แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการจัดการและการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัสดุเหลือใช้
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ยังไม่ได้เพิ่มผู้รับผิดชอบโครงการselect * from response_data rd,user_data ud,education ed,user_tname ut,resp_type rt where (rd.user_id=ud.user_id) and (rd.resp_type_id=rt.resp_type_id) and (ud.tname_id=ut.tname_id) and (ud.edu_id=ed.edu_id) and rd.pro_id=424 order by rd.resp_type_id

หลักการและเหตุผล
หมู่บ้านเรียงแถวใต้ ตำบลนิคมลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราธานี เป็นหมู่บ้านขนาด ๓๑๕ หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๑๑๖๖ คน ประชากรชาย ๕๐๒ คน และ หญิง ๖๖๔ คนสมาชิกชุมชนประกอบอาชีพหลัก คือ ค้าขาย เกษตรกรรม ประมง และ เลี้ยงสัตว์ และทุกครอบครัวประกอบอาชีพเสริมจึงนำมาสู่การจัดตั้งกลุ่มอาชีพของหมู่บ้านภายใต้ชื่อ ?วิสาหกิจชุมชน? โดยกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ซากไม้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มแรกเมื่อปี ๒๕๔๗ และเริ่มมีการดำเนินการเป็นตัวอย่างแก่กลุ่มอาชีพเสริมอื่น เมื่อปี ๒๕๕๒ กลุ่มอาชีพที่เกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจายมีการรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ตามการแนะนำของพัฒนาการอำเภอ มีการกำหนดระเบียบปฎิบัติของกลุ่ม ระบบสมาชิก การลงหุ้น การออมเงิน และกิจกรรมที่กำหนดขึ้นตามความเห็นของสมาชิก ปัจจุบันมีกลุ่มอาชีพทั้งหมด ๑๐ กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มขนมไทย(ขนมหวาน) กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มเลี้ยงปลาบู่ กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ซากไม้ กลุ่มน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มถนอมอาหาร กลุ่มปลูกผักสวนครัว กลุ่มปลาซิวแก้วตากแห้ง และกลุ่มน้ำยาล้างจาน สมาชิกสามารถเลือกกลุ่มตามความสมัครใจและสามารถเป็นสมาชิกได้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม จากการสอบถามกับสมาชิกชุมชนพบว่าการประกอบอาชีพเสริมสามารถสร้างรายได้สูงเทียบเท่ากับรายได้หลักทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการประชุมร่วมกับแกนนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และประธานกลุ่มอาชีพ ร่วมกันทบทวนวิเคราะห์ องค์ประกอบชุมชนและการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าจุดเด่นของชุมชนคือการมีวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยในการผลิตอย่างเพียงพอ สมาชิกชุมชนมีทักษะและฝีมือ มีทำเลที่ตั้งของชุมชนอยู่บนเส้นทางหลักที่เป็นทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยว เช่น เขื่อนสิรินธร ช่องเม็กและสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ ๕ ซึ่งนักท่องเที่ยว พ่อค้า และ ประชาชนทั่วไป สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้อย่างสะดวกซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อด้านการตลาดและการขนส่ง ส่วนปัญหาที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกำลังประสบคือปัญหาจากวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ซากไม้และกลุ่มขนมหวานขนมไทย เชื้อไฟสมุนไพรปลอดสารพิษ คือ เชื้อไฟทีมีวัตถุดิบหลักคือขี้เลื่อยผสมน้ำมันยาง และสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ตะไคร้ เปลือกมะกรูด ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านเรียงแถวใต้ บรรจุภัณฑ์ถูกทักสานจากเทปพันกล่องซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้แต่มีสีสันสวยงานโดยสมาชิกชุมชนที่มีความพิการทางร่างกาย นับเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเศษวัสดุเหลือใช้ชิ้นแรกที่มาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยน เรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนร่วมกับการสนับสนุนของทีมนักวิจัยวิชาการจากมหาวิทยาลัยอุบลราธานี ผ่านกระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดีมากและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเศษวัสดุจากชุมชนจากการสำรวจยังมีปริมาณอยู่มาก สมาชิกในชุมชนยังมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และมีความเห็นร่วมกันว่าต้องการผลิต ถ่านอัดแท่ง เพื่อใช้เองในชุมชนและเพื่อการจำหน่ายเพื่อทดแทนการใช้ถ่านจากไม้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายป่าอันมีผลต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมด้วย สมาชิกชุมชนมีภูมิปัญญาด้านการเผาถ่านเป็นฐานความรู้เบื้องต้นอยู่แต่ยังขาดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่ง ดังนั้นเพื่อเป็นการต่อยอดโครงการ สร้างมูลค่าเพิ่มวัสดุเหลือใช้จากผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้เสนอโครงการจึงเห็นว่าควรมีการ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการจัดการและการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สร้างรายได้ เพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชน

วัตถุประสงค์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
สมาชิกกลุ่มอาชีพ กลุ่มขนมไทย(ขนมหวาน) กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ซากไม้ หมู่บ้านเรียงแถวใต้ ตำบลนิคมลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราธานี กลุ่มผู้ผลิตไม้ตีพริก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราธานี นักเรียนโรงเรียนสิรินธร ตำบลนิคมลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราธานี นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
อบรมเชิงปฎิบัติการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ - รวมเวลา 0 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริ มแก่ผู้ร่วมโครงการ ผู้ร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน เพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
ด้านสังคม : สมาชิกชุนชน มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน เพิ่มคุณภาพสังคมและคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกิดการอนุกรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา
หลักสูตร
นักศึกษาชั้นปี :
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 31,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
2,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 24,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
15,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,600.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาทำสื่อประชาสัมพันธ์
=
2,600.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 51,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 51,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
800 คน x 60.00 บาท
=
48,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 107,500.00 บาท