แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดความรู้และบริการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มและน้ำอุปโภคบริโภคเพื่อเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการพระราชดำริในการพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวสมจินตนา ทวีพานิชย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์มากที่สุดอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต มนุษย์ใช้ประโยชน์จากน้ำ ทั้งทางด้านอุปโภคบริโภค การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม การเกษตร ผลิตพลังงาน รวมทั้งการพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้น้ำยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จากข้อมูลของฝ่ายทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ.2547 จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสภาพของระบบน้ำดื่มจากแหล่งธรรมชาติโดยทั่วไป ไม่ต่างจากภาพรวมของประเทศ คือ บางแห่งดำเนินการได้ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ บางแห่งได้ปริมาณพอเพียงแต่คุณภาพต่ำ บางแห่งผลิตได้ไม่เพียงพอและมีคุณภาพต่ำ บางแห่งถึงกับปิดกิจการเลยก็มี เนื่องจาก แหล่งน้ำดินแห้ง หรือไม่ก็ระบบชำรุดเสียหายจนเกินกำลังความสามารถที่จะซ่อมแซมได้ หรือบางแห่งชำรุดเสียหายเล็กน้อยแต่ไม่ได้รับการซ่อมแซมแก้ไข จำเป็นต้องปล่อยทิ้งไว้ นอกจากนี้หากแหล่งน้ำถูกทำลายหรือเน่าเสียที่เกิดจากการระบายน้ำเสียจากบ้านเรือนและสถานประกอบการต่าง ๆ ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ อันเนื่องมากจากความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาเมือง การพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ตลอดจนอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวของไทย และการใช้เทคโนโลยีต่างๆ อย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม มลพิษจากน้ำมัน สารเคมี น้ำเสีย ขยะ จากเรือ และจากอากาศเป็นพิษ ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต จนเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ จึงจำเป็นที่สิ่งแวดล้อมทางน้ำต้องได้รับการคุ้มครองเพื่อคงประโยชน์แก่ประชากรโลก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยที่มีโอกาสในการทำงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ซึ่งมีการบริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจในการบริการวิชาการแก่ชุมชน เนื่องจากมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การกำหนดแผนแม่บทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยการพัฒนาเป็น cluster และ supply chain ของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง หรือการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือว่าเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยเช่นกันที่จะร่วมมือกับชุมชนและภาคอุตสาหกรรมในการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการให้ความเข้าใจด้านการติดตามดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะเน้นในชุมชนเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเป็นชุมชนต้นแบบในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี ต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ภารกิจเหล่านี้ถือว่าเป็นภารกิจหนึ่งของทุกๆ มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ได้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดตั้งหน่วยวิเคราะห์คุณภาพน้ำขึ้น เป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่มีการบริหารจัดการแบบอิสระจากระบบราชการและสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นงานบริการวิชาการของคณะฯ โดยมิได้มุ่งหวังกำไร ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำตามดัชนีที่ชี้วัดคุณภาพน้ำต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น การวิเคราะห์น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินในการสำรวจคุณภาพแหล่งน้ำ วิเคราะห์คุณภาพน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินเพื่อจัดหาน้ำสะอาด วิเคราะห์น้ำเสียก่อนบำบัดและน้ำทิ้งหลังบำบัดเพื่อออกแบบระบบบำบัดหรือติดตามระบบบำบัด โดยมีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดังนั้น โครงการการถ่ายทอดความรู้และบริการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มและน้ำทิ้งอย่างง่ายเพื่อเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำดื่มธรรมชาติและคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคเพื่อใช้ในการบริโภคและอุปโภคของชุมชนเพื่อเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนอีกด้วย น่าจะมีผลให้ประชาชนในชุมชน มีการจัดการแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อให้มีระบบน้ำจากแหล่งน้ำดื่มธรรมชาติที่มีมาตรฐาน เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำดื่มให้มีคุณภาพสะอาด ปลอดภัย ให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการระบบน้ำจากแหล่งน้ำดื่มธรรมชาติและชุมชนใกล้เคียงมีสุขอนามัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อหวังให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและนำความรู้ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมไปเผยแพร่ในชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในชุมชนอื่นๆต่อไป นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการของหน่วยงานที่ทำงานเช่นเดียวกันในมหาวิทยาลัย และนำไปสู่การบูรณาการกับการเรียนการสอน และการวิจัยด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำดื่มธรรมชาติและน้ำอุปโภคบริโภค (น้ำคลอง) เพื่อใช้ในการบริโภคและอุปโภคของชุมชนเพื่อเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน
2.เพื่อเสนอวิธีการบำบัดน้ำ (น้ำคลอง) เพื่อให้เป็นน้ำบำบัดที่ปลอดภัยในชุมชนยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน นักเรียน ครูและบุคคลที่สนใจในชุมชนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ จ.ศรีสะเกษ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม บ้านท่าแสนคูณ และบ้านคำสะอาด จ.อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การเตรียมการ - ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วม 2.การศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน - ศึกษาแนวทางการบริการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มและน้ำอุปโภคบริโภค (น้ำคลองและน้ำบาดาล) เพื่อเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 3. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ - ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มและน้ำอุปโภคบริโภค (น้ำคลองและน้ำบาดาล) ระดับชุมชน - ศึกษาแนวทางในการวิธีการบำบัดน้ำอุปโภคบริโภค (น้ำคลองและน้ำบาดาล) เพื่อให้เป็นน้ำบำบัดที่ปลอดภัยในชุมชนยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องได้ 4. การจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงาน นิทรรศการ 5. การติดตามและประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การเตรียมการ - ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วม - เตรียมงานเบื้องต้นและติดต่อประสานงานกับวิทยากร - จัดเตรียมอุปกรณ์และ --- --- --- 5,000.00
2.การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ - ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มและน้ำอุปโภคบริโภค (น้ำคลองและน้ำบาดาล) ระดับชุมชน - ศึกษาแนวทางในการวิธีการบำบัดน -- -- 180,000.00
3.การจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงาน นิทรรศการ --- --- --- 20,000.00
4.หลังจากการวิเคราะห์นำผลมาสรุปรวมกับชุมชน --- --- --- 25,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. เพื่อให้ประชาชนและบุคคลที่สนใจในท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เรียนรู้ชุมชน สร้างความเข้าใจตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของน้ำ 2. สามารถนำความรู้และแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนไปเผยแพร่ต่อไปได้ และเกิดความร่วมมือมากยิ่งขึ้น 3. มีจิตสำนึกในการใช้ บำรุงรักษา รู้สึกหวงแหนทรัพยากรน้ำในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมโทรม 4. เล็งเห็นความสำคัญ และเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการแก้ปัญหาและแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน 5. ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นบทบาทในการรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การใช้และจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อการดำรงชีพของมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1. สามารถวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำบำบัดอย่างง่ายสำหรับอุปโภคและบริโภคของชุมชนที่สะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2. ทราบแนวทางในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวิเคราะห์คุณภาพน้ำการจัดการสิ่งแวดล้อม
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเคมีและสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ 80
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนโครงการวิจัยของนักศึกษาที่ได้จากการบริการวิชาการอย่างน้อย 1 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 68,100.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 57,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 57,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
28,800.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 10,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
4,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,300.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
6,300.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 59,480.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 13,680.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,800.00 บาท
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,200.00 บาท
=
3,600.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,880.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
2,880.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
2,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
1,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 20,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
12,800.00 บาท
2) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 22,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแม่บ้านทำความสะอาด
=
2,000.00 บาท
2) ค่าจัดนิทรรศการแสดงผลงาน
=
10,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาพิมพ์ข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานการเบิกจ่ายเงินพัสดุ
=
3,000.00 บาท
4) ค่าพาหนะเพิ่มเติม
=
4,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาพิมพ์ข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินและพัสดุ
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 72,420.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 57,420.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
80 คน x 550.00 บาท
=
44,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
4,420.00 บาท
=
4,420.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์(แผ่นซีดี หมึกปริ้นและอื่นๆ)
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท