แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพ อนามัยของชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางเมรีรัตน์ มั่นวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ชีวสถิติ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล
หัวหน้าโครงการ
นายนิยม จันทร์นวล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : อาจารย์
ความเชี่ยวชาญ : พฤติกรรมศาสตร์ สุขศึกษา เพศศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ
ผู้ร่วมโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพัจนภา วงษาพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พิษวิทยาทางอาหารและโภชาการ)
ประสบการณ์ : ผู้ขเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ 2555-2556
ความเชี่ยวชาญ : - อาหารและโภชนาการ - พฤติกรรมการบริโภคอาหาร -การประเมินความเสี่ยงในการได้รับสารอันตรายทางเคมีจากการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปัณฑิตา สุขุมาลย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : -ผู้จัดรายการปัญหาสุขภาพ สถานีวิทยุ FM. 98.5 มุกดาหาร ปี 2548 - 2550 -ผู้ร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการ การตรวจสุขภาพนักเรียน หิด เหา ปี 2554 -ผู้ร่วมโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการการดูแลผู้สูงอายุ 2556 -ผู้ร่วมโครงการวิจัย โครงการวิจัย รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านหัวเรือทอง หมู่ 16 ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทุนวิจัย สกว. -บทความวิจัย ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ความเชี่ยวชาญ : การให้คำปรึกษาครอบครัวและชุมชน การสื่อสารปัญหาชุมชน อนามัยชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : 1.ผู้ร่วมโครงการ/เหรัญญิก โครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (ครั้งที่ 2) ปี 2555 2.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2555 3.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2556 4.ผู้ร่วมโครงการ โครงการบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชน ปี 2556 5.ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัญหาทางด้านสุขภาพของมนุษย์เป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขปัญหาหนึ่ง จากการรายงานสถิติของอัตราผู้ป่วยใน 10 อันดับแรกของสำนักงากงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2553 พบว่า อัตราป่วยอันดับหนึ่งคือ ระบบต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึ่ม ส่วนโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงอยู่ในลำดับที่ 7 และ 8 ตามลำดับ และยังพบว่าอัตราตาย 10 อันดับแรกของปี 2552 คือ โรคมะเร็งอันดับหนึ่ง และโรคเบาหวานอยู่ในลำดับที่ 8 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, 2554) ซึ่งจะพบว่าโรคที่กล่าวมาข้างบนเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองของประชาชนไม่ดี เช่น เรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การจัดการกับระบบความเครียดของตนเอง สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งหากประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง อาจจะส่งผลให้การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่รุนแรงมากกว่าเดิม และสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นโรคยังเป็นการป้องกันการเกิดโรคได้อีกด้วย จากการศึกษาข้อมูลสถานะสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิรินธร เป็นอำเภอที่ติดเขตชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และห่างไกลจากเขตเมือง และจากการศึกษาอัตราการป่วยของผู้ป่วยนอก 10 อันดับแรกของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิรินธร รายงานในปีก 2553 พบว่า โรคระบบต่อมไร้ท่อโภชนาการ และเมตาบอลิซึม อยู่ในลำดับที่ 3 มีอัตราป่วย 27,871.59 ต่อแสนประชากร และพบว่าอัตราการป่วยของผู้ป่วยใน 10 อันดับแรก พบว่าโรคโรคระบบต่อมไร้ท่อโภชนาการ และเมตาบอลิซึม อยู่ในลำดับที่ 1 โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อยู่ในลำดับที่ 6 และ 7 ตามลำดับ (โรงพยาบาลสิรินธร, 2553) ซึ่งโรคดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเอง ดังนั้นหากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม ก็มีจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรค และช่วยชะลอโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้นได้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่ประชาชน ป้องกันการเกิดโรค เพื่อเป็นการให้บริการความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่ยังเป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยฯ จึงเสนอโครงการบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และประยุกต์ความรู้ดังกล่าวให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำความรู้ที่ได้แก้ไขพฤติกรรมที่นำไปสู่การป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้กับประชาชนได้สามารถควบคุมเรื้อไม่ให้มีอาการเพิ่มมากขึ้น สามารถทำงานและดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้กับประชาชนในเรื่อง การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การดูแลสภาพสิ่งแวดล้อม และการดูแลสภาพจิตใจของตนเอง ในการป้องกันโรคเรื้อรัง
2.เพื่อสร้างกิจกรรมหรือโครงการในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม
3.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการดูแลตนเองในเรื่อง การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การดูแลสภาพสิ่งแวดล้อม และการดูแลสภาพจิตใจของตนเอง ในการป้องกันโรคเรื้อรัง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในบ้านคันเปือย อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และประชาชนที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.อาจารย์ให้ความรู้แก่ประชาชนกล่มเป้าหมายในเรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ และการสุขาภิบาลที่พักอาศัย 2. นักศึกษาจะจัดโครงการ/กิจกรรมที่นักศึกษาเป็นผู้คิด ดำเนินการ และประสานงานในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละกิจกรรมเกิดจากการระดมสมองกับประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหา แต่ละโครงการจะมีนักศึกษา 20 คน โดยแต่ละกลุ่มจะนำปัญหาที่เกิดจากการสำรวจข้อมูลปัญหาในหมู่บ้าน การทำประชาคมมาจัดเป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยให้นักศึกษาเป็นแกนนำในการชักนำประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันแก้ไข พัฒนา ทำกิจกรรม เพื่อลดปัญหานั้นๆ นักศึกษาจะดำเนินการจัดจัดกิจกรรมในระหว่างที่ไปพักอยู่ในหมู่บ้านเป็นเวลาทั้งสิ้น 5 วันซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 4 โครงการ ได้แก่ 1.1 โครงการ ?ออกกำลังกาย? 1.2 โครงการ ?สุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม? เป็นโครงการเกี่ยวกับการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย เพื่อให้ที่พักอาศัยมีความสะอาด น่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธุ์การเกิดโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรค 1.3 โครงการ ?ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร?

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจพื้นที่หมู่บ้านคันเปือย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ประสานงานกับผู้นำหมู่บ้าน ผอ.รพ.สต.คันเปือย เพื่อแจ้งกำหนดการเข้าดำเนินโครงการ สำรวจบ้านสำหรับใ --- --- --- 84,000.00
2.รายงานผลการดำเนินงานโครง จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 รวมเวลา 5 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
09.00 – 12.00 น. บรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ อ.พัจนภา วงษาพรหมและคณะ
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
13.30 - 16.30 น. บรรยายเรื่องหลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย อ.สมเจตน์ ทองดำและคณะ
29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
08.30 - 18.30 น. ดำเนินโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการและนักศึกษาแต่ละโครงการ
30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
08.30 - 18.30 น. ดำเนินโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการและนักศึกษาแต่ละโครงการ
31 ตุลาคม พ.ศ. 2555
08.30 - 18.30 น. ดำเนินโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการและนักศึกษาแต่ละโครงการ
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
08.30 - 18.30 น. ดำเนินโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการและนักศึกษาแต่ละโครงการ
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
08.30-16.00 น. ประเมินผลการจัดกิจกรรม อาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการและนักศึกษาแต่ละโครงการ และประชาชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -เกิดฑนาคารขยะ จากการผลักดันของโครงการ ทำให้ประชาชนมีการจัดการขยะที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้
ด้านสังคม : ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง ในเรื่อง การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การดูแลสภาพสิ่งแวดล้อม และการดูแลสภาพจิตใจของตนเอง ในการป้องกันโรคเรื้อรัง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในชีวิตประจำวันได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : สภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน ที่พักอาศัย สะอาดน่าอยู่อาศัยและไม่เป็นแหล่งกำเนิดของโรค
ด้านอื่นๆ : ประชาชนมีความสุขทั้งกาย ใจ สังคม เกิดความสนุกสนาน คลายความตึงเครียดจากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
-0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาสตร์ชุมชน
หลักสูตร หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาเข้าร่วมออกพื้นที่ให้บริการวิชาการทุกคน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัดของแต่ละโครงการที่จัดขึ้น

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 5,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 62,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 20,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
20,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) ค่าที่พักเหมาจ่ายวันละ 30 บาท* 4 คืน * 100 คน
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 17,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 17,600.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,200 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,600.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
80 คน x 125.00 บาท
=
10,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 0 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 4000 บาท
=
4,000.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 94,000.00 บาท