แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ชุมชนกับรูปแบบการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยตองแวด บ้านโพธิ์ตก ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวญาเรศ อัครพัฒนานุกูล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ปรัชญาการเมือง การเมืองไทยสมัยใหม่
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเพียงกมล มานะรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การปกครอง
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองท้องถิ่น และ นโยบายสาธารณะ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศิริพร ยศมูล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การคลังท้องถิ่นนโยบายสาธารณะการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
นายเอกราช บุญเริง คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนชนบทที่มีการตั้งถิ่นฐานตามสายน้ำและลำห้วยนั้น ต่างมีความเชื่อที่เหมือนกันว่า สายน้ำเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต ประโยชน์ของสายน้ำนอกเหนือจากการดื่มกิน และชะล้างในชีวิตประจำวันแล้ว ยังใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน ทำการเพาะปลูก จับปลาและสัตว์น้ำเพื่อบริโภค ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อและวัฒนธรรมของชุมชนริมสายน้ำ สายน้ำและลำห้วยจึงเป็น ?ประดุจโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนตามริมน้ำ? แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสายน้ำกับชุมชนดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงเมื่อการพัฒนาเพื่อสร้างความเป็นเมืองได้คืบคลานและเข้าแทนที่สังคมชนบท สายน้ำและลำห้วยหลายสายต้องกลายเป็นพื้นที่รองรับน้ำเสียจากกิจกรรมประจำวันของผู้คนที่เพิ่มปริมาณขึ้น จากที่พักอาศัย โรงงานและธุรกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของพื้นที่เมือง ชุมชนหลายแห่งมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินจากสายน้ำ ด้วยเหตุผล ประการแรก วิถีชีวิตที่เปลี่ยนสู่เมือง นำไปสู่รูปแบบการทำมาหากินที่ห่างไกลจากลำห้วยและสายน้ำ เหตุผลที่สองคือ ลำห้วยและสายน้ำกลายเป็นน้ำที่ปนเปื้อน เน่าเสียจากชุมชน จนชุมชนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ กลายเป็นแหล่งมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน น้ำเสียจากชุมชนที่กลายเป็นชุมชนเมืองจึงกลายเป็นปัญหาสำคัญ ห้วยตองแวดนั้น เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ไหลผ่านหลายหมู่บ้าน ไหลมาจากบ้านศรีษะกระบือ ตำบลคูเมือง ผ่านบ้านศรีไค บ้านแมด ตำบลเมืองศรีไค บ้านบ้งมั่ง บ้านลิ้นไม้ บ้านโพธิ์ตก บ้านโพธิ์ออก ตำบลโพธิ์ใหญ่ การใช้ประโยชน์จากห้วยตองแวดของแต่ละหมู่บ้านตั้งแต่บ้านศรีไคเหมือนกันโดยแต่ละหมู่บ้านมีการสร้างฝายกักน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ประโยชน์ในชุมชนของตนเองตลอดทั้งปี ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี แต่ละชุมชนจะมีประเพณีลงจับปลาในห้วยตองแวดเพื่อหารายได้เข้าชุมชน แม้ห้วยตองแวดจะมีความอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลงมาก หาปลาได้ยากขึ้น แต่ประเพณีดังกล่าวของทุกชุมชนของตำบลโพธิ์ใหญ่ และเทศบาลตำบลเมืองศรีไคยังสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากประเพณีดังกล่าว บ้านโพธิ์ตกยังมีประเพณีที่สำคัญในช่วงเดือนมีนาคม คือการนิมนต์พระไปฉันเพลริมห้วย โดยชาวบ้านจะร่วมกันไปลงหาปลาในลำห้วยและนำมาประกอบอาหารถวายเพลและรับประทานอาหารริมห้วยร่วมกัน ชุมชนโพธิ์ตก ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบล เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ลำห้วยตองแวด ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ต้องกลายเป็นพื้นที่รองรับน้ำเสียจากชุมชนและประสบปัญหามลภาวะเนื่องจากการพัฒนาและการขยายตัวของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน ชุมชนบ้านโพธิ์ตก ได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน จะเห็นได้จากการศึกษาและสำรวจของ ปิยะนุช สิงห์แก้ว (2550) ถึงผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของการตั้งมหาวิทยาลัยใกล้ชุมชน โดยเลือกศึกษาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่า นับแต่มีการตั้งมหาวิทยาลัย ชุมชนรายล้อมได้พัฒนาสู่ความเป็นเมือง เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ได้แก่ปัญหาการส่งเสียงดังเนื่องจากการดื่มสุราของนักศึกษา และปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดจากเจ้าของหอพักซึ่งข้อมูลจากการสำรวจหอพัก บ้านพัก ห้องเช่ามีจำนวนกว่า 33 แห่งรวมห้องพักมากกว่า 500 ห้อง ได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่ถนนในชุมชนซึ่งมีตั้งแต่น้ำใช้ น้ำอาบ จนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและส่งกลิ่นเหม็นแก่ชาวบ้านที่อยู่ติดกับหอพัก (ปิยะนุช สิงห์แก้ว: 2550) ดังนั้น น้ำเสียจากชุมชนรอบมหาวิทยาลัยจึงไหลลงสู่ผิวดินและแหล่งน้ำธรรมชาติห้วยตองแวด ซึ่งเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยและชุมชนที่อยู่รายล้อมมหาวิทยาลัยในเขตเทศบาลเมืองศรีไค องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ และอีกหลายชุมชนจนถึงปากลำน้ำโดม นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจุบันปริมาณหอพักและธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีตามจำนวนประชากรนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบต่อมลภาวะ การปนเปื้อนและคุณภาพของน้ำใต้ดินที่ไหลลงสู่ลำห้วยตองแวด เนื่องจากยังไม่มีการจัดระบบการจัดการน้ำเสียจากหอพักและธุรกิจต่างๆ ที่อยู่รายล้อมชุมชนรอบมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ชุมชนโพธิ์ตกได้พยายามแก้ไขปัญหาสภาพลำห้วยตองแวดด้วยการ ร้องเรียนไปยังฝ่ายปกครอง เทศบาลศรีไค องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึงกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการตอบรับต่อการแก้ปัญหาจากหน่วยงานที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ส่วนเทศบาลศรีไคได้จัดสรรงบสำหรับการขุดลอกคลองห้วยตองแวด องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ได้ให้งบประมาณทำฝายกั้นน้ำ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้แจ้งต่อข้อร้องเรียนว่าน้ำเสียที่ปนเปื้อนในลำห้วยตองแวด ไม่ได้เป็นน้ำเสียที่มาจากมหาวิทยาลัยเนื่องจากมีบ่อบำบัดน้ำเสียแล้ว ส่วนกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับการตอบรับผลของการตรวจสภาพน้ำ จึงยังไม่สามารถเห็นผลเชิงรูปธรรมของการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในลำห้วยตองแวด จากสภาพปัญหาและสถานการณ์มลภาวะน้ำเสียที่ถูกปล่อยลงในลำห้วยตองแวด รวมถึงการปนเปื้อนสารเคมีจากน้ำเสียในชุมชนที่แทรกซึมลงสู่น้ำใต้ดินและไหลลงสู่ลำห้วยตองแวด จนกลายเป็นปัญหาคุณภาพน้ำ จึงมีความรุนแรงมากขึ้น ผนวกกับความตระหนักของผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มผู้นำชุมชนที่เห็นว่า ?ลำห้วยตองแวดเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านมากถึง 12 หมู่บ้าน ถ้าไม่มีใครลุกขึ้นมาเป็นตัวตั้งตัวตีในการแก้ปัญหา สักวันหนึ่งจะไม่มีใครรู้จักห้วยตองแวด เด็กๆและเยาวชนจะไม่รู้จักห้วยตองแวด ไม่เห็นความสำคัญ และสุดท้ายคือห้วยตองแวดจะถูกทิ้งให้เป็นห้วยเน่าและไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป? จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุกหน่วยงานและทุกฝ่ายต้องหันมาให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหา ทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชนและสมาชิกในชุมชน ฉะนั้นจึงเห็นควรเสนอให้มีโครงการชุมชนกับรูปแบบการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยตองแวด บ้านโพธิ์ตก ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชนในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยคลองแวดอันจะนำไปสู่การสร้างสุขภาวะให้กับชุมชนในที่สุด

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้และแนวทางในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยตองแวด บ้านโพธิ์ตก ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่บ้านโพธิ์ตก ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ยังไม่ได้กรอกกิจกรรมและวิธีดำเนินการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. 63,700.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ - รวมเวลา 0 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และแนวทางในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยตองแวด บ้านโพธิ์ตก ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
75
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สังคมวิทยากับการพัฒนาชนบท
หลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในหัวข้อเกี่ยวกับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ร้อยละ 50
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 0.00 บาท