แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ รุ่นที่ 8"
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ทินน์ พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล การใช้เครื่องหมายโมเลกุลกับการปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตและการปรับปรุงพันธุ์พืช
หัวหน้าโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การปลูกไม้ผลในสมัยก่อนปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน ใช้ทรงพุ่มเป็นร่มเงา ไม่ได้หวังผลในทางเศรษฐกิจ ส่วนมากปลูกโดยใช้เมล็ด ขาดการบำรุงดูแลรักษาทำให้ผลผลิตต่ำและไม่มีคุณภาพ จากการปลูกโดยปล่อยให้เจริญเติบโตตามสภาพธรรมชาติเพียงเพื่อหวังบริโภคในครัวเรือนมาเปลี่ยนเป็นการปลูกแบบ ?หวังผลทางการค้า? เคยปลูกด้วยเมล็ดซึ่งมีการกลายพันธุ์ มาเป็นการคัดเลือกพันธุ์ดีมาปลูก ขยายพันธุ์โดยวิธีไม่ใช้เพศ เช่น การทาบกิ่ง การเสียบยอด ทำให้ไม่กลายพันธุ์ และได้ผลผลิตเร็ว แต่อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรหลายรายยังขาดหลักวิชาการและเทคโนโลยีบางอย่างทำให้การทำสวนไม้ผลไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ประกอบกับยังต้องการความรู้ความเข้าใจในการทำการเกษตรที่เหมาะสม เพราะการทำสวนไม้ผลเป็นอาชีพที่มีต้นทุนสูง และใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะได้ผลตอบแทนกลับคืนมา การศึกษาข้อมูลก่อนปลูกไม้ผล เช่น การเลือกพื้นที่ปลูก การเลือกชนิดของไม้ผล พันธุ์ของไม้ผล และเทคนิคการเขตกรรมแบบต่างๆ ที่ทันสมัย แนวทางการสร้างสวนไม้ผลแบบอินทรีย์ ปลอดสารพิษ จะช่วยให้การปลูกไม้ผลประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านการสร้างสวนไม้ผลจึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้สนใจ ดังนั้นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ?การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ รุ่นที่ 8? จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาขนในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยเหตุนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญแก่ผู้ที่ต้องการสร้างสวนไม้ผล จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ รุ่นที่ 8" ให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ และเป็นการพัฒนาอาชีพการปลูกไม้ผล ยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยรวม ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติที่ดีต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกไม้ผลให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจทั่วไป
2.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถขยายพันธุ์ไม้ผลแบบไม่ใช้เพศได้ และสามารถวางแผนสร้างสวนไม้ผลได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เกษตรกร ข้าราชการ ผู้สนใจในด้านการปลูกไม้ผลในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง 2. อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถอ่านออกเขียนได้ สามารถเดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักกับ สถานที่ฝึกอบรมได้เอง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 ภาคทฤษฎี สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี บรรยายเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของไม้ผล การวางแผนการจัดการ และเทคนิค การผลิตไม้ผลนอกฤดู โดยใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ 1.2 ภาคปฏิบัติ แปลงพืชสวน สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง ฝึกอบรมภาคปฏิบัติ โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม กลุ่มละ 1 ท่าน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมเอกสารวิชาการ - --- --- --- 0.00
2.ประชาสัมพันธ์ - - --- --- 5,000.00
3.จัดหา วัสดุการเกษตร พันธุ์พืช --- - --- --- 15,000.00
4.เตรียมพื้นที่ปลูก --- -- --- --- 3,000.00
5.ดำเนินการจัดการฝึกอบรม 23-25 เม.ย.2557 --- --- -- --- 30,000.00
6.สรุปรายงานผลการฝึกอบรม --- --- --- -- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557 - 25 เมษายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
23 เมษายน พ.ศ. 2557
8.30-9.00 ลงทะเบียน
23 เมษายน พ.ศ. 2557
9.00-9.15 พิธีเปิดโดยคณบดีคณะเกษตรศาสตร์
23 เมษายน พ.ศ. 2557
9.15-10.00 บรรยาย แนวคิดการตัดสินใจทำสวนไม้ผล พันธุ์ไม้ผล และการคัดเลือก ดร.สุทิน พรหมโชติ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
10.00-11.00 บรรยาย การเลือกพื้นที่ทำสวน การเตรียมพื้นที่ทำสวนและการปลูก นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
11.00-12.00 บรรยาย ระบบน้ำในแปลงไม้ผล ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
23 เมษายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
23 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฏิบัติการ การเตรียมพื้นที่ทำสวน การปลูกไม้ผล และการติดตั้งระบบน้ำในแปลงไม้ผล นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ ดร.สุทิน พรหมโชติ
24 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฏิบัติการ การขยายพันธุ์ไม้ผล นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ นายบรรพต คชประชา
24 เมษายน พ.ศ. 2557
11.00-12.00 บรรยาย การขยายพันธุ์ไม้ผล นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
24 เมษายน พ.ศ. 2557
9.00-11.00 บรรยาย การดูแลรักษาสวนไม้ผล อ.สาธิต พสุวิทยกุล
25 เมษายน พ.ศ. 2557
9.00-12.00 ศึกษาดูงานสวนไม้ผลในเขตอำเภอวารินชำราบ และอำเภอสว่างวีระวงศ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และนายบรรพต คชประชา
25 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00-14.00 บรรยาย การจัดการดินและปุ๋ยในการปลูกไม้ผล นางสาวนพมาศ นามแดง
25 เมษายน พ.ศ. 2557
14.00-15.00 บรรยาย การจัดทรงพุ่มและการตัดแต่งกิ่งไม้ผล อ.สาธิต พสุวิทยกุล
25 เมษายน พ.ศ. 2557
15.00-15.30 แลกเปลียนข้อมูล/สรุปการฝึกอบรม นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ อ.สาธิต พสุวิทยกุล และดร.สุทิน พรหมโชติ
25 เมษายน พ.ศ. 2557
15.30-16.00 มอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรม คณบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ด้านการขยายพันธุ์ไม้ผล การสร้างสวนไม้ผล มาสร้างเป็นอาชีพเสริม หรือสร้างอาชีพใหม่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ด้านสังคม : ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการผลิตไม้ผล สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในอาชีพหรือในชีวิตประจำวันได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้ผ่านการอบรมจะรู้จักการผลิตไม้ผล การขยายพันธุ์ไม้ผล และการอนุรักษ์ไม้ผลอย่างยั่งยืน
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1202318 หลักการไม้ผล
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การปรับปรุงเอกสารประกอบการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,140.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
6,000.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
600.00 บาท
3) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,140.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,240.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,240.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 16,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถบัสเดินทางไปสวนไม้ผล
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 22,160.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 12,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,500.00 บาท
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 10,160.00 บาท )
1) วัสดุเกษตร
=
10,160.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 55,000.00 บาท