แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอด ชุดขุดซากไม้ต้นแบบแพขุดซากไม้ใต้น้ำเพื่อนำมาแปรรูปเฟอร์นิเจอร์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายระพีพันธ์ ปิตาคะโส คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมอุตสาหการ
ประสบการณ์ : การสางแผนและควบคุมการผลิต
ความเชี่ยวชาญ : Optimization
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เขื่อนสิรินธรเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์นานัปการต่อการพัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนในภูมิภาคแถบนี้ทั้งทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง การท่องเที่ยว และก่อให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้และยกระดับเศรษฐกิจของประเทศได้ คือ ?กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฟอร์นิเจอร์จากซากไม้ใต้น้ำ? เฟอร์นิเจอร์จากซากไม้ใต้น้ำ เกิดจากบริเวณแหล่งน้ำในเขื่อนซึ่งเดิมเคยเป็นป่ามาก่อน จะมีรากไม้และตอไม้ที่จมน้ำอยู่ใต้น้ำเป็นจำนวนมาก ซากไม้เหล่านี้ยังคงสภาพเนื้อไม้ที่สมบูรณ์และสามารถใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งชาวบ้านในบริเวณรอบๆเขื่อนจะดำน้ำลงไปตัดและเพื่อนำซากไม้ขึ้นมาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่มีรูปลักษณะสวยงาม แต่เนื่องจากการขั้นตอนในการนำแพเพื่อไปตัดไม้ใต้น้ำมีความเสี่ยงสูง ยิ่งหากขาดอุปกรณ์ที่มีความแข็งแรงแล้วปลอดภัยแล้ว ก็จะส่งผลให้การไปนำวัตถุดิบซากไม้ขึ้นมายากลำบากและเสี่ยงชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านในชุมชนนั้น จากการไปสำรวจเบื้องต้นพบว่า ปัญหาที่สำคัญของการไปขุดและตัดไม้นั้น แพจะต้องมีความแข็งแรงและสามารถรองรับน้ำหนักของไม้ที่มีขนาดใหญ่ได้ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดไม้ยังใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งมีสภาพที่เก่าแล้ว โดยทำให้การขุดล่าช้าและเสี่ยงต่อการล่มของแพได้ เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน และบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามนโยบายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงจัดทำโครงการการพัฒนาแพลากซากไม้ใต้น้ำเพื่อนำมาแปรรูปเฟอร์นิเจอร์ เพื่อความปลอดภัยและรวดเร็วในการขุดซากไม้ และที่สำคัญคือส่งเสริมวิสาหกิจชุนชมในจังหวัดอุบลราชธานีให้พัฒนาตามแผนพัฒนาประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิศวกรรมไปสู่ชุมชน ผู้ประกอบการ และองค์กรภายนอก
2.เพื่อใช้ทรัพยากร เครื่องมือ เครื่องจักร และบุคลากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.พัฒนาแพต้นแบบที่มีประสิทธิภาพในการขุดและลากซากไม้ใต้น้ำ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ ใน อ.สิริธร ที่ใช้เรือแพ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
20 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ติดต่อหาชุมชน/ ผู้ประกอบการที่สนใจ ศึกษาปัญหาของชุมชน/ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เลือกปัญหาที่จะทำการแก้ไขและวิเคราะห์ปัญหาที่เลือก นำเสนอวิธีแก้ปัญหาสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหา แก้ไขปัญหาตามแนวทางที่เสนอและทดลองใช้ สรุปผลการแก้ไขปัญหา

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อหาชุมชน/ ผู้ประกอบการที่สนใจ - --- --- --- 5,000.00
2.ศึกษาปัญหาของชุมชน/ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และ เลือกปัญหาที่จะทำการแก้ไขและวิเคราะห์ปัญหาที่เลือก -- --- --- 15,000.00
3.นำเสนอวิธีแก้ปัญหาสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหา และ แก้ไขปัญหาตามแนวทางที่เสนอและทดลองใช้ --- --- --- 15,000.00
4.สรุปผลการแก้ไขปัญหา --- --- --- - 35,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 330 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ชุมชนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาและสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ผลิตภัณฑ์ได้และสามารถสร้างอาชีพต่อไปได้
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : มหาวิทยาลัยอุบลฯได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการการบริการวิชาและการทำนุบำรุงศิลปะฯและใช้ทรัพยากรที่มี อย่างคุ้มค่า

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
2167 บาท/คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1302 491 โครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตร ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ผู้ร่วมโครงการมีความพึงพอใจในเรือต้นแบบเพิ่มขึ้น
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
16,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานจำนวน 2 คน x จำนวน 20 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
8,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 19,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,200.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำส่วนประกอบของเครื่องจักร ที่จะทำการพัฒนา
=
10,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์เอกสารและเข้าเล่มรายงาน
=
2,000.00 บาท
3) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง
=
3,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาทำสื่อประชาสัมพันธ์
=
1,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 21,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) วัสดุอุปกรณ์ทดลอง
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 65,000.00 บาท