แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้วิทยาการระบาดในการสร้างงานวิจัยจากงานประจำสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : การส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
หัวหน้าโครงการ
นางเมรีรัตน์ มั่นวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ชีวสถิติ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ร่วมโครงการ
นายนิยม จันทร์นวล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : อาจารย์
ความเชี่ยวชาญ : พฤติกรรมศาสตร์ สุขศึกษา เพศศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพัจนภา วงษาพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พิษวิทยาทางอาหารและโภชาการ)
ประสบการณ์ : ผู้ขเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ 2555-2556
ความเชี่ยวชาญ : - อาหารและโภชนาการ - พฤติกรรมการบริโภคอาหาร -การประเมินความเสี่ยงในการได้รับสารอันตรายทางเคมีจากการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปัณฑิตา สุขุมาลย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : -ผู้จัดรายการปัญหาสุขภาพ สถานีวิทยุ FM. 98.5 มุกดาหาร ปี 2548 - 2550 -ผู้ร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการ การตรวจสุขภาพนักเรียน หิด เหา ปี 2554 -ผู้ร่วมโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการการดูแลผู้สูงอายุ 2556 -ผู้ร่วมโครงการวิจัย โครงการวิจัย รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านหัวเรือทอง หมู่ 16 ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทุนวิจัย สกว. -บทความวิจัย ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ความเชี่ยวชาญ : การให้คำปรึกษาครอบครัวและชุมชน การสื่อสารปัญหาชุมชน อนามัยชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
งานสาธารณสุขในพื้นที่ มีเป้าหมายสำคัญให้ประชาชนมีสุขภาวะ ประกอบด้วยภารกิจหลักที่สำคัญคือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยบทบาทของหน่วยงานสาธารณสุขต้องดำเนินตามภารกิจนี้ให้สำเร็จ และมีประสิทธิภาพ การที่หน่วยงานสาธารณสุขจะสามารถดำเนินงานทั้ง 4 ภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อชุมชน ต้องดำเนินงานภายใต้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง แม่นยำ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ภายใต้การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-base practice) ในปัจจุบันรูปแบบของปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาทางด้านสาธารณสุข รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในปัจจุบันมีลักษณะเป็นพลวัต เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บางครั้งมาตรการหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้อาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาสุขภาพของพื้นที่ในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องท้าทายที่หน่วยงานในระดับพื้นที่ ที่มีบทบาทหน้าที่ครอบคลุม 4 ภารกิจหลักต้องมีการปรับตัว เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งการดำเนินงานที่มีงบประมาณจำกัด การศึกษาหรือวิจัยทางวิทยาการระบาด เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจในสภาวะการเกิดโรค ค้นหาสาเหตุของการเกิดโรค รวมทั้งหามาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งประกอบด้วย วิทยาการระบาดเชิงพรรณนา วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์ และเชิงทดลอง รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง นำเสนอข้อมูล การนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ได้ถูกต้อง ทันเวลา เหมาะสมกับพื้นที่ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องมีความรู้ความเข้าใจ โดยการศึกษาและวิจัยทางด้านวิทยาการระบาดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้ง 4 ภารกิจ ซึ่งผลที่ได้จะส่งผลถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือหน่วยงานทางด้านสุขภาพอื่นๆ ซึ่งนำไปสู่การดำเนินงานสาธารณสุขภายใต้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-base practice) ซึ่งประชาชนและชุมชนจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อไป วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนา และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถนำการศึกษาและวิจัยทางวิทยาการระบาดไปใช้ในการดำเนินงาน สามารถพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค งานรักษาพยาบาล และงานฟื้นฟูสมรรถภาพ สามารถเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาการระบาดได้ถูกต้อง นำเสนอผลการศึกษา และนำผลการศึกษาไปใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม ประกอบกับปัจจุบันการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานนี้ จะต้องมีการนำเสนอผลงาน การทำวิจัยจากการปฏิบัติงานหรือจากงานประจำของตนเอง เพื่อขอปรับตำแหน่งหรือระดับขั้นที่สูงขึ้น แต่บุคลากรเหล่านี้บางส่วนยังมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิจัย ดังนั้น เพื่อลดการเกิดปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาการทำวิจัย วิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ จึงได้จัดอบรมเชิงการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้วิทยาการระบาดในการสร้างงานวิจัยจากงานประจำสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าใจถึงรูปแบบ ข้อดี ข้อจำกัด ของรูปแบบการศึกษา การเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง และสามารถนำผลกการวิจัยที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาภารกิจทั้ง 4 ภารกิจให้เกิดประสิทธิภาพต่อสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขสามารถเลือกใช้รูปแบบการวิจัยทางวิทยาการระบาดเพื่อตอบคำถามงานวิจัยในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
2.2. เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขมีความเข้าใจในการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวน การวิเคราะห์ข้อมูล และแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปได้อย่างถูกต้อง
3.3. เพื่อให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขสามารถเขียนรายงานผลการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
