แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและแป้งข้าว
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.จินดามณี แสงกาญจนวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักอันดับหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งเขตภูมิภาคอีสานใต้ และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย หากแต่ยังประสบปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตต่ำ คุณภาพการเก็บรักษา และการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) แม้ว่าจะมีการรวมกลุ่มของกลุ่มชุมชนและผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อลดปัญหาข้างต้น แต่กลับพบปัญหาใหม่ที่ตามมาคือผลิตภัณฑ์มีคุณภาพไม่ดี รูปแบบผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามความต้องการของตลาด การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการบรรจุที่ไม่เหมาะสม ทำให้อายุการเก็บรักษาต่ำ หรือขาดรูปลักษณ์ที่เหมาะสมในแง่การตลาด อีกทั้งกลุ่มยังขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการตลาด ทำให้เกิดปัญหาว่า ?ผลิตได้แต่ขายไม่ได้? โครงการบริการวิชาการการฝึกอบรมการแปรรูป การตลาด และบรรจุภัณฑ์ เพื่อพัฒนากลุ่มและผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว จึงมุ่งถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปข้าวที่ได้จากการเรียนการสอนและการวิจัยของคณาจารย์ในสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งรวมถึงการใช้ข้าว แป้งข้าว และวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านจากข้าว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่คู่สังคมและวัฒนธรรมไทยมาช้านาน (เช่น ก๋วยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยว หรือแผ่นเมี่ยง) ให้มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและแป้งข้าว จนสามารถใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ หรือนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือของกลุ่มต่อไป นอกจากนั้น จะมีการให้ความรู้และทักษะด้านการตลาดและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ได้รับคำแนะนำแบบรายกลุ่มหรือรายบุคคล ได้รับความช่วยเหลือด้านบรรจุภัณฑ์ในแง่ข้อมูลและการออกแบบกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จนมีต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมนำไปจัดทำบรรจุภัณฑ์ทางการค้าได้ อีกทั้งจะมีการติดตามผล เพื่อจัดกิจกรรมที่สอดคล้องต่อเนื่องไปตลอดระยะเวลาสามปี ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มมีศักยภาพด้านการตลาด และสามารถทำให้กลุ่ม/ผู้ประกอบการเกิดรายได้เพิ่มที่สามารถวัดได้อย่างชัดเจน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและแป้งข้าว
2.เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์จากข้าว และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากข้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการตลาด ตลอดจนเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและช่องทางจำหน่ายสินค้า
3.เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งด้านอาชีพของชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและแป้งข้าว

