แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการเปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในสัปดาห์วิทยาศาสตร์
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : จัดนิทรรศการ เผยแพร่ความรู้ข่าวสาร และจัดกิจกรรมกา
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาวิทยาศาสตร์การเกษตรในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวนพมาศ นามแดง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การเรียนการสอนด้านเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการผลิตปัจจัยสี่แก่มนุษย์ ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร ดังนั้นการพัฒนาการศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางการเกษตรออกไปรับใช้สังคมจำนวน 5 สาขาวิชาซึ่งประกอบด้วย สาขาพืชไร่ สาขาพืชสวน สาขาสัตวศาสตร์ สาขาประมง และสาขาอุตสาหกรรมเกษตร นอกจากนี้ คณะเกษตรศาสตร์ยังศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เกษตร เช่น ด้านพืชอาหารสัตว์ ข้าวและการผลิตข้าวอินทรีย์ การผลิตและการปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การจัดการดิน การควบคุมศัตรูพืช ตลอดรวมถึงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปยังนักศึกษา นักเรียน เกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ซึ่งได้แก่จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ร้อยเอ็ด และนครพนม กิจกรรมและภารกิจต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน จึงมีผลงานทางวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตรเป็นที่ยอมรับและมีประโยชน์จำนวนมาก หากได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน น่าจะเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา ประชาชนและการพัฒนาประเทศ และเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คณะฯ จึงเห็นควรเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดให้มีกิจกรรม ?เปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในงานสัปดาห์วิทยาศษสตร์? ให้กับนักเรียนและประชาชนทั่วไป ในพื้นที่บริการได้เข้ามาศึกษาถึงความก้าวหน้าทางด้านสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรของคณะฯ รวมทั้งเปิดฟาร์มให้นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาความรู้วิทยาศาสตร์การเกษตร 2.เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้แสดงความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เกษตร ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรม 1) ตอบปัญหาวิทยาศาสตร์เกษตร 2) การพูดส่งเสริมการเกษตร และ 3) ประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์เกษตร ทั้งระดับประถมและมัธยมศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดรวมถึงข้าราชการครู ให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เกษตร ด้วยเด็ก และเยาวชน คืออนาคตของชาติ ที่จะช่วยพัฒนาการเกษตรไทยให้เจริญก้าวหน้าเป็นครัวที่ปลอดภัยและยั่งยืนของโลก

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียน นักศึกษา คณะครูอาจารย์ และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ซึ่งได้แก่จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ร้อยเอ็ด และนครพนม
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
3000 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 วิเคราะห์โครงการเดิมที่เกี่ยวข้อง 1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานโครงการเปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในงานเกษตรอีสานใต้ 1.3 กำหนดกิจกรรมและผู้รับผิดชอบกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น 1.4 ส่งหนังสือและรายละเอียดการจัดงาน พร้อมหนังสือเชิญชมงานไปยังโรงเรียน เกษตรกร และประชาชนในพื้นที่บริการจังหวัด ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 1.5 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร และกิจกรรมต่างๆ โดยอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาช่วยกันจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร และกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดขึ้นในวันเปิดฟาร์มและห้องปฏิบัติการในงานเกษตรอีสานใต้ 1.6 จัดกิจกรรม กิจกรรมที่จัด ได้แก่ การสาธิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์การเกษตร ด้านพืชไร่ พืชสวน สัตวศาสตร์ ประมง อุตสาหกรรมเกษตร และสารสนเทศทางการเกษตร การตอบปัญหาการเกษตร การพูดส่งเสริมการเกษตร การประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์เกษตร และการชมฟาร์มคณะเกษตรศาสตร์ 1.7 ประเมินผลและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยวิเคราะห์และสรุปผลการประเมิน และจัดทำรายงานการจัดงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
8.30-16.30 นิทรรศการวิทยาศาสตร์เกษตร ตอบปัญหา ประกวดโครงงานและพูดส่งเสริมวิทยาศาตร์เกษตร
20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
8.30-16.30 แสดงนิทรรศการ ทัวร์ฟาร์มและกิจกรรมตอบปัญหาวิทยาศาสตร์เกษตร ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เกษตร และพูดส่งเส

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : นักเรียน เยาวชน อาจารย์และประชาชนทั่วไปนำความรู้และผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เกษตรไปปรับใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอนและอาชีพการเกษตร
ด้านสังคม : นักเรียน อาจารย์ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึงกิจกรรมการเรียนการสอน ผลการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อนำไปปรับปรุง และใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนและการประกอบอาชีพได้ดียิ่งขึ้น 2. สร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน นักเรียน คณะครู อาจารย์ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป กับคณะเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ดียิ่งขึ้น 3. สร้างเจตคติที่ดีต่อสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร พร้อมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์การเรียนการสอนและกิจกรรมคณะฯ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้กับนักเรียน คณะครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปในพื้นที่บริการ ๘ จังหวัด ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยวิทยาศาสตร์การเกษตรเป็นศาสตร์แห่งการผลิตปัจจัยสี่สำหรับประชากรโลกและเป็นศาสตร์แห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ด้านสิ่งแวดล้อม : นักเรียน เยาวชน อาจารย์และประชาชนทั่วไปนำความรู้และผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เกษตรไปปรับใช้เพื่อลดกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : ช่วยประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน เยาวชน อาจารย์และประชาชนทั่วไปมีความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญและความเป็นวิทยาศาสตร์การเกษตร เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียน เยาวชน อาจารย์และประชาชนทั่วไปกับคณะเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาาการศึกษา การเกษตร ชุมชนและสังคม

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
3000
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
75
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
75
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ระดับปานกลาง-สูง

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ในสาขาวิชาพืชไร่ พืชสวน สัตวศสาตร์ ประมง และอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตร ปริญญาตรีและปริญญาโท
นักศึกษาชั้นปี : 1 2 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร คณะเกษตรฯ ทุกสาขาวิชา ร่วมจัดกิจกรรมนิทรรศการ บริการ และกิจกรรมต่างๆ และสามารถถ่ายถอดความรู้ให้กับนักเรียน อาจารย์แลประชาชนทั่วไปเข้าใจในเนื้อหาวิชาการดังกล่าวได้ โดยอาศัยการตอบคำถามและประเมินผล
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
10,500.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 103,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 300 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 65,500.00 บาท )
1) ทุนการศึกษาสำหรับการแข่งขันพูดส่งเสริมวิทยาศาสตร์การเกษตร
=
14,000.00 บาท
2) ทุนการศึกษาการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์การเกษตร
=
22,500.00 บาท
3) ทุนการศึกษาการตอบปัญหาวิทยาศาสตร์การเกษตร
=
29,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 115,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 30,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 85,000.00 บาท )
1) วิทยาศาสตร์
=
85,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 235,000.00 บาท