แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอนโรคพันธุกรรม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายถาวร สุภาพรม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีววิทยา : เซลล์พันธุศาสตร์
ประสบการณ์ : "1. อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีหน้าที่สอนและเตรียมปฏิบัติการวิชาในกลุ่ม วิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิชาชีพ หมวดกลุ่มวิชา พันธุศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับปริญญาตรี – โท และ เอก ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ และนักศึกษาแพทย์และสาธารณสุขของโครงการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกว่า 23 ปี 2. หัวหน้าแผนกวิเคราะห์โครโมโซม ในฐานะนักเซลล์พันธุศาสตร์ (Human Cytogeneticist) ประจำ Family health Clinic and Fertility Center (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท Fertility Center จำกัด ) รับผิดชอบ งานตรวจวิเคราะห์โครโมโซม ให้ความเห็น และคำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ (genetic counseling) แก่ผู้ป่วย และ ครอบครัว(ทำงาน เฉพาะ วันเสาร์ – อาทิตย์) 3. หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์โครโมโซม ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ยกฐานะจากหน่วยปฏิบัติการเซลล์พันธุศาสตร์เป็นศูนย์วิเคราะห์โครโมโซมเมื่อปี 2548) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ ให้บริการ ด้านการตรวจวิเคราะห์โครโมโซมแก่โรงพยาบาล คลีนิก และหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนในเขตอิสานใต้"
ความเชี่ยวชาญ : มีความเชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติจากเลือด น้ำคร่ำ ปละไขกระดูก และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการศึกษาโครโมโซมของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน
หัวหน้าโครงการ
นางสาวกรรณิการ์ ประทุมภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา)
ประสบการณ์ : การทำปฏิบัติการเกี่ยวกับจุลชีววิทยา
ความเชี่ยวชาญ : การทำแล็ปโครโมโซม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ดำเนินการให้ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆในการเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้รับทราบว่าครูมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในหลายด้านๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างและการใช้สื่อการเรียนการสอนโรคพันธุกรรม ส่งผลต่อกระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีไม่เท่าที่ควร และพบว่าครูผู้สอนยังไม่สามารถติดตามวิทยาการความรู้ทางพันธุศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ขาดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการ นอกจากนี้ยังขาดงบประมาณที่จะมาจัดซื้อสื่อการสอนที่มีคุณภาพและมีราคาแพงได้ ศูนย์วิเคราะห์โครโมโซม เป็นหน่วยงานหนึ่งของภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์โครโมโซม ให้กับทางโรงพยาบาล และคลินิกต่างๆ ทำให้ศูนย์ฯมีข้อมูลโรคพันธุกรรม มีสไลด์โครโมโซมและแผ่นจัดเรียงคาริโอไทป์ที่เกี่ยวกับโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวแผนภูมิรูปแบบการถ่ายทอดโครโมโซมที่ผิดปกติจากพ่อ-แม่สู่ลูก ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอนโรคพันธุกรรมได้เป็นจำนวนมาก คณะทำงานได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวเกิดประโยชน์ต่อบุคคลากรทางการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ จึงได้จัดทำแบบเสนอโครงการการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอนโรคพันธุกรรมขึ้น โดยคาดหวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์กับงานที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องสั่งซื้อสไลด์ และสื่อการเรียนการสอนด้านนี้อีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อผลิตสื่อคาริโอไทป์โรคพันธุกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาพันธุศาสตร์ 2. เพื่อผลิตสไลด์ถาวรเกี่ยวกับโครโมโซมผิดปกติแบบต่างๆ ประกอบการใช้สื่อการเรียนการสอนโรคพันธุกรรม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ครูอาจารย์ ที่รับผิดชอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2. ครูพยาบาลวิชาชีพที่สอนในสถาบันวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร กระทรวงสาธารณสุข