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.กลุ่มชุมชนและผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ 2.เจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตรและเจ้าหน้าที่พัฒนากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการแปรรูปข้าว หรือรับผิดชอบพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวหรือแปรรูปข้าวเป็นหลัก หมายเหตุ: กลุ่มชุมชน เช่น กลุ่มชุมชนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรี และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1 ประสานงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อประสานข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์แบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย - รายชื่อกลุ่มชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีศักยภาพ - รายชื่อเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตรและเจ้าหน้าที่พัฒนากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการแปรรูปข้าว หรือรับผิดชอบพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวหรือแปรรูปข้าวเป็นหลัก 2 ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ 3 จัดทำแผนงานที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 4 ดำเนินการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยีด้านการแปรรูป การตลาด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 5 ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทุกกลุ่มจะได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องด้านการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการให้คำแนะนำด้านการตลาด 5.1 การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์: โดยการติดตามผลหลังการฝึกอบรมด้านการแปรรูป 5.2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์: โดยการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการบรรจุที่เหมาะสมเพื่อยืดอายุด้านการเก็บรักษา การตรวจสอบข้อมูลการพิมพ์ให้มีความถูกต้องและสอดคล้องในแง่กฎหมาย การออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ตลอดจนพัฒนาเป็นต้นแบบที่พร้อมนำไปผลิตบรรจุภัณฑ์ทางการค้าได้ 5.3 การจัด/สนับสนุนกิจกรรมด้านการตลาด 6 มีการดำเนินการติดตามผลเป็นระยะ เพื่อรับทราบปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - --- --- --- 1,000.00
2.การประชาสัมพันธ์โครงการ - --- --- --- 7,000.00
3.การรับสมัคร และหาความต้องการ --- --- --- 2,000.00
4.การอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- -- --- 88,000.00
5.กิจกรรมออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ --- --- - --- 6,000.00
6.การจัด/สนับสนุนกิจกรรมการตลาด --- --- - -- 6,000.00
7.การติดตามประเมินผลโครงการ --- --- - - 15,000.00
8.สรุปผลโครงการ --- --- --- - 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556 - 26 เมษายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
10.00-12.00 น. บรรยายความรู้ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว และกิจกรรมกลุ่มย่อย อาจารย์ชวพจน์ ศุภสาร (สาขาการตลาด คณะบริหารศาสตร์)
0 พ.ศ. 543
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน -
0 พ.ศ. 543
13.00-13.30 น. บรรยายความรู้ด้านการเลือกใช้วัสดุและเทคโนโลยีบรรจุที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวและแป้งข้าว ดร.วีรเวทย์ อุทโธ (สาขาอุตสาหกรรมเกษตร)
0 พ.ศ. 543
13.30-16.00 น. บรรยายความรู้ด้านการออกแบบกราฟิก โดยเน้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว และกิจกรรมฝึกหัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ อาจารย์ปิยนันท์ กรินรักษ์ (สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ)
25 เมษายน พ.ศ. 2556
9.00-16.00 น. แบ่งกลุ่มย่อย เวียนเข้าฝึกอบรมใน 4 สถานี ใช้เวลาสถานีละ 1.5 ชั่วโมง (แต่ละสถานีมีวิทยากรประจำ 1 คน) สถานี 1: ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด สถานี 2: อ.เมทินี มาเวียง สถานี 3: ดร.อภิญญา เอกพงษ์ สถานี 4: ดร.จ
26 เมษายน พ.ศ. 2556
09.00-10.00 น. บรรยายประโยชน์ของข้าวในแง่สุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวผลิตภั ดร.จินดามณี แสงกาญจนวนิช (สาขาอุตสาหกรรมเกษตร)

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ชุมชนมีความมั่นคงด้านอาชีพ มีรายได้เสริมหรือมีรายได้เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ผู้เข้าร่วมเกิดการสร้างงานในชุมชน ผู้ร่วมโครงการเกิดอาชีพเสริม กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ใหม่หรือสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปเดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด สามารถแก้ไขปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และการตลาดของผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ทำให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการสร้างมูลค่าให้ผลผลิตข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่สุดของพื้นที่เป้าหมายของโครงการ
ด้านสังคม : กลุ่ม/ผู้ร่วมโครงการสามารถนำความรู้และทักษะด้านการแปรรูป การตลาด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไปประยุกต์ใช้ในอาชีพเดิมหรือเป็นอาชีพเสริม มีการสร้างงานในชุมชน ทำให้ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : มีการใช้ผลผลิตข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของเขตพื้นที่อีสานใต้ รวมทั้งทรัพยากร วัตถุดิบ และผลผลิตท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์มากขึ้น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้ร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้(เฉลี่ย)5%

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1205 413 หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีบทเรียนที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 1 ชิ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,120.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 12,120.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 16 คน
=
9,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,520.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,520.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 52,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 4,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 27,800.00 บาท )
1) ค่าจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม (40 เล่ม X 215 บาท)
=
8,600.00 บาท
2) ค่าจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลภาคสนามในการติดตามประเมินผล
=
9,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและผลิตต้นแบบบรรจุภัณฑ์
=
6,000.00 บาท
5) ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ
=
1,200.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 43,880.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 42,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
4,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
40 คน x 600.00 บาท
=
24,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 1,880.00 บาท )
1) ค่าวัสดุการเกษตร
=
1,880.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 126,000.00 บาท