นประเทศที่ไม่เพียงแต่มีพรมแดนติดกันเท่านั้น หากยังเป็นประเทศที่มีความคล้ายคลึงกันทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอาณาบริเวณพื้นที่ชายแดน (Borderland) ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีวัฒนธรรมหรือวิถีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษา ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมดังกล่าวดำรงอยู่มาเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งเมื่อช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ได้เกิดมีการกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้น คือ กรอบความคิดของความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ (modern nation state) โดยเน้นขอบเขตและดินแดนที่ชัดเจน รวมทั้งการปกครองที่เป็นเอกภาพในดินแดน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงส่งผลให้ดินแดนบริเวณนี้ช่วงที่ถูกลัทธิจักรวรรดินิยมครอบงำ มีการกำหนดเขตแดนและตั้งเป็นอาณาจักรของตนขึ้นมา แม้กระนั้นก็ตาม การก่อตั้งรัฐชาติขึ้นในนามไทย และลาว จะมีเส้นเขตแดนเป็นเครื่องบ่งชี้ แต่สิ่งที่ผูกพันกันมายาวนานจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยเส้นเขตแดนก็คือการมีวัฒนธรรมร่วมกันมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ซึ่งการมีวัฒนธรรมร่วมกันเหล่านี้ ยังคงดำรงภาพเป็นมรดกให้หลงเหลืออยู่ ด้วยเหตุนี้ การที่รัฐบาลไทย ได้ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการจัดทำโครงการบัวแก้วสัมพันธ์ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การดูแลของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และการจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือในกรณีของกระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็จัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง สปป.ลาว ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ทั้งทางกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศก็สนับสนุนองค์กรและหน่วยงานที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว อาทิ สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ, สมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพ และ ศูนย์ข้อมูลลาว มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขณะที่ทาง สกอ. ก็ให้ความสำคัญแก่ประเทศ สปป.ลาว เช่นกัน ในส่วนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับ สปป.ลาว นั้น ก็ได้ให้ความสำคัญทั้งในแง่ของการจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาภาษาลาว การให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรจาก สปป.ลาว มาศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก การจัดส่งนักศึกษาและคณาจารย์แลกเปลี่ยน ตลอดจนให้ความความสนับสนุนเชิงวิชาการ เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิจัยและทำความเข้าใจวัฒนธรรมร่วมโดยนักวิชาการไทยและลาว ไม่ว่าจะเป็นตำนาน นิทาน ระบบความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ดนตรีและการละเล่น ตลอดจนแนวทางในการจัดการทรัพยากรและการดำเนินชีวิตทั่วไปที่มีลักษณะร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงถึงกันในด้านต่าง ๆ ของคนในพื้นที่ทั้งสองฝั่ง ที่ก่อให้เกิดสำนึกร่วม (collective consciousness) ทั้งนี้เพื่อผู้กำหนดนโยบายส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ในพื้นที่และประชาชนในท้องถิ่นจะได้ทราบข้อเท็จจริง นอกเหนือจากการมองทางด้านความมั่นคงและทางการค้าเพียงอย่างเดียว ยิ่งไปกว่านั้น ผลจากการศึกษาอาจจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอาศัยการมีจุดร่วมทางวัฒนธรรมเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การสืบสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมร่วมไว้ก่อนที่จะผิดเพี้ยนหรือสูญหาย เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารหรือที่เรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) การรับรู้และการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธะหว่างนักวิชาการไทยกับนักวิชาการลาว อันจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับสปป.ลาว

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนางานวิจัยร่วมระหว่างไทย และ สปป. ลาว
2.เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยระหว่างไทย และ สปป. ลาว
3.เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักวิจัย นักศึกษา ผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ประชุม สัมมนา ระดมความคิดเห็น

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2554
2555
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง, สำรวจเอกสาร, ติดต่อหน่วยงานในพื้นที่ - --- --- --- 500.00
2.ประชุมคณะวิจัยเพื่อสรุปกรอบแนวคิด, วางแผนงาน, สร้างเครื่องมือวิจัย -- --- --- --- 2,500.00
3.เก็บข้อมูลสนาม --- --- --- 12,500.00
4.วิเคราะห์ข้อมูล --- --- 65,840.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รวมเวลา 5 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
08.00 น. - 08.30 น. ลงทะเบียน -
19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
09.00 น - 12.00 น. บรรยายพิเศษ สาวิตรี สาริกา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
250
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
50
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
45
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา
หลักสูตร
นักศึกษาชั้นปี :
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 3,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 3,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 14,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 5,500.00 บาท )
1) จ้างเหมาออกแบบเอกสาร
=
2,500.00 บาท
2) จ้างเหมาจัดนิทรรศการ
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 58,125.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 58,125.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
250 แผ่น x 0.50 บาท
=
125.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
10 คน x 5,000.00 บาท
=
50,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 450.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 150 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
450.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 0 บาท
=
0.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 76,675.00 บาท