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ก. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมงาน 1. ประชาสัมพันธ์หน่วยงานได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสพฐ. วิทยาลัยพยาบาลฯ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 2. ส่งรายละเอียดโครงการให้กับครูโดยตรง 1 ชุด และครูพยาบาล เพื่อให้ทราบเบื้องต้น ขั้นปฏิบัติงาน 1. ดำเนินการฝึกอบรมตามเนื้อหาที่วิทยากรนำเสนอและครูสนใจตามแบบสอบถาม 2. รูปแบบการดำเนินงาน 2.1 วิทยากรทุกคนทำงานร่วมกันทุกกิจกรรม 2.2 การอบรมเน้นอภิปรายโต้ตอบ ซักถามระหว่างวิทยากรกับผู้เข้าอบรม หลีกเลี่ยงการสอนแบบบรรยาย และปฏิบัติการจริง 2.3 บูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหาต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม 2.4 ฝึกทักษะปฏิบัติจริงบางหัวข้อตามความสนใจ โดยจัดปฏิบัติการให้ผู้เข้าอบรมลงมือปฏิบัติ 3. เปิดเวทีซักถาม อภิปราย และตอบปัญหาที่สงสัย ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลการดำเนินงานจากผู้เข้าร่วมอบรม 2. วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ขั้นสรุปและจัดทำรายงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. --- - - 80,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
07.30 – 08.00 น. ลงทะเบียน นางสาวกรรณิการ์ ประทุมภักดิ์
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
08.00 – 08.30 น. พิธีเปิด โดย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดงาน นางสาวกรรณิการ์ ประทุมภักดิ์
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
08.30 – 09.30 น. บรรยาย เรื่อง โรคพันธุกรรม โครโมโซมกับความผิดปกติ และรูปแบบการถ่ายทอดโรคพันธุกรรมจากพ่อ-แม่สู่ลูก ผศ. ดร. ถาวร สุภาพรม และผศ. แก้ว อุดมศิริชาคร
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
09.30 – 12.00 น. บรรยาย เรื่อง เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ และการย้อมแถบโครโมโซมแบบต่างๆ โดย ผศ. ดร. ถาวร สุภาพรม และผศ. แก้ว อุดมศิริชาคร
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
13.00 – 17.00 น. ปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการย้อมแถบโครโมโซมแบบต่างๆและเทคนิคการเตรียมสไลด์ถาวรของคนที่มีความผิดปกติขอ ผศ. แก้ว อุดมศิริชาคร ผศ. ดร. ถาวร สุภาพรม และนางสาวกรรณิการ์ ประทุมภักดิ์
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
08.00 – 12.00 น. ปฏิบัติการ เรื่อง การผลิตสื่อการเรียนการในรูปแบบสไลด์ถาวร และการจัดเรียงคาริโอไทป์ ผศ. ดร. ถาวร สุภาพรม ผศ. แก้ว อุดมศิริชาคร และนางสาวกรรณิการ์ ประทุมภักดิ์
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
13.00 – 17.00 น. ปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการใช้สื่อสำหรับการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและแผนภูมิแสดงการถ่ายทอดความ ผศ. ดร. ถาวร สุภาพรม ผศ. แก้ว อุดมศิริชาคร และนางสาวกรรณิการ์ ประทุมภักดิ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ครูอาจารย์ พยาบาลวิชาชีพ สามารถเตรียมตัวอย่างโครโมโซมและจัดเรียงคาริโอไทป์ได้ 2. ครูอาจารย์ พยาบาลวิชาชีพ สามารถผลิตสื่อการเรียนการสอนและใช้สื่อประการเรียนการสอนได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ 80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1101 200 Introduction to Genetics and 1101 201 Introduction to Genetics Laboratory
หลักสูตร จุลชีววิทยา
นักศึกษาชั้นปี : 2 คณะเกษตรศาสตร์
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น/สามารถสอบผ่านในรายวิชาเกิน ร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 28,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 19,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
19,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
3,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) ผู้ช่วยวิทยากร จำนวน 2 คน x จำนวน 3 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
1,800.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 10,402.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2.00 บาท )
1) ค่าจ้างพิมพ์เอกสารการอบรม
=
1.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารสรุปโครงการ
=
1.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 24.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 13.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
13.00 บาท
=
13.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 11.00 บาท )
1) ค่าสารเคมี
=
11.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 38,826.00 บาท