แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่อาเซียน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ธรรมวิมล สุขเสริม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Development Policy
ประสบการณ์ : งานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการการตลาด
ความเชี่ยวชาญ : งานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการการตลาด การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวใจแก้ว แถมเงิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : 7.1 ผลงานวิจัย 1. ผู้ร่วมวิจัย โครงการ “การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ.2547 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ” พ.ศ. 2548 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. หัวหน้าโครงการวิจัย “สำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ. 2549 แหล่งทุนคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4. ผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัย “การศึกษากลยุทธ์การใช้ E-Tourism เพื่อการแข่งขันในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : กรณีศึกษาด่านช่องเม็ก-วังเต่า และด่านช่องสะงำ-เสียมเรียบ ”พ.ศ. 2550 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 5. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 6. ผู้ร่วมวิจัย “โครงการศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการ ท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 7. ผู้ร่วมวิจัย “การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว SMEs : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ” พ.ศ. 2554 ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา (กำลังดำเนินการ) 7.2 ผลงานตีพิมพ์ บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 7.3 ผลงานที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ: นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการและการตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภนิตย์ คำใสย คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : การท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมดำเนินโครงการ
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาอังกฤษ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.อุทัย อันพิมพ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พัฒนบูรณาการศาสตร์
ประสบการณ์ : การผลิตเห็ด การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ การขยายพันธุ์พืช การจัดการความรู้ เศรษฐกิจพอเพียง
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการความรู้เรื่องเห็ด การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน (เกษตรประณีต) เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ด้วย แนวนโยบายการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ได้มุ่งเน้นในการสร้างเครือข่ายร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และร่วมกันพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังร่วมมือกันในการสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในประเทศต่าง ๆ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถได้เดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกอาเซียนได้ จากแนวนโยบายดังกล่าว ทำให้คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านการบริหาร ได้เล็งเห็นความสำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเพื่อสนองตอบต่อนโยบายการพัฒนาดังกล่าว โดยมุ่งผลักดันชุมชนที่มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและเกิดความอย่างยั่งยืนต่อไป อนึ่ง คณะบริหารศาสตร์ มุ่งหวังว่า ชุมชนดังกล่าวนั้น จะสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการเป็น ?ชุมชนต้นแบบ? ที่มีการพัฒนาเพื่อรองรับแนวนโยบายดังกล่าวข้างต้น รูปแบบในการพัฒนาชุมชนนั้น คณะบริหารศาสตร์ จะมุ่งให้ความสำคัญในการพัฒนาอาชีพที่เกิดจากความต้องการและความพร้อมของชุมชน ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ดีในการเริ่มต้นพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนต่อไป นอกจากนี้ คณะบริหารศาสตร์ ยังมีความพร้อมทั้งบุคลากรและองค์ความรู้ที่จะนำไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชน เช่น การพัฒนากลุ่มผู้นำของชุมชนให้เข้าใจทักษะการดำเนินธุรกิจ การสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า การพัฒนาสินค้าและบริการ การจัดทำบัญชีต้นทุน การสร้างอาชีพอื่น ๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาด และอื่น ๆ ตามที่ชุมชนมีความต้องการที่จะให้คณะบริหารศาสตร์ช่วยเหลือ จากเหตุผลและความพร้อมต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คณะบริหารศาสตร์ จึงได้จัดทำ ?โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่อาเซียน? ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไปในการที่จะร่วมพัฒนาประเทศเพื่อก้าวไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนในการสร้างความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศที่มุ่งสู่การพัฒนาในระดับอาเซียน
2.เพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งจะสนับสนุนให้เป็น “ชุมชนต้นแบบ” ให้แก่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ชาวบ้านและกลุ่มอาชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 จัดตั้งทีมงานและวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ 1.2 ประสานงานชุมชน 1.3 เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ /เอกสารประกอบการอบรมและการถ่ายทอดความรู้ 1.4 จัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และร่วมพัฒนา 1.5 ติดตามและประเมินผลโครงการ 1.6 สรุปโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดตั้งทีมงานและวิทยากรถ่ายทอด --- --- --- 5,000.00
2.ประสานงานชุมชน --- --- --- 12,150.00
3.เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ / เอกสารประกอบการสอน --- --- --- 500.00
4.กิจกรรมสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ: ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ --- --- --- 24,650.00
5.กิจกรรมสาขาการบัญชี:การคิดต้นทุนสินค้าชุมชน --- --- --- 24,650.00
6.กิจกรรมสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ:คอมพิวเตอร์พื้นฐานและอินเตอร์เนต --- --- --- 24,650.00
7.กิจกรรมสาขาเศรษฐกิจพอเพียง:การจัดการความรู้ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่มีความเหมาะสมกับชุมชน --- --- --- 24,650.00
8.กิจกรรมสาขาการตลาด:การสร้างตราสินค้าเพื่อรองรับตลาดอาเซียน --- --- --- 24,650.00
9.การติดตามการดำเนินโครงการ -- -- 3,000.00
10.เบิกจ่ายโครงการ --- --- --- - 2,000.00
11.สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ --- --- --- -- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 มกราคม พ.ศ. 2556
09:00 กิจกรรมสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ: ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ Miss Naho Ishiki และคณะ
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
09:00 กิจกรรมสาขาการบัญชี:การคิดต้นทุนสินค้าชุมชน นางนภาพร หงษ์ภักดี และคณะ
13 มีนาคม พ.ศ. 2556
09:00 กิจกรรมสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ:คอมพิวเตอร์พื้นฐานและอินเตอร์เนต นายวีรภัทร เกียรติดำรง และคณะ
23 เมษายน พ.ศ. 2556
09:00 กิจกรรมสาขาเศรษฐกิจพอเพียง:การจัดการความรู้ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่มีความ นายอุทัย อันพิมพ์ และคณะ
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
09:00 กิจกรรมสาขาการตลาด:การสร้างตราสินค้าเพื่อรองรับตลาดอาเซียน นางสาวใจแก้ว แถมเงิน และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -คาดว่า ภาพรวมเศรษฐกิจภายในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะดีขึ้น มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนในชุมชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพเสริม
ด้านสังคม : -คาดว่า ประชาชนในชุมชน จะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งเพื่อร่วมพัฒนาชุมชน และร่วมสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเป็น "ชุมชนตัวอย่าง" ให้แก่ชุมทชนอื่น ๆ ต่อไป
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1704 210 การดำเนินธุรกิจในบริบทระหว่างประเทศ (International Context of Business)
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนโครงการวิจัยของนักศึกษาที่ได้จากการบริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 42,440.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 5,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 10 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 100.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 22,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 10 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
12,000.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 12 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 12,840.00 บาท )
1) ค่าเบี้ยเลี้ยง พขร.จำนวน 1 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 210.00 บาท/ชม.
=
1,680.00 บาท
2) ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาฯ (วันปกติ)จำนวน 3 คน x จำนวน 4 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
2,400.00 บาท
3) ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาฯ (วันหยุด)จำนวน 3 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
2,520.00 บาท
4) ค่าเบี้ยเลี้ยงจำนวน 2 คน x จำนวน 13 ชม. x จำนวน 240.00 บาท/ชม.
=
6,240.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 56,830.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,880.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,880.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
2,880.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 16,850.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
6,000.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,600.00 บาท
3) จำนวน 7 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
5,250.00 บาท
4) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 23,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,600.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,800.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
3,200.00 บาท
4) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,700.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,700.00 บาท
=
5,700.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาประมวลผลและพิมพ์ข้อมูล
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 48,630.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 24,760.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
15,516 แผ่น x 0.50 บาท
=
7,758.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,652.00 บาท
=
5,652.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
4,850.00 บาท
=
4,850.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
6,500.00 บาท
=
6,500.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 23,870.00 บาท )
1) ค่าวัสดุอุปกรณ์และสื่อการสอน
=
23,870.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 147,900.00 บาท