แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมครูประวัติศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาครั้งที่ 2 "การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น"
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : โครงการพัฒนาการเรียนรู้รากฐานทางวัฒนธรรมชุมชนแก่โรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายมิตต ทรัพย์ผุด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ประวัติศาสตร์
ประสบการณ์ : (1) วิทยากรอบรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (2) การวิจัยทางด้านระเบียบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ะวันตกคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 (3) การวิจัยประวัติศาสตร์สังคมเมืองภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสมัยอาณานิคม
ความเชี่ยวชาญ : (1) ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 (2) ประวัติศาสตร์สังคมเมืองภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในฐานะเป็นหน่วยย่อยของสังคม การรู้จักตนเอง พัฒนาการของชุมชนตนเอง และการขยายตัวของเมืองที่ตนเองเป็นสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนและเหมาะสมกับสังคมของตนเอง ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้มีหลักสูตรท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีพันธกิจสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมเพื่อสร้างให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีความเข้มแข็งยั่งยืน ปัจจุบันแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ ในขั้นตอนกระบวนการวิจัยสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นนั้น แต่เดิมนั้นจะต้องอาศัยผู้วิจัยที่มีความสามารถสูงทางด้านระเบียบวิธีวิจัยเป็นศูนย์กลางการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนถึงการเรียบเรียงรายงานการวิจัย ในขณะที่ปัจจุบันการวิจัยทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในทุกขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยสมาชิกของชุมชนนั้นเป็นทั้งผู้รวบรวมหลักฐานที่หลากหลายมากกว่าหลักฐานลายลักษณ์ และมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้ เมื่อได้ข้อสรุปการวิจัยแล้ว สมาชิกของชุมชนก็จะเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลการวิจัยนั้นให้สมาชิกคนอื่นๆในชุมชนได้ทราบและเข้าใจ ดังนั้น การที่หลักสูตรสาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มีความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเทคนิควิธีการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม (participatory local history methods) ให้แก่โรงเรียน ชุมชน และเมืองในเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบจึงถือว่ามีความสำคัญยิ่ง ผลที่ได้จากการอบรมปฏิบัติการการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะทำให้สังคมในทุกระดับรู้จักตนเองและสามารถกำหนดแนวทางการการพัฒนาสังคมของตนอย่างมีประสิทธิภาพ ในเวลาเดียวกันก็สามารถสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางปัญญาระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน และสังคม

วัตถุประสงค์
1.เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.เพื่อถ่ายทอดเทคนิควิธีการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบส่งเสริมผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
(1) ครู อาจารย์ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) คณาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (3) ผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
(1)วางแผนจัดกิจกรรมการ (2)ประชาสัมพันธ์โครงการ (3)จัดเตรียมเอกสารอบรม (4)จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (5)สรุปและประเมินโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผนกิจกรรม -- - --- --- 10,000.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ --- - --- 5,000.00
3.จัดเตรียมเอกสารอบรม --- --- --- 20,000.00
4.จัดอมรมเชิงปฏิบัติการ --- --- --- -- 50,000.00
5.สรุปและประเมินโครงการ --- --- --- -- 6,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
08.00-09.00 ลงทะเบียนและพิธีเปิด -
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
16.00-16.30 สรุปการเรียนรู้ “แนวทางการวิเคราะห์และการตีความหลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: หลักฐานลายลักษณ์” อาจารย์ ดร.สมศรี ชัยวณิชยา
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
13.00-16.00 ผู้เข้าร่วมอบรมแบ่งกลุ่มปฏิบัติการ “การวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีสาน: หลักฐานลายลักษณ์” คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
11.00-12.00 บรรยาย “หลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: หลักฐานลายลักษณ์” อาจารย์ ดร.สมศรี ชัยวณิชยา
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
10.00-11.00 บรรยาย “ความหลากหลายในการเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: แนวทาง หลักฐาน ประเด็นปัญหา” อาจารย์ ดร.สมศรี ชัยวณิชยา
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
09.00-10.00 บรรยาย “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคืออะไรและเพื่ออะไร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา ซาฮีร์
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
16.00-16.30 สรุปการเรียนรู้ “แนวทางการวิเคราะห์และการตีความหลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: หลักฐานโบราณคดี หลักฐาน อาจารย์ ดร.เมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ อาจารย์อภินันท์ สงเคราะห์ และอาจารย์มิตต ทรัพย์ผุด
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
13.00-16.00 ผู้เข้าร่วมอบรมแบ่งกลุ่มปฏิบัติการ “การวิเคราะห์หลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีสาน: หลักฐานโบราณคดี ห คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน -
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
11.00-12.00 บรรยาย “หลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: หลักฐานรูปภาพ” อาจารย์มิตต ทรัพย์ผุด
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
10.00-11.00 บรรยาย “หลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: หลักฐานศิลปกรรมในอีสาน” อาจารย์อภินันท์ สงเคราะห์
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
09.00-10.00 บรรยาย “หลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: หลักฐานโบราณคดีในอีสาน” อาจารย์ ดร.เมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
08.00-09.00 ลงทะเบียนและรับเอกสารเพิ่มเติม -
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
13.00-16.00 ผู้เข้าร่วมอบรมแบ่งกลุ่มปฏิบัติการ “การใช้หลักฐานหลากหลายในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบผู้ คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
11.00-12.00 บรรยาย “แนวทางการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม” อาจารย์จักรพันธ์ แสงทอง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
10.00-11.00 บรรยาย “การใช้หลักฐานภาพยนตร์และโทรทัศน์ในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนันท์ธนา เมธานนท์
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
09.00-10.00 บรรยาย “การใช้หลักฐานบอกเล่าในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา ซาฮีร์
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
08.00-09.00 ลงทะเบียนและรับเอกสาร -
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
16.00-16.30 ปิดการอบรมและพิธีมอบประกาศนียบัตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : – ผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งประกอบด้วยครูอาจารย์และนักศึกษาจะเป็นผู้นำความรู้การเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปถ่ายทอดต่อให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และนักเรียนก็จะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง โดยทำงานด้านข้อมูลในชุมชนของตนเอง และจะนำมาซึ่งความรู้ความเข้าสังคมตนเองและกานสร้างเครือข่ายการพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไป
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-อบรมให้กับผู้แทนครูอาจารย์โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้นำไปถ่ายถอดวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้กับครูอาจารย์ผู้รับผิดชอบสอนรายวิชาประวัติศาสตร์เพื่อขยายผลการเรียนรู้ต่อไป

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1432 210 ปรัชญาและระเบียบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์
หลักสูตร สาขาวิชาประวัติศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 2-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน -ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น -ร้อยละ 80 ของนักศึกษาสามารถสอบผ่านในรายวิชา -ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ -นักศึกษาสามารถนำเสนอโครงการวิจัยของที่ได้จากการบริการวิชาการ 5 โครงการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 29,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 9 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 18,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
10,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 57,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 11,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำสำเนาเอกสารอบรมเล่มละ 110 บาท x 100 เล่ม
=
11,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 3,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 3,400.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,400.00 บาท
=
3,400.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 600.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 200 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
600.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 0 บาท
=
0.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 91,000.00 บาท