แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมการใช้โซเชียลมีเดียและโอเพนซอร์สในการเรียนการสอน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : เสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางอารยา ฟลอเรนซ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Engineering (IT) Engineering (Micro Technology)
ประสบการณ์ : Teaching Data mining research CCNA Tutor
ความเชี่ยวชาญ : Network applications mobile applications mobile programming Micro fabrication MEMS optical properties of thin films
หัวหน้าโครงการ
นายธนกร ลิ้มสุวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วศม.สาขาวิศวกรรมเครื่องกล(พลังงาน) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : เซลล์สุริยะ ไมโครคอนโทลเลอร์ ระบบควบคุม โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเป็นการยากที่จะปฏิเสธการใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน นอกจากสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เราแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศยังซึมซับและมีบทบาทในการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งสามารถดึงดูดผู้เรียนได้ดีกว่าการสอนแบบดั้งเดิมที่ใช้กระดานและปากกามาร์คเกอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการเตรียมสื่อการสอนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนส่วนมากใช้งานโปรแกรมออฟฟิศเป็นหลัก และที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมากคือ MS-Office ที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับโปรแกรม ปัจจุบันมีโปรแกรมทางเลือกที่เป็นโอเพนซอร์ส แบบที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ยังไม่แพร่หลายใช้งานในสถาบันการศึกษามากเท่าที่ควรเนื่องจากไม่มีการตลาดเหมือนโปรแกรมของบริษัททั่วๆไป การนำมาประยุกต์ใช้โดยไม่มีผู้แนะนำอาจเป็นการยากสำหรับผู้เริ่มต้นที่มีพื้นฐานทางสารสนเทศไม่แข็งแรง ดังนั้นการอบรมและแนะนำจะทำให้ผู้ที่ต้องการใช้งานโอเพนซอร์สเหล่านี้มีความมั่นใจยิ่งขึ้นและสามารถเพิ่มความสามารถในการใช้งานโปรแกรมได้เท่าเทียมกันการใช้งาน MS-Office ทำให้การเปลี่ยนไปใช้โอเพนซอร์สในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงขึ้น นอกจากประยุกต์ใช้งานโอเพนซอร์สแล้ว ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้งานสารสนเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสอนของตน เพื่อสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและร่นเวลาในการเตรียมตัวสอนได้เป็นอย่างดี การใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยในการติดต่อกับผู้เรียน รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลผ่านทางเครือข่ายในกรณีที่มีผู้สอนมากกว่าหนึ่งคน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ที่ให้โอกาสผู้สอนและผู้เรียน เลือกที่จะทำงานที่ใดก็ได้ ที่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้เชื่อมต่อเพื่ออัพเดทข้อมูลของตนเอง เมื่อผ่านการอบรมครั้งนี้แล้วผู้เข้าอบรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาสอนของตนเอง อันได้แก่ การตั้งกลุ่มในโซเชียลมีเดีย การควบคุมการใช้งานกลุ่มในโซเชียลมีเดีย การใช้แอพพลิเคชั่นของกูเกิ้ลมาช่วยในการเรียนการสอน การเก็บข้อมูลผ่านระบบคลาว์ และการประยุกต์ใช้โปรแกรมออฟฟิศที่เป็นโอเพนซอร์ส เพิ่มความจูงใจในการเปลี่ยนมาใช้งานโปรแกรมที่เป็นโอเพนซอร์สมากขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ในเชิงสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน เน้นที่การใช้งานโซเชียลมีเดีย
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พึงระลึกถึงบริการบนเครือข่ายกูเกิ้ลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและสามารถที่จะเลือกและนำไปใช้ในการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างเหมาะสม
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พึงระลึกถึงโปรแกรมทางเลือกที่เป็นโอเพนซอร์ส และสามารถใช้งานทดแทนการใช้ MS-Office ได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดแถบอีสาณใต้ที่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
20 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
a. ประชาสัมพันธ์โครงการ b. รับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม c. อบรมตามแผนการดำเนินงาน d. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์ --- --- 3,000.00
2.รับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม -- --- --- 0.00
3.ดำเนินการอบรม --- -- --- --- 0.00
4.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมทำรายงาน --- -- --- --- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ร่วมโครงการสามารถลดค่าใช้จ่ายของ software หากนำ open source applications ไปทำการ implement ในหน่วยงานของตนเอง
ด้านสังคม : ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ของ Commercial softwares ในหน่วยงานราชการ มีการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันสมัย สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนโดยใช้งาน social media เข้ามาประยุกต์กับการเรียนการสอนในหน่วยงานของตนเอง
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
15
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
75
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1309 200
หลักสูตร วิศวกรรมไฟฟ้า
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาหันมาใช้ open source มากขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาทำโปรเจ็คด้วย open source

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 11,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 11,940.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 5,440.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
1,200.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 240.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
240.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 25 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 4,950.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 4,950.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
500 แผ่น x 0.50 บาท
=
250.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
500.00 บาท
=
500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
22 คน x 100.00 บาท
=
2,200.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 150.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 50 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
150.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 0 บาท
=
0.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 28,640.00 บาท