แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจการเงิน บนวิถีพอเพียง ภายใต้ความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาววิชดา ลิวนานนท์ชัย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การเงินและการธนาคาร
ประสบการณ์ : บริการวิชาการโครงการเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจพอเพียง และโครงการสุดยอดนักวางแผนทางการเงิน
ความเชี่ยวชาญ : การเงิน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังต้องเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ผันผวน ซับซ้อนและคาดการณ์ผลกระทบได้ยาก แม้ว่าในภาพรวมสังคมไทยมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง และมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งแตกต่างกันไปทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน และสังคม แต่ก็ยังไม่เพียงพอรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยงในหลายมิติ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการบริหารภาครัฐที่อ่อนแอ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งยังมีความเสี่ยงจากความเสื่อมถอยของค่านิยมที่ดีงามในสังคมไทย ความเสื่อมโทรมของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม รวมทั้งความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศ จึงจำเป็นต้องนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเสริมสร้างทุนที่มีอยู่ของประเทศให้ เข้มแข็ง ทั้งทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม เพื่อเตรียมพร้อมให้ประเทศสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงมีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ - แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ โดยยังคงยึดหลัก ?ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? และ ?คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา? รวมทั้ง ?สร้างสมดุลการพัฒนา? ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปในทางสายกลาง มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการวิเคราะห์อย่าง ?มีเหตุผล? และใช้หลัก ?ความพอประมาณ? ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุลระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเองกับความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง มีการเตรียม ?ระบบภูมิคุ้มกัน? ด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เพียงพอพร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้ ?ความรอบรู้? ในการพัฒนาด้านต่างๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทย รวมทั้งการเสริมสร้างศีลธรรมและสำนึกใน ?คุณธรรม? จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินชีวิตด้วย ?ความเพียร? อันจะเป็นภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ การพัฒนาประเทศในระยะแผนฯ ฉบับที่ ๑๑ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญหลายประการ อาทิเช่น - ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจกและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ เสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี - ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้ พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการปลูกฝังจิตใจที่มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย โครงการ เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจการเงินบนวิถีพอเพียง ภายใต้ความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) โดยมุ่งเน้นให้ความรู้แก่เยาวชนเพื่อให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ใน 2 เรื่องสำคัญได้แก่ 1. การวางแผนและการจัดการการเงิน อันเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับทุกคน เราควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนการเงินของตนเองอย่างรอบด้านทั้งในการหาเงิน การใช้เงิน การเก็บรักษาและการเพิ่มมูลค่าเงินอย่างชาญฉลาด ทีสำคัญเราต้องลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี 2. การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกคน เนื่องจากทำให้ผู้ปฏิบัติตามมีความสุขที่แท้จริง ไม่เน้นความสุขชั่วคราวที่เกิดจากวัตถุนิยม แต่เน้นความสุขที่ถาวรจากการตระหนักในความสามารถในการทำงานของตน ไม่ก่อหนี้จนเกินกำลังความสามารถผ่อนชำระของตนเอง เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองและครอบครัวทั้งด้านการเงินและสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ใช้ชีวิตตามแบบอย่างที่ไม่ดี ซึ่งปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวยังสามารถประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมี ความเข้าใจด้านการเงิน (understanding)จะช่วยให้เยาวชนมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเงิน ได้แก่ ธรรมชาติและหน้าที่ของเงิน แนวคิดในการหารายได้และการใช้จ่าย 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมี ความสามารถทางการเงิน (competency) จะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในด้านการบริหารจัดการการเงินของตน ให้รู้จักใช้อย่างฉลาด และเลือกช่องทางการลงทุนที่เหมาะสม โดยเยาวชนควรมีทักษะที่จะสามารถบอกถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวันของตนได้ด้วยความมั่นใจ 3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมี ความรับผิดชอบทางการเงิน (responsibility) จะช่วยให้เยาวชนตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและต่อเนื่องกันทั้งในเชิงบวกและเชิงลบด้านการเงิน และสังคม อันจะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรของชาติ ด้วยสำนึกในความรับผิดชอบ และเผยแพร่แนวคิดการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เยาวชนอันเป็นรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงจนกระทั่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเรียน การประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การถ่ายทอดทักษะความรู้ด้านการจัดการการเงินและการประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงแก่เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้เยาวชนนำกลับไปเผยแพร่แก่ชุมชนสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน จึงมีการจัดกิจกรรมย่อยดังต่อไปนี้ ? การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านกิจกรรม walk rally 4 ฐานการเรียนรู้ เพื่อปลูกฝังและสร้างเสริมลักษณะนิสัยและทัศนคติที่ดีในการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ทั้งในเรื่องการบริโภค การออม และการลงทุน รู้จักและเข้าใจข้อดี ข้อเสีย และรู้จักเลือกใช้ และบริหารจัดการแหล่งเงินทุนประเภทต่างๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีทักษะและเข้าใจในความถนัด ความสามารถของตนเอง รวมถึงการแสวงหาโอกาสและใช้โอกาสอย่างเหมาะสมในงานอาชีพสาขาต่างๆ รู้จักการทำมาค้าขายและดำเนินธุรกิจ เข้าใจระบบเศรษฐกิจและธุรกรรมระหว่างประเทศอย่างสังเขป มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมตามความเหมาะสม การจัดการเรียนการสอนในเรื่องเศรษฐกิจและการเงินเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยาก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการสอนรูปแบบใหม่ ?การเรียนโดยใช้กิจกรรมประกอบ (Activities Base)? เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ อยากเรียนรู้ด้วยความสนุกอันจะนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง ? การศึกษาดูงานธุรกิจ / ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการการเงินและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ? การประกวดจัดนิทรรศการมีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ณ ชุมเชนของเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมเตรียมจัดงาน - --- --- --- 0.00
2.ประสานงานหน่วยงานต่างๆ - --- --- --- 0.00
3.ประชาสัมพันธ์ -- -- --- --- 0.00
4.รับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ --- - --- --- 0.00
5.สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ --- - --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
0 พ.ศ. 543
13.00-16.00 ฐานที่ 3 “รู้ใช้” - ฝึกอบรมการวางแผนการเงินโดยยึดหลักแนวเศรษฐกิจพอเพียง - ฝึกปฏิบัติจัดทำบัญชีครัว คณาจารย์คณะบริหารศาสตร์ สาขาการเงินและการธนาคาร
0 พ.ศ. 543
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
0 พ.ศ. 543
13.00-16.00 ฐานที่ 4 “รู้ขยายผล” (ต่อ) - ฝึกปฏิบัติการวางแผนการเงินผ่านเกม Live and Learn Finance คณาจารย์คณะบริหารศาสตร์ สาขาการเงินและการธนาคาร
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2013
9.00-12.00 ฐานที่ 4 “รู้ขยายผล” - เกมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยี “โปรแกรมระบบจำลองการซื้อ คณาจารย์คณะบริหารศาสตร์ สาขาการเงินและการธนาคาร
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
09.00-12.00 Walk rally 4 ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 “รู้หา” - แบบทดสอบความถนัดในอาชีพ - แผนที่ชีวิต ฐานที่ 2 “ คณาจารย์คณะบริหารศาสตร์ สาขาการเงินและการธนาคาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. ผู้เข้าร่วมอบรมเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและการวางแผนการเงินในชีวิตประจำวันทั้งการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ 2. ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาวางแผนการเงินส่วนบุคคลและของครอบครัวเพื่อให้เกิดสมดุลของรายรับและรายจ่าย 3. เผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต่อสาธารณชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา Seminar in Finance & Banking
หลักสูตร หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการเงินและการธนาคาร
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 37,120.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,320.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
1,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,720.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
6,720.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 24,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม (500 * 10 โรงเรียน)
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมานักศึกษาช่วยงาน (200 บาท/คน/วัน *10 คน * 2 วัน)
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,280.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 8,280.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
9,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,780.00 บาท
=
3,780.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 70,000.00 บาท