แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ภาษาและสังคมสำหรับอาชีพเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 1
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายพุทธราช มาสงค์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การแปลเพื่อการศึกษาและธุรกิจ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การแปล การล่าม
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนทำให้สถาบันการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นสถาบันทางวิชาการที่ผลิตบุคลากรและสร้างองค์ความรู้ควรต้องตระหนักว่าการบริการวิชาการความรู้เกี่ยวกับอาเซียนกับประชากรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงเป็นพันธกิจที่สำคัญยิ่งเพราะในปัจจุบันการประกอบอาชีพในสังคมที่เชื่อมต่อกันระหว่างประเทศผ่านกิจกรรมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและอื่นๆไม่เพียงอาศัยการมีวิชาชีพเฉพาะเท่านั้นหากต้องอาศัยความรู้และทักษะอื่นๆประกอบดัวยเพื่อให้การประกอบอาชีพในบรรยากาศของการแข่งขันประสบผลสำเร็จ คณะศิลปศาสตร์เป็นคณะที่เน้นการเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม ในเขตอีสานใต้ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทางวิชาการมีคุณธรรมและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมทั้งมุ่งสร้างและบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอีสานใต้ ประเทศ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งคือให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานองค์กรและชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การเป็นสถาบันการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทำให้คณะศิลปศาสตร์มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อีสานใต้และเขตพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงคือจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งอยู่ในเขตอีสานใต้และลุ่มน้ำโขง รวมทั้งยังมีพื้นที่ติดกับประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงคือประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่อยู่ใก้ลประเทศเวียดนามโดยสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่านประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศเวียดนามซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโฮจิมินห์ชิตี้เมืองใหญ่ทางใต้ของประเทศเวียดนาม และนอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่านประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทางสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ในจังหวัดมุกดาหารซึ่งเป็นพื้นที่บริการทางด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและคณะศิลปศาสตร์เข้าสู่ตอนกลางของประเทศเวียดนามซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเว้ ดานังและฮอยอัน และเข้าสู่ตอนเหนือของประเทศเวียดนามซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองฮานอยเมืองหลวงของประเทศเวียดนามโดยสะดวก ดังนั้นเอกลักษณ์ของคณะศิลปศาสตร์คือการเป็นศูนย์กลางความรู้ด้าน ภาษา สังคม และ วัฒนธรรม ในเขตอีสานใต้ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จึงดำเนินการผ่านพันธกิจของคณะ โดยการดำเนินการที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของคณะคือการมีกิจกรรมวิชาการ และทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับอีสานใต้และลุ่มน้ำโขงที่มีมากกว่าปีละ 10 เรื่อง มีหลักสูตรที่มีเนื้อหาในรายวิชาที่เกี่ยวกับอีสานใต้และลุ่มน้ำโขงมากกว่าร้อยละ 90 และยังเปิดสอนวิชาเอกลุ่มน้ำโขงศึกษาในระดับปริญญาโท รวมทั้งการเปิดสอนวิชาโทอินโดจีนศึกษาในระดับปริญญาตรี มีการเปิดสอนภาษาทั้งที่เป็นภาษาสากล ภาษาในประเทศเอเชียตะวันออก และภาษาของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษาลาว นอกจากนี้คณะยังมีศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ( Mekong Sub - region Social Research Centre - MSSRC ) ที่มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มนำโขงเป็นประจำทุกปีและศูนย์ข้อมูลลุ่มน้ำโขง ( Grater Mekong Sub - region Resource Centre - GMSCR ) อีกด้วย ด้วยความพร้อมของคณะศิลปศาสตร์ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงการบริการวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา และ บุคคลทั่วๆไปเพื่อให้มีองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านของไทยเพื่อประกอบอาชีพ ความรู้เกี่ยวกับสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของคนในลุ่มน้ำโขงและอาเซียน ทักษะการเป็นมัคคุเทศก์ การเคารพความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นต้น ความรู้ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อคนในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง โดยนำไปประกอบกับความรู้เฉพาะวิชาของผู้เข้าอบรมสำหรับการพัฒนาอาชีพหรือส่งเสริมอาชีพของตนในบรรยากาศของการแข่งขันระดับภูมิภาคแม่โขงและอาเซียน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้กับนักเรียน นักศึกษา และ บุคคลทั่วๆไป ด้านภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านของไทยสำหรับการประกอบอาชีพ ความรู้เกี่ยวกับสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของคนในลุ่มน้ำโขงและอาเซียน ทักษะการเป็นมัคคุเทศก์ การเคารพความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นต้น
2.เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ร่วมกับความรู้เดิมสำหรับการสร้างอาชีพ และหรือเสริมอาชีพเดิมของตน
3.เพื่อบูรณาการวิชาการเข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนและวิจัยในหลักสูตรต่างๆของคณะศิลปศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. นักเรียนจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 500 คน 2. บุคคลทั่วไป จำนวน 100 คน 3. อาจารย์และบุคลากรของคณะศิลปศาสตร์ จำนวน 50 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
650 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.การอบรมอังกฤษเบื้องต้นเพื่อประกอบอาชีพกับเพื่อนบ้านในประเทศอาเซียน มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 2.การอบรมภาษาเขมรเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 3.การอบรมภาษาเวียดนามเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 4.การอบรมภาษาจีนเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 5.การอบรมภาษาญี่ปุ่นสำหรับการประกอบอาชีพ มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 6.การอบรมการใช้ภาษาไทยในการสมัครงาน มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 7.การอบรมเรื่องกินเพื่อสุขภาพ มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 8.การอบรมการอ่านและเขียนภาษาลาวเบื้องต้น มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 9.การอบรมเรื่องสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 10.การประชาสัมพันธ์กับการค้าข้ามแดน มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 11.การอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่น มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม 12.การอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนคนข้ามแดน มีกิจกรรมดังนี้ วางแผน ตั้งคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ จัดอบรม ประเมินผลกิจกรรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน วางแผนกิจกรรม -- --- --- --- 0.00
2.เตรียมเอกสารการเรียนการสอน ดำเนินการอบรมทั้ง 12 หลักสูตรตามวันและเวลาที่กำหนด - --- --- --- 131,240.00
3.ประเมินและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม --- - --- --- 200.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 180 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมอังกฤษเบื้องต้นเพื่อประกอบอาชีพกับเพื่อนบ้านในประเทศอาเซียน อาจารย์ธิราพร ศรีบุญยงค์
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาเขมรเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมอังกฤษเบื้องต้นเพื่อประกอบอาชีพกับเพื่อนบ้านในประเทศอาเซียน (ต่อ) อาจารย์ธิราพร ศรีบุญยงค์
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาเขมรเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ ดร.ชาญชัย คงเพียรธรรม
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาจีนเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ ผศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาเวียดนามเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ ดร.สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาเวียดนามเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ (ต่อ) ดร.สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาจีนเบื้องต้นสำหรับการประกอบอาชