แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดแก่เยาวชน "ผู้บริโภคยุคใหม่ หัวใจพอเพียง"
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : เสริมสร้างการเรียนรู้แก่เยาวชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสายเพชร อักโข คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ด้านการตลาด การค้าปลีก
หัวหน้าโครงการ
นางสาวใจแก้ว แถมเงิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : 7.1 ผลงานวิจัย 1. ผู้ร่วมวิจัย โครงการ “การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ.2547 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ” พ.ศ. 2548 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. หัวหน้าโครงการวิจัย “สำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ. 2549 แหล่งทุนคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4. ผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัย “การศึกษากลยุทธ์การใช้ E-Tourism เพื่อการแข่งขันในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : กรณีศึกษาด่านช่องเม็ก-วังเต่า และด่านช่องสะงำ-เสียมเรียบ ”พ.ศ. 2550 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 5. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 6. ผู้ร่วมวิจัย “โครงการศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการ ท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 7. ผู้ร่วมวิจัย “การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว SMEs : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ” พ.ศ. 2554 ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา (กำลังดำเนินการ) 7.2 ผลงานตีพิมพ์ บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 7.3 ผลงานที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ: นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการและการตลาด
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น โลกมีความไร้พรมแดนการรับข่าวสารต่างๆ จากทั่วโลกสามารถทำได้โดยง่าย ประกอบกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับผู้บริโภคมีอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคในประเทศไทยเองมีการรับข่าวสาร การรู้จักผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เท่าเทียมผู้บริโภคทั่วโลก จะเห็นได้ว่าการตลาดนั้นมีอยู่รอบๆ ตัวของทุกคนและทุกคนมีการใช้การตลาดในชีวิตประจำวัน ธุรกิจผู้ผลิตมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารจูงใจให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ ด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าพร้อมทั้งกลยุทธ์การตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคในวัยเด็กและวัยรุ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากสื่อการส่งเสริมการตลาดของธุรกิจผู้ผลิต ซึ่งมีผลให้เกิดการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ตามอารมณ์และซื้ออย่างฉับพลัน ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากในกลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่นยังไม่ได้มีความรู้พื้นฐานทางด้านการตลาดตามหลักวิชาการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้ออย่างผู้บริโภคที่รู้เท่าทันการตลาด จึงส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนเลือกที่จะทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ทันสมัย ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการจัดโครงการการให้ความรู้พื้นฐานทางด้านการตลาด ที่มีการนำเอาหลักความพอเพียงจากทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ร่วมกัน ในการเป็นผู้บริโภคที่เลือกซื้ออย่างมีเหตุผล จึงเป็นอีกทางที่จะมีส่วนช่วยให้เยาวชนโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นได้มีทักษะความรู้ที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดภายใต้หลักความพอเพียง และทำให้มีความรู้พื้นฐานทางด้านการตลาดเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป

วัตถุประสงค์
1.2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจในพื้นฐานทางด้านการตลาด 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในการเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดภายใต้หลักความพอเพียง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถมีความรู้ทางด้านการตลาดที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายภายในจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
160 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ประชุมวางแผนเตรียมงาน ติดต่อกลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมเนื้อหาบรรยาย อบรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมวางแผนงาน - --- --- --- 0.00
2.ติดต่อกลุ่มเป้าหมาย --- -- --- --- 6,080.00
3.ติดต่อกลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมเนื้อหาการบรรยาย อบรมกลุ่มเป้าหมาย --- --- --- 40,180.00
4.ประเมินผลแบบสอบถาม สรุปโครงการ --- --- --- 4,860.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 80 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
8.30-10.30 น บรรยาย การตลาดในชีวิตประจำวัน นางสายเพชร อักโข
0 พ.ศ. 543
10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
0 พ.ศ. 543
10.45 – 12.00 น. บรรยาย พฤติกรรมผู้บริโภคและหลักความพอเพียง นางสายเพชร อักโข
0 พ.ศ. 543
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
0 พ.ศ. 543
13.00 – 14.30 น. บรรยาย กลยุทธ์การตลาดของธุรกิจ นางสายเพชร อักโข
0 พ.ศ. 543
14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
0 พ.ศ. 543
14.45 – 16.00 น. บรรยาย -กลยุทธ์การตลาดของธุรกิจ นางสายเพชร อักโข
0 พ.ศ. 543
16.00-16.30 น. กิจกรรมสันทนาการเกี่ยวกับความรู้ด้านการตลาด นักศึกษา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจทางด้านการตลาดเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันในด้านการเป็นผู้บริโภคที่มีเหตุผลตามหลักความพอเพียง 2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ทางด้านพื้นฐานการตลาดเพื่อใช้ในการศึกษาต่อระดับสูง
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
128
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
319.50

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หลักการตลาด
หลักสูตร บริหารธุรกิจ สาขาการตลาด
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน คะแนนทดสอบความเข้าใจในบทเรียน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,460.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,260.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 1,260.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,260.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 27,160.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 1,560.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 600.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 300.00 บาท
=
600.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 960.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 1 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
960.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงาน (5 คน*200 บาท*2 วัน)
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 13,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,200 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,600.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
1,400.00 บาท
=
1,400.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,500.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์ (หมึกปริ๊นเตอร์)
=
3,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 51,120.00 บาท