แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เปิดบ้านศิลปศาสตร์
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายชญานนท์ แสงศรีจันทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : จารึกภาษาไทย
ประสบการณ์ : 1. หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2549 2. หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2545 2549-2550 และ 2555
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น การอ่านเอกสารโบราณ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะศิลปศาสตร์เป็นองค์กรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ดำเนินการสอนในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเปิดสอนในระดับปริญญาตรีตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และเปิดสอนในระดับปริญญาโทเมื่อ พ.ศ. 2545 ปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์เปิดสอนทั้งในหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท รวมทั้งสิ้น 10 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 8 หลักสูตรคือ การท่องเที่ยว ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร การพัฒนาสังคม ประวัติศาสตร์ ภาษาไทยและการสื่อสาร ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และนิเทศศาสตร์ และหลักสูตรระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร คือสังคมศาสตร์และการพัฒนา และ การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ โดยหลักสูตรทั้งหมดดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์คณะที่ว่า ?ศูนย์กลางความรู้ด้านภาษา สังคม และวัฒนธรรมในอีสานใต้และลุ่มน้ำโขง ? คณะศิลปศาสตร์มีหลักสูตรที่หลากหลายทั้งด้านภาษา วัฒนธรรมและสังคม แต่ละปีหลักสูตรดังกล่าวทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทสามารถผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมเป็นจำนวนมาก และบัณฑิตเหล่านั้นต่างก็ออกไปรับใช้สังคมโดยการทำงานในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากการผลิตบัณฑิตแล้ว เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวคณะยังดำเนินพันธกิจทางด้านการวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางด้านภาษา สังคม และวัฒนธรรม โดยในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาคณะมีโครงการวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอีสานใต้และลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก เช่น ชุดโครงการวิจัยชายแดน โครงการบริการวิชาการอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการแสดงละครภาษาอังกฤษของหลักสูตรภาษาอังกฤษและการสื่อสารเป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นคณะยังมีศูนย์ข้อมูลอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้งที่เป็นหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุต่างๆ อย่างไรก็ดีแม้ว่าคณะจะมีภารกิจทั้งการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมออกสู่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ และภารกิจกิจดังกล่าวยังตอบสนองต่อการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC )ใน พ.ศ 2558 อีกด้วย แต่การดำเนินการทางวิชาการของคณะยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก อนึ่ง คณะศิลปศาสตร์ได้จัดโครงการเปิดบ้านศิลปศาสตร์ในปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมา และได้จัดรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งในภายในคณะศิลปศาสตร์ และในภายนอกสถานที่คือ ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี การดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จด้วยดี อย่างไรก็ตาม การจัดโครงการเปิดบ้านศิลปศาสตร์ในลักษณะดังกล่าว ยังจำเป็นต้องขยายพื้นที่ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างและควรกระทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเห็นควรจัดโครงการเปิดบ้านศิลปะศาสตร์ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ เครือข่ายการบริการวิชาการ และเครือข่ายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับองค์กรภายนอกในเขตพื้นที่บริการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับพันธกิจของคณะทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานทางวิชาการและหลักสูตรต่างๆของคณะศิลปศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
2.เพื่อสร้างเครือข่ายวิชาการ การให้บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระหว่างคณะศิลปศาสตร์และโรงเรียน /ชุมชน /องค์กรในเขตพื้นที่ให้บริการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนและครูแนะแนวในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่บริการ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
500 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ติดต่อเชิญวิทยากร และติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.จัดกิจกรรมในภายในคณะและภายนอกคณะ 5.จัดประชุมสรุปงาน 6.รายงานผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อวางแผนการทำงาน --- --- --- 0.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ -- --- --- 0.00
3.ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/โรงเรียนที่เกี่ยวข้อง --- - - --- 0.00
4.จัดกิจกรรมภายนอกคณะและภายในคณะ --- --- - 200,000.00
5.จัดประชุมเพื่อสรุปงาน --- --- -- - 0.00
6.รายงานผลการดำเนินงาน --- --- --- - 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 130 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
21 เมษายน พ.ศ. 2557
08.30 น. ลงทะเบียน -
21 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00 พิธีเปิด กล่าวรายงานโดยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวเปิดโครงการโดยคณบดีคณะศิลปศาสตร์
21 เมษายน พ.ศ. 2557
09.15 น. เสวนา “เรียนอะไรดีที่ศิลปศาสตร์” รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ประธานหลักสูตร
21 เมษายน พ.ศ. 2557
11.00 ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปิดการประชุม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
14.30 น. กิจกรรมนันทนาการ การแสดงของนักศึกษา สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
13.00 น. การแข่งขันตอบปัญหาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คณาจารย์ และนักศึกษา
25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
11.15 น. กิจกรรมนันทนาการ การแสดงของนักศึกษา สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
09.15 น. เสวนา “เรียนอะไรดีที่ศิลปศาสตร์” รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และประธานหลักสูตรทุกหลักสูตร
25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
09.00 น. พิธีเปิด กล่าวรายงานโดยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
08.30 น. ลงทะเบียน
25 สิงหาคม พ.ศ. 2557
15.30 น. พิธีมอบรางวัลชนะเลิศการแข่งขันการตอบปัญหาระดับมัธยมศึกษาปลาย และพิธีปิด คณบดีคณะศิลปศาสตร์/ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : เกิดเครือข่ายวิชาการ การให้บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระหว่างคณะศิลปศาสตร์ กับโรงเรียน/ชุมชน/องค์กรในเขตพื้นที่ให้บริการวิชาการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ผลงานทางวิชาการและหลักสูตรต่างๆของคณะศิลปศาสตร์เป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีผู้เข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
450
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ความคุ้มค่าโดยคิดค่าเฉลี่ยต่อผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด คนละ 400 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา กำหนด 1 รายวิชา ในแต่ละหลักสูตร
หลักสูตร ปริญญาตรีทั้งหมดในคณะ
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาร้อยละ 80ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 6,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 172,360.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 63,360.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 คืน x จำนวน 6 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
28,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 34,560.00 บาท )
1) จำนวน 12 วัน x จำนวน 12 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
34,560.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 500 คน
=
12,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 89,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสถานที่ 12 วันx2 วันx 1000 บาท
=
24,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาซุ้มหลักสูตร 13 โครงการx5000 บาท
=
65,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 21,640.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 21,640.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,640.00 บาท
=
3,640.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
18,000.00 บาท
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท