แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการเผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ 2556
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : โครงการการให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวณวีร์พัช บุญโสภา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ซึ่งการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์แต่ละสังคมนั้นจะมีกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน ในยุคดั้งเดิมนั้นมนุษย์สามารถที่จะรู้กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันได้โดยตัวของมนุษย์แต่ละคนเองเพราะกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันนั้นสอดคล้องกันศีลธรรมและมโนธรรมสำนึกผิดชอบชั่วดีของมนุษย์เอง มนุษย์จึงสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจกฎเกณฑ์เหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่ในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นคือ กฎเกณฑ์ที่เรียกว่ากฎหมาย ซึ่งกฎหมายในยุคปัจจุบันนั้นจะเป็นเรื่องทางเทคนิคมากขึ้นและมนุษย์จะไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงตัวกฎหมายได้โดยตัวของมนุษย์เองเช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันในยุคดั้งเดิม และการที่มนุษย์ไม่รู้กฎหมายนี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ละเมิดกฎหมายหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่รู้กฎหมาย อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม หากไม่มีความเป็นธรรมในสังคมแล้วความสงบสุขในสังคมก็จะไม่มีเกิดขึ้นและสังคมมนุษย์สังคมนั้นก็จะล่มสลายไปในที่สุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น เป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในฐานะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีและได้รับการศึกษาในระดับที่ไม่สูงนัก ประชาชนในพื้นที่นี้จึงขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย อันเป็นสาเหตุให้เกิดการถูกเอารัดเอาเปรียบเนื่องจากความไม่รู้กฎหมาย เมื่อเกิดปัญหามีข้อพิพาททางกฎหมายขึ้นก็ไม่สามารถที่จะหาที่พึ่งที่จะให้ความช่วยเหลือในทางกฎหมายที่น่าเชื่อถือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้น ประชาชนทั่วไปจึงมีความคาดหวังว่าคณะนิติศาสตร์จะสามารถเป็นที่พึ่งทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ ด้วยความตระหนังถึงภารกิจของคณะที่มหาวิทยาลัยได้มอบหมายและความคาดหวังดังกล่าวข้างต้น คณะนิติศาสตร์จึงได้จัดตั้งศูนย์เผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย (ศชปก.) ขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการให้บริการวิชาการทางกฎหมายในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การจัดเผยแพร่กฎหมายโดยการบรรยายในรูปแบบของกิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร การจัดประชุม/อบรม/สัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น แต่เนื่องจากคณะนิติศาสตร์เป็นคณะที่อยู่ในกำกับของมหาวิทยาลัย งบประมาณของคณะนิติศาสตร์ที่จะสนับสนุนการให้บริการวิชาการทางด้านนิติศาสตร์แก่ประชาชนทั่วไปจึงมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ศูนย์เผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงจัดทำโครงการเผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ 2556 ขึ้น โดยมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป

วัตถุประสงค์
1.จัดกิจกรรมอบรมกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันหรือกฎหมายเฉพาะเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในชนบทหรือประชาชนที่มีปัญหาทางกฎหมายเฉพาะเรื่องในรูปแบบของนิติศาสตร์สัญจร ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และองค์กรภาคประชาชน
2.จัดให้คำปรึกษาทางกฎหมายให้แก่นักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป
3.จัดนิทรรศการ/จัดพิมพ์แผ่นพับ/จุลสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันไว้เผยแพร่
4.จัดเผยแพร่กฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายปกครองและกฎหมายอื่นผ่านสื่อวิทยุ
5.จัดกิจกรรมเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ์ ครั้งที่ 4
6.จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ
7.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการทางกฎหมายกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์กรภาคประชาชน และโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัยผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ
