แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมสัมมนาการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาววิลาสินี แสงคำพระ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวมนัสดา ชัยสวนียากรณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาขาการบัญชีบริหาร(Managerial Accounting)
ประสบการณ์ : การบัญชีภาษีอากร/การบัญชีภาคธุรกิจผลิต/การบัญชีธุรกิจบริการ/การบัญชีกิจการซื้อมาขายไป/การวางระบบบัญชี/การจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express/Autoflight/Easy Acc
ความเชี่ยวชาญ : การบัญชีภาษีอากร/การบัญชีภาคธุรกิจผลิต/การบัญชีธุรกิจบริการ/การบัญชีกิจการซื้อมาขายไป/การวางระบบบัญชี/การจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express/Autoflight/Easy Acc
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) นั้น ข้อมูลทางบัญชีและรายงานทางเงินถือว่าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีความสำคัญในการสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการว่ามีความสามารถด้านการทำกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันก็ทำให้ทราบถึงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ งวดเวลาปัจจุบัน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล ดังนั้น นักบัญชีจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) เป็นอย่างมากในการสะท้อนผลการดำเนินงานในรูปของงบการเงินประเภทต่าง ๆ ประกอบกับในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยต้องเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ย่อมส่งผลกระทบทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี กระบวนการจัดทำบัญชี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก นักบัญชีต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่นักบัญชีต้องตระหนักถึง คือ กรอบมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับนักบัญชี เพราะถ้านักบัญชีขาดกรอบมาตรฐาน อันได้แก่การทุจริต ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง การเปิดเผยข้อมูลอันมิชอบ และการตกแต่งตัวเลขในงบการเงิน ซึ่งส่งผลกระทบกับธุรกิจหลายด้านคือแสดงข้อมูลที่เป็นเท็จ หลบเลี่ยงภาษี หรืออาจส่งผลให้ธุรกิจล้มละลายได้ ดังนั้นหน่วยจัดการเรียนการสอนจังหวัดมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตทางด้านบัญชีเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ ตลอดจนมุ่งเน้นการให้บริการความรู้แก่ชุมชน โดยเฉพาะการจัดทาบัญชีและนำเสนองบการเงินให้เป็นไปตามหลักการบัญชีรับรองทั่วไป จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการปลูกฝังจิตสำนึกและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีภายใต้กรอบมาตรฐานดังกล่าวให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรบัญชี และผู้สนใจ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และยึดหลักการดำเนินอาชีพแบบรู้เท่าทันตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการเรียนการสอน การดำเนินชีวิต และการทำงานได้อย่างมีความสุขทั้งการทำงานและการดำรงชีวิตต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ทำบัญชีและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีและภาษีอากรหรือผู้สนใจทั่วไป
2.เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่คณาจารย์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้
3.เพื่อตอบสนองเป้าประสงค์ตามกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยและของประเทศชาติในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณค่าเชิงวิชาการและเป็นกำลังของชาติได้เป็นอย่างดี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้ทำบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) 2. ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) 3. ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีและภาษีอากรหรือผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อชี้แจงและกำหนดรายละเอียดของโครงการ 2.ติดต่อและประสานงานวิทยากร และสถานที่จัดอบรม 3.จัดทำบันทึกข้อความขออนุมัติโครงการ 4.ดำเนินงานตามโครงการ 5.ประชาสัมพันธ์โครงการ 6.จัดการอบรม 7.ประเมินผลโครงการ 8.สรุปผลการดำเนินงาน และตั้งเรื่องเบิกจ่าย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อชี้แจงและกำหนดรายละเอียดของโครงการ -- --- --- --- 2,000.00
2.ติดต่อและประสานงานวิทยากร และสถานที่จัดอบรม -- --- --- --- 5,000.00
3.จัดทำบันทึกข้อความขออนุมัติโครงการ -- --- --- --- 0.00
4.ดำเนินงานตามโครงการ -- --- --- --- 5,000.00
5.ประชาสัมพันธ์โครงการ -- --- --- --- 5,000.00
6.จัดการอบรมสัมมนา --- -- --- --- 46,400.00
7.ประเมินผลโครงการ --- -- --- --- 1,000.00
8.สรุปผลการดำเนินงาน และตั้งเรื่องเบิกจ่าย --- -- --- --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 รวมเวลา 151 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
21 มกราคม พ.ศ. 2557
08.00-08.45 ลงทะเบียน
21 มกราคม พ.ศ. 2557
08.45-09.00 พิธีเปิดการอบรมสัมนา - กล่าวรายงาน -กล่าวเปิดการอบรม
21 มกราคม พ.ศ. 2557
09.00-12.00 หลักการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธาระ (NPAEs) นายอนุชา บุญเกษม/นายทยากร สุวรรณปักษ์/นางสาวมนัสดา ชัยสวนียากรณ์
21 มกราคม พ.ศ. 2557
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
21 มกราคม พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ประเด็นปัญหาที่พบจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (N ผู้ทรงวุฒิจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
21 มกราคม พ.ศ. 2557
16.00-17.00 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ผู้ทรงวุฒิจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์/นายอนุชา บุญเกษม

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -ผู้ทำบัญชี/ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)/ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีและภาษีอากร/ผู้สนใจทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -เพิ่มขีดความสามารถให้แก่คณาจารย์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ -ตอบสนองเป้าประสงค์ตามกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยและของประเทศชาติในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณค่าเชิงวิชาการและเป็นกำลังของชาติได้เป็นอย่างดี

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้ร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น/สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนโครงการวิจัยของนักศึกษาที่ได้จากการบริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 6,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 6,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 45,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 8,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 7,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 7,000.00 บาท
=
7,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
1,200.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 25,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 250.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
25,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 1,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 14,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 14,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
7,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
100 คน x 50.00 บาท
=
5,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 300.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 100 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
300.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 0 บาท
=
0.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 66,400.00 บาท