แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ชื่อชุดโครงการ การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการจัดการธุรกิจสมัยใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
หัวหน้าโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สรินทิพย์ ทวีเดช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : คอมพิวเตอร์ศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบอีเลิร์นนิง ระบบฐานข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
วิสาหกิจชุมชนเป็นสถาบันทางธุรกิจพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจชุมชน ปัจจุบันภาพรวมของวิสาหกิจขุมชนมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ กลุ่มวิสาหกิจจำเป็นมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management) และตลาด(Market) หรือ 6 Ms โดยมีพื้นฐานความรู้ของบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจึงเป็นหัวใจของการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขายสินค้าได้มากกว่าคู่แข่งขัน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทำได้ในหลายด้านอาทิ การขายสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การผลิตสินค้าและบริการด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า การทำการตลาดโดยอาศัยเทคนิคต่างๆ การวางแผนทางการเงินสำหรับกิจการ และการตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่งขัน ในภาวการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจวิสาหกิจชุมชนเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและเนื่องจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจจะเป็นลักษณะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น อันจะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นในปัจจุบันวิสาหกิจชุมชน จึงเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน ทั้งนี้ผู้นำกลุ่มเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจบริการดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในชุมชน ซึ่งยังขาดทักษะในด้านการบริหารจัดการทำให้ไม่สามารถพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ และรู้จักการวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันได้ โดยอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการความรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการจัดการธุรกิจสมัยใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน จะช่วยให้ธุรกิจของชุมชนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการหัวข้อที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ ของวิสาหกิจชุมชน ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี(ดังเอกสารแนบ1-3)พบว่าใน 3 ตำบลได้แก่ตำบลท่าลาด(12 หมู่บ้าน) ตำบลบุ่งหวาย(20 หมู่บ้าน) และเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ(10 หมู่บ้าน) เป็นตำบลที่มีพื้นที่อยู่ติดกันทำให้มีผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอกเครื่องจักรสาน การทำไม้กวาดทางมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ เครื่องปั้นดินเผาและทอผ้า ในพื้นที่ 3 ตำบลดังกล่าวคณะบริหารศาสตร์ได้มีการบูรณาการทั้งงานวิจัยและบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ปี พ.ศ. 2553 ในพื้นที่ตำบลท่าลาดจัดบริการวิชาการเรื่อง - คลินิกส่งเสริมการบริหารเงินออมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชน ปี พ.ศ. 2554 ในพื้นที่ตำบลท่าลาด - จัดทำโครงการวิจัยในการจัดการกลุ่มผู้ประกอบการข้าวอินทรีย์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ - จัดบริการวิชาการเรื่อง ?เจาะธุรกิจ พิชิตต้นทุน? สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ปี พ.ศ. 2555 ในพื้นที่ตำบลท่าลาด จัดบริการวิชาการเรื่อง - การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชน - ?เจาะธุรกิจ พิชิตต้นทุน? สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ในพื้นที่ตำบลบุ่งหวาย จัดบริการวิชาการเรื่อง - การสร้างความได้เปรียบของวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ด้วยเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ - การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ สำหรับวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ในพื้นที่เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ จัดบริการวิชาการเรื่อง - การสร้างความได้เปรียบของวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ด้วยเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ - การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ สำหรับวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ด้วยทั้ง 3 กลุ่มตำบลมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จำนวนมากทำให้โครงการต่างๆที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้นยังไม่ครอบคลุมในทุกกลุ่มวิสาหกิจและยังมีความต้องการในเชิงบูรณาการในมิติอื่นๆ เห็นได้จากแบบสำรวจความต้องการที่ต้องการให้อบรมอย่างต่อเนื่อง ในการนี้หากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มเป้าหมายเดิมคือตำบลท่าลาด และกลุ่มตำบลพื้นที่ใกล้เคียงคือตำบลบุงหวายและเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ที่มีลักษณะผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่คล้ายคลึงกันโดยจัดการอบรมแบบบูรณาการให้ทั้ง 3 กลุ่มสามารถพัฒนากลุ่มในมิติอื่นๆ เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีจะช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจเกิดการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งและสร้างความยั่งยืนให้กับกิจการ

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ประยุกต์ใช้การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และระบบการจัดการธุรกิจสมัยใหม่สำหรับธุรกิจชุมชน ในสภาวะแวดล้อมทางการแข่งขันที่หลากหลายมิติ
2.2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้บูรณาการ ความรู้หลักการด้านการจัดการ การตลาด การขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบัญชีและการเงิน เพื่อใช้มองภาพรวมในพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งและสร้างความยั่งยืนให้กับกิจการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่ม 3 ตำบล ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ -ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพในตำบลท่าลาด -ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพในตำบลบุ่งหวาย -ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพในเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
90 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.กิจกรรมและวิธีดำเนินการ เป็นการอบรมนอกพื้นที่ ณ.พื้นที่เป้าหมาย 3 ตำบลประกอบด้วย 6 กิจกรรมย่อย ดังนี้ กิจกรรมที่ 1/6 การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ สำหรับวิสาหกิจชุมชน จัดอบรมจัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative economy) เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ โดยนำเสนอแนวคิดและวิธีการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้และบูรณาการความรู้ด้านต่างๆ อาทิ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การสร้างสรรค์งาน (Creative Economy) การเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ด้วยหลักฐานที่แสดงคุณภาพ (Physical Evidence) กิจกรรมที่ 2/6 การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชน จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำกิจกรรม เกี่ยวกับ การบริหารธุรกิจสมัยใหม่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ความรู้หลักการด้านการจัดการ การเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ด้วยบุคลากร (People) กิจกรรมที่ 3/6 "เจาะธุรกิจ พิชิตต้นทุน" สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการคิดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ การจัดทำบัญชี ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี โดยมีตัวอย่างให้ฝึกปฏิบัติทำรายการซื้อขายสินค้าแล้วให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง กิจกรรมที่ 4/6 เทคนิคการเจรจาต่อรองทางการขายและเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ เทคนิคและเคล็ดลับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนด้วยเทคนิคการขายและการบริการที่เป็นเลิศ การวางแผนการให้บริการและการขายเพื่อขยายตลาด การเจรจาต่อรองกับลูกค้า และการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจ กิจกรรมที่ 5/6 กลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชนและการสร้างตราสินค้า (Branding) จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ในการสร้างชื่อสินค้าและตราสินค้า และให้คำปรึกษาในการสร้างชื่อและตราสินค้าเพื่อให้วิสาหกิจชุมชนมีตราสินค้า(Branding) สามารถให้ความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวิสาหกิจได้ กิจกรรมที่ 6/6 การเปิดตลาดใหม่สู่โลกการค้าออนไลน์ จัดอบรมให้ความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับตลาดการค้าบนโลกออนไลน์ การนำกลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กโทรนิกส์มาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน และการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายบนโลกออนไลน์ กลยุทธ์การนำสินค้าไปเผยแพร่และจำหน่ายบนโลกออนไลน์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขอรับงบประมาณ เตรียมแผนงาน ประชุมวิธีการดำเนินงาน ติดต่อประสานงาน --- --- --- 30,000.00
2.ประชาสัมพันธ์ รับสมัครผู้อบรม เตรียมเอกสาร ดำเนินการกิจกรรมที่ 1 --- --- --- 30,000.00
3.ดำเนินการกิจกรรมที่ 2 ดำเนินการกิจกรรมที่ 3 ดำเนินการกิจกรรมที่ 4 ดำเนินการกิจกรรมที่ 5 --- --- --- 110,000.00
4.ดำเนินการกิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผล --- --- --- 30,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
26 มีนาคม พ.ศ. 2557
09.00-16.00 การใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
25 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00-16.00 การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชน อ.ไกรศักดิ์ ยงกุลวณิชและคณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00-16.00 “เจาะธุรกิจ พิชิตต้นทุน” สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
09.00-16.00 เทคนิคการเจรจาต่อรองทางการขายและเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ อ.วรารัตน์ บุญแฝงและคณะ
27 มิถุนายน พ.ศ. 2557
09.00-16.00 กลยุทธ์การตลาดและการสร้างตราสินค้า (Branding) อ.กมลพร นครชัยกุลและคณะ
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
09.00-16.00 การเปิดตลาดใหม่สู่โลกการค้าออนไลน์ ดร.สรินทิพย์ ทวีเดชและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้และได้เล็งเห็นความสำคัญและได้เรียนรู้เทคนิคและเคล็ดลับในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน เกิดการสร้างงาน สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในธุรกิจได้
ด้านสังคม : -กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ด้านการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับธุรกิจชุมชนและสามารถวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆที่มีผลกระทบต่อสภาวะการแข่งขันได้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
72
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
60
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีความคุ้มค่าตามงบประมาณที่ได้รับ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การจัดส่งธุรกิจ ,1707 100 วิชาหลักการบัญชี ,1705317 จิตวิทยาบริการ ,1702 210หลักการตลาด/ระบบสารสนเทศเพื่อก่จัดการ
หลักสูตร HTM/MGT/ACC/MKT/MIS
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มคอ03
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด แบบรายงานประโยชน์ที่ได้จากการร่วมโครงการฯ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 43,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 43,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
21,600.00 บาท
2) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 99,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 8,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 2,200 บาท/คัน/วัน
=
8,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 66,900.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาติดตามผลสัมฤทธิ์และประเมินผลการนำไปใช้ (3 ตำบล)
=
9,900.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาสำรวจพื้นที่และวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่ม 3 ตำบล
=
9,800.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์เอกสารและสรุปโครงการ
=
23,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาแรงงาน (2 คน*300 บาท*24วัน)
=
14,400.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อโฆษณาให้กลุ่มใช้เผยแพร่ 3 ตำบล
=
9,800.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 57,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 43,900.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
60,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
30,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,900.00 บาท
=
3,900.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 13,800.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
=
13,800.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท