แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาการออกแบบผ้าทอพื้นถิ่นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โรงเรียนชุมชนบ้านระเว ครั้งที่ 2
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายประกาศิต แก้วรากมุข คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาขาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น
หัวหน้าโครงการ
นางสาวเทพิญ แก้ววรสูตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ออกแบบผลิตภัณฑ์
ประสบการณ์ : สอนและวิจัยด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เปิดการเรียนการสอนในวิชาการออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น ซึ่งอยู่ในแขนงวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาการศึกษาสู่สังคมและชุมชนรวมถึงการพัฒนาความรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เช่น การพัฒนางานจักสาน งานเซรามิก รวมทั้งการทอผ้าซึ่งเป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่ได้สืบสานมาจากรุ่นปู่ย่า จนพัฒนามาเป็นอาชีพของชุมชนในปัจจุบัน ในเบื้องต้นของการดำเนินโครงการบริการวิชาการ ทางคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบได้สำรวจโรงเรียนระดับมัธยมในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลจากการสอบถามและการเยี่ยมชมการเรียนการสอนในโรงเรียนดังกล่าวพบว่า หลายโรงเรียนได้มีการจัดทำหลักสูตรที่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาการเรียนการสอนในวิชาชีพอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนด้านการทอผ้าโดยมีกลุ่มทอผ้าในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นผู้สอนในโรงเรียนอันเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และสืบสานภูมิปัญญาทอผ้าให้กับเยาวชน จากการสอบถามแนวทางในการจัดการเรียนการสอนทอผ้าในโรงเรียนเหล่านี้ได้ทำให้ผู้จัดทำโครงการพบความต้องการที่จะพัฒนาการสอนทอผ้าโดยการเสริมความรู้ทางด้านการออกแบบลายผ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียน เนื่องจากกระบวนการออกแบบลายผ้าเป็นแนวทางที่จะช่วยให้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ลายผ้าใหม่ๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำได้รวดเร็วมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบจึงมีแนวคิดในการจัดการอบรมทางด้านการออกแบบลายผ้าด้วยคอมพิวเตอร์ให้กับครูและนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สอนทอผ้า เพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดความรู้จากครูสู่เยาวชนอันเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้า และร่วมสร้างแนวทางในการพัฒนาภูมิปัญญาหรือศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทชุมชนในปัจจุบัน อีกทั้งการอบรมการออกแบบลายผ้าทอมือจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้ครูนำไปปลูกฝังเยาวชนให้เกิดความรักหวงแหนและความภูมิใจในวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวิถีวัฒนธรรมของตนเองส่วนตัวนักเรียนจะได้นำความรู้ทางด้านการออกแบบไปใช้เพื่อพัฒนาการทอผ้าในชุมชนของตน

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบลายผ้าทอมือให้กับครูและนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สอนทอผ้า 2. มุ่งเน้นส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ผ่านครูสู่เยาวชน สร้างการตระหนักถึงคุณค่า ความงามของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและร่วมหาแนวทางในการต่อยอดภูมิปัญญาการทอผ้า 3. เพื่อใช้ความรู้ในการออกแบบลายผ้าด้วยคอมพิวเตอร์สร้างแนวทางในการพัฒนาการออกแบบและ4. การผลิตผ้าทอมือในชุมชนให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมในปัจจุบัน พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน 5. โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนชุมชนบ้านระเว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีการสอนความรู้พื้นฐานด้านการทอผ้าในโรงเรียน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
20 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
อบรมเชิงปฏิบัติการด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. การศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารและแผนการจัดอบรม 2. กำหนดการประชุมเพื่อพัฒนากระบวนการฝึกอบรมและซักซ้อมการดำเนินการ 3. การติดต่อประสานงานเพื่อแจ้งกา - - 100,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 360 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
08.30-16.30 ลงทะเบียนและเปิดการอบรม พัก 15 นาที บรรยาย “การออกแบบลายผ้า” บรรยาย “การออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ” อาจารย์ กัญญา จึงวิมุติพันธ์ อาจารย์ประกาศิต แก้วรากมุข อาจารย์เทพิญ แก้ววรสูตร
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
08.30-16.30 ลงทะเบียน ปฏิบัติการออกแบบลายผ้าด้วยคอมพิวเตอร์ - ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างงาน - ฝึกปฏ อาจารย์เทพิญ แก้ววรสูตร นางสาวนันทพร ทาสระคู

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ครูและเยาวชน ตระหนักถึงคุณค่า ความงามของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและนำความรู้ด้านการออกแบบมาใช้ในการพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าในชุมชนให้มีความเหมาะสมกับสภาวะของสังคมในยุคปัจจุบัน ได้พัฒนานำความรู้จากการอบรมเพื่อบูรณาการในการเรียนการสอนการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอในระดับอุดมศึกษาและปรับกระบวนการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องกับการเรียนในระดับมัธยมศึกษา
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : ได้เผยแพร่ความรู้วิชาการด้านการออกแบบที่เชื่อมโยงกับการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
20
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
60
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
60
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
60

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา การออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น
หลักสูตร หลักสูตร ศิลปประยุกต์ บัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำผลที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้เพื่อการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรรวมทั้งเตรียมความพร้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้มีทักษะที่ช่วยเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 35,280.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 25,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 10,080.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,080.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
10,080.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 26,360.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 15,760.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 200.00 บาท
=
1,200.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 8,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 11 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
8,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 5,760.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
5,760.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 1,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 24,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 16,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
20 คน x 300.00 บาท
=
6,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าเช่าห้องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ 2 วัน
=
8,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 1,018.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 6 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
18.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 1000 บาท
=
1,000.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 87,158.00 บาท