4.4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้การออกแบบการศึกษาวิจัยทางวิทยาการระบาด และทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานผลการศึกษาในการทำวิจัยให้ศิษย์เก่าที่ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน พยาบาลวิชาชีพ หรือนักวิชาการสาธารณสุข ที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ หรือ เทศบาลตำบล, เทศบาลอำเภอ, องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
-ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรมผ่านทางหนังสือราชการ , Website เพื่อรับสมัครผู้ร่วมอบรม ตามหน่วยงานราชการ เช่น เทศบาล, อบต., สสจ., สสอ., โรงพยาบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประสานงานผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อยืนยันการเข้าร่วมอบรม - ติดต่อประสานงานกับสำนักคอมพิวเตอร์เพื่อขอใช้ห้องคอมพิวเตอร์ และสถานที่ในการจัดอบรม - ประสานงานกับวิทยากร เพื่อจัดทำเอกสารประกอบการอบรม - เตรียมเอกสาร แบบประเมิน สถานที่ ในการอบรม - จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ - ส่งแบบประเมินผลทัศนคติต่อประโยชน์ของการอบรมโดยใช้แบบสอบถามประเมินหลังการอบรม 1 เดือน - ประเมินผลการอบรม และสรุปผลการจัดโครงการหลังจากเสร็จสิ้นโครงการภายในเวลา 3 เดือน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง --- --- --- 2,000.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัคร --- --- --- 0.00
3.ผลิตเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ --- - --- --- 7,200.00
4.ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- - --- 47,800.00
5.ประเมินผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ -ประเมินความพึงพอใจการจัดอบรม -ประเมินคะแนนก่อนและหลังการอบรม --- --- - --- 0.00
6.ประเมินผลทัศนคติต่อประโยชน์ของการอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- -- --- 1,000.00
7.รายงานผลการดำเนินงานโครงการ --- --- --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557 - 23 เมษายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
21 เมษายน พ.ศ. 2557
08.30-08.45 ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่
21 เมษายน พ.ศ. 2557
08.45-09.00 พิธีเปิดการอบรม โดยคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม
21 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00 – 10.30 น. บรรยาย การวัดทางวิทยาการระบาด (Measurement in Epidemiology) และ Bias, confounding and effect modifi อ.พลากร สืบสำราญ
21 เมษายน พ.ศ. 2557
10.30 – 12.00 น. บรรยาย Study design in epidemiology (รับประทานอาหารว่างในห้องเรียน) อ.พลากร สืบสำราญ
21 เมษายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักกลางวัน
21 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00-14.30 น. บรรยาย Observational and Analytical study และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล อ.พลากร สืบสำราญ
21 เมษายน พ.ศ. 2557
14.30 – 16. 00 น. บรรยาย Experimental study และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล (รับประทานอาหารว่างในห้องเรียน) อ.พลากร สืบสำราญ
22 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00 – 16.00 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูล Chi-square test or Fisher’s exact test เพื่อหา RR,OR และ 95%CI for RR อ. ทักษิณ พิมพ์พักตร์ และ
22 เมษายน พ.ศ. 2557
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
22 เมษายน พ.ศ. 2557
10.00 – 12.00 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา(Descriptive Epidemiology) (ต่อ) (รับประทานอา อ. ทักษิณ พิมพ์พักตร์ และ
22 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00 – 10.00 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา(Descriptive Epidemiology) อ. ทักษิณ พิมพ์พักตร์ และ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00 – 10.30 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวน (Confounders) และการพิสูจน์ effect Modif อ.พลากร สืบสำราญ และ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
10.30 – 12.00 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูล Univariable Logistic Regression analysis เพื่อหา RR ,OR และ 95%CI for อ.พลากร สืบสำราญ และ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
23 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00 – 14.30 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูล Univariable Logistic Regression analysis เพื่อหา RR,OR และ 95%CI for R อ.พลากร สืบสำราญ และ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
14.30 – 16.00 น. ปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวน (Confounders) และการพิสูจน์ effect Modif อ.พลากร สืบสำราญ และ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
16.00 – 16.30 น. ประเมินผลโครงการและมอบเกียรติบัตร โดย คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -ผู้ร่วมโครงการสามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้ ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน นำไปพัฒนาการวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -1. ผู้ร่วมโครงการสามารถเลือกรูปแบบการวิจัยได้ถูกต้องเหมาะสม 2. ผู้ร่วมโครงการสามารถเลือกรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผลได้ถูกต้อง 3. ผู้ร่วมโครงการสามารถเขียนรายงานผลการศึกษาได้ 4. ผู้ร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการวิจัยทางวิทยาการระบาด เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1902 207 วิทยาการระบาด
หลักสูตร วท.บ.(สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน -การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ในเรื่อง รูปแบบการศึกษาทางวิทยาการระบาด -ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในเรื่อง รูปแบบการศึกษาทางวิทยาการระบาด
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 19,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 12 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 18,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม 40 คน คนละ 80 บาท
=
3,200.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 22,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 12,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) คอมพิวเตอร์
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 60,000.00 บาท