8.เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านกฎหมายในกลุ่มสาขาวิชาของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ โดยการจัดเวทีให้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ประชาชนทั่วไปในชนบท (ที่เข้าร่วมกิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร) 2. นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป (ที่ขอรับคำปรึกษาทางกฎหมาย) 3. ผู้บริหาร สมาชิกและเจ้าหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีอำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ (ที่ได้อ่านจุลสารกฎหมายเพื่อประชาชน) 4. ครู/นักเรียนโรงเรียนมัธยมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ (ที่ได้อ่านจุลสารกฎหมายเพื่อประชาชน) 5. นักเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าค่ายเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ครั้งที่ 4 6. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ (24 มิถุนายน 2475)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
1730 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ 2. ดำเนินการจัดทำสื่อ (นิทรรศการ, แผ่นพับ จุลสารกฎหมายเพื่อประชาชน หนังสือ?สารพันปัญหากฎหมายจากการสัญจร?) 3. ประสานงานกลุ่ม/ชุมชน/องค์กร/หน่วยงานต่างๆ (โรงเรียน, องค์การบริหารส่วนตำบล) เพื่อเชิญเป็นองค์กรร่วมจัดกิจกรรมตามโครงการและเป็นกลุ่มเป้าหมายในการเข่าร่วมกิจกรรม 4. เริ่มจัดกิจกรรมต่างๆไปตามแผนการดำเนินงาน 5. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.กิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร, ให้คำปรึกษาทางกฎหมายและความช่วยเหลือทางคดี และจัดทำสื่อกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน --> จุลสารกฎหมายเพื่อประชาชนฉบับที่ 1 --- --- --- 55,126.00
2.กิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร และกิจกรรมให้คำปรึกษาทางกฎหมายและความช่วยเหลือทางคดี --- --- --- 42,258.00
3.กิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร, กิจกรรมให้คำปรึกษาทางกฎหมายและความช่วยเหลือทางคดี, กิจกรรมจัดทำสื่อกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ฉบับที่ 2 ,ค่ายเครือข่ายเยาว --- --- --- 297,483.00
4.กิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร, กิจกรรมให้คำปรึกษาทางกฎหมายและความช่วยเหลือทางคดี และจัดทำสื่อกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน -->จุลสารกฎหมายฉบับที่ 3 --- --- --- 55,133.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
08.30 - 16.30 ให้คำปรึกษาทางกฎหมายและความช่วยเหลือทางคดี คณะกรรมการศูนย์เผยแพร่ฯ
14 ธันวาคม พ.ศ. 2555
07.00- 17.00 นิติศาสตร์ครั้งที่ 1 - 8 คณะกรรมการศูนย์เผยแพร่ฯ
21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
จัดทำสื่อกฎหมายที่จำเป็นในชีวิต ประจำวัน --> จุลสารกฎหมายเพื่อประชาชน 3 ฉบับ (ฉบับละ 1,500 คณะกรรมการศูนย์เผยแพร่ฯ
23 เมษายน พ.ศ. 2556
07.00 - 21.30 ค่ายเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ครั้งที่ 4 คณะกรรมการศูนย์เผยแพร่ฯ และคณะกรรมการสิทธิฯ
24 มิถุนายน พ.ศ. 2556
08.30 - 16.30 กิจกรรมประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ (24 มิถุนายน 2475) คณะกรรมการศูนย์เผยแพร่ฯ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ประชาชนทั่วไปในชนบท (ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของตนเองมากยิ่งขึ้น 2. นักศึกษา/ประชาชน/บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีปัญหาในทางกฎหมาย ได้รับคำปรึกษาทางกฎหมายที่ถูกต้อง เป็นกลางโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 3. ผู้บริหาร สมาชิกและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น/ครู/นักเรียนโรงเรียนมัธยมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และ จังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับจุลสารกฎหมายเพื่อประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวันที่จำเป็น 4. นักเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าค่ายเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน 5. เกิดเครือข่ายในการประสานงานในการทำงานด้านการบริการวิชาการทางด้านนิติศาสตร์ 6. ทำให้เกิดการพัฒนาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านกฎหมายในกลุ่มสาขาวิชาของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
1730
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่า

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา กฎหมายลักษณะนิติกรรมและหนี้, กฎหมายลักษณะละเมิด, จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ ,กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน, กฎหมายลักษณะครอบครัว, กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 - 2,
หลักสูตร นิติศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ได้ศึกษาได้เรียนรู้จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติสอบข้อเท็จจริง
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีรายงานกรณีศึกษาที่นักศึกษาได้จัดทำ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 0.00 บาท