แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2557
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน
นโยบาย : บริการวิชการด้านอื่นๆ : โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ และเอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D.(Animal Production) Humboldt-Universitat zu Berlin BerlinGermany.2002. วท.ม.(เกษตรศาสตร์) สัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย.2532. วท.บ.(เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่นประเทศไทย.2529.
ประสบการณ์ : - โครงการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาอาชีพการปลูกหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี - ประธานหลักสูตร วท.ม.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท - โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนพัฒนาสังคมและสุขภาวะจังหวัดอุบลราชธานี - โครงการการพัฒนาโจทย์วิจัยเรื่องปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงธุรกิจเกษตรแบบมีพันธะสัญญาระหว่างอุบลราชธานี-จำปาสัก
ความเชี่ยวชาญ : ระบบสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.วสุ อมฤตสุทธิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย และการทำงานในทุกภาคส่วน ในงานแขนงต่างๆ ได้มีการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ความรวดเร็ว ความถูกต้อง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบกับเพื่อให้นักวิชาการ นักศึกษา บุคลากรในสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงผู้สนใจ ได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หรือภาคเอกชนในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการขึ้น เพื่อให้นักวิชาการ นักศึกษา บุคลากรในสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงผู้สนใจ ได้นำเสนอผลงานวิจัยพัฒนาสู่สาธารณะ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ ระหว่างผู้ร่วมสัมมนา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์โครงการเดิมที่เกี่ยวข้อง ๑.โครงการประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี ๒๕๕๕ เป็นโครงการที่พัฒนามาจาก การสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตรและการพัฒนาชนบทที่ทำให้เกิดเวทีทางวิชาการของกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นซึ่งปัจจุบันได้แพร่หลายในทุกระดับหน่วยงาน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้บริหารหน่วยงานกว่า ๑๐ หน่วยงานที่เข้าร่วมและได้ส่งบุคลากรเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในหลักสูตรของคณะ ๒.ทั้งนี้คณะเกษตรได้ขยายความร่วมมือในการจัดเวทีสัมมนาให้เกิดความร่วมมือภายในหน่วยงานมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย และคณะเกษตรศาสตร์ ๓.เป้าหมายผู้เข้าร่วมสัมมนา ๑๕๐ คน มีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น ๑๓๙ คน ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่โดยภาพรวมของโครงการมีความพึงพอใจที่มีระดับดี ได้แก่ ความทันสมัยของเนื้อหา ความน่าสนใจของเนื้อหา ความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา ประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ เอกสารประกอบการจัดนิทรรศการ และความเหมาะสมของระยะเวลาสัมมนา ๔.หน่วยงานภายนอกให้ความสนใจและทำให้เกิดเวทีทางการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งทำให้ผู้สนใจให้ความสนใจต่อเนื่องมาถึงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องของคณะที่ร่วมจัดงาน ๕.จำเป็นต้องพิจารณาการวางแผนจัดงานล่วงหน้าและจัดงานให้สอดคล้องกับการรับนักศึกษาใหม่ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สนใจเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมากขึ้นโดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา ๖.จำเป็นต้องมีการจัดงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้งานมีความกว้างขวางและแพร่หลาย และยังเป็นเวทีที่ให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขานี้และที่เกี่ยวข้องนำเสนอผลงานประกอบการพิจารณาการสำเร็จการศึกษา ๗.การจัดงานที่ต่อเนื่องจะทำให้มีการพัฒนามาตรฐานของเวทีวิชาการที่ทำให้เกิดการยอมรับในระดับที่กว้างขึ้นในระดับประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา บุคลากรในสายงาน รวมถึงผู้สนใจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้นำเสนอผลงานแก่สาธารณะชน และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยของนักวิจัย นักศึกษา บุคลากรในสายงาน รวมถึงผู้สนใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักวิจัย นักศึกษา บุคลากรในสายงาน รวมถึงผู้สนใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากทั่วประเทศ ค่าลงทะเบียน - บุคคลทั่วไป ๘๐๐ บาท/ราย - นิสิตนักศึกษา ๔๐๐ บาท/ราย - บุคลากรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่เสียค่าลงทะเบียน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
120 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
-ประชาสัมพันธ์โครงการ -รับ Proposal -แจ้งตอบรับ -รับลงทะเบียน -ประชุมสัมมนา -ประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ ต.ค.-ก.ค. -- 10,000.00
2.รับ Proposal ม.ค.-มิ.ย. --- --- 5,000.00
3.แจ้งตอบรับ ก.ค. --- --- --- -- 5,000.00
4.รับลงทะเบียน ก.พ.-ก.ค. --- - - -- 8,000.00
5.ประชุมสัมมนา ส.ค.-ก.ย. --- --- --- - 113,000.00
6.ประเมินผลโครงการ ก.ย. --- --- --- -- 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 0 พ.ศ. 543 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
17.00 น. สรุปผลการประชุมและพิธีปิด คณบดีคณะเกษตรศาสตร์
0 พ.ศ. 543
14.45-17.00 น. นำเสนอผลงานวิจัย
0 พ.ศ. 543
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
0 พ.ศ. 543
13.00-14.30 น. นำเสนอผลงานวิจัย
0 พ.ศ. 543
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
0 พ.ศ. 543
10.45-12.00 น. นำเสนอผลงานวิจัย
0 พ.ศ. 543
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
0 พ.ศ. 543
09.30-10.30 น. นำเสนอผลงาน
0 พ.ศ. 543
09.00-09.30 น. บรรยายพิเศษ วิทยากรรับเชิญ
0 พ.ศ. 543
08.45-09.00 น. พิธีเปิด อธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
20 กันยายน พ.ศ. 2557
08.00-08.45 น. ลงทะเบียน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -นักวิจัย นักศึกษา บุคลากรในสายงาน รวมถึงผู้สนใจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและการพัฒนาชนบท ได้ทราบถึงการนำเทคโนโลยีซอฟท์แวร์ระบบเปิด (open source) มาใช้ประโยชน์ในด้านการลดการใข้จ่ายด้านสารสนเทศและภูมิสารสนเทศขององค์กร
ด้านสังคม : -นักวิจัย นักศึกษา บุคลากรในสายงาน รวมถึงผู้สนใจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบทได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย พัฒนาแก่สาธารณะชน และเกิดการสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
ด้านสิ่งแวดล้อม : -นักวิจัย นักศึกษา บุคลากรในสายงาน รวมถึงผู้สนใจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท ได้ทราบถึงวิธีการประยุกต์องค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภูมิสารสนเทศในการบริหาร การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
150
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
30
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาวิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์
หลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำเสนอผลงานสู่สาธารณะไม่น้อยกว่า 15 ผลงาน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำเสนอ/เผยแพร่ผลงาน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 14,960.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 9,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
9,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,360.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
3,360.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 124,540.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 37,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 250.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
37,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 67,040.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาประชาสัมพันธ์โครงการ
=
15,000.00 บาท
2) ค่ามาราชการวิทยากร (4 คน * 4,800 บาท)
=
19,200.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาบริการ
=
7,840.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์รูปเล่ม
=
25,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 7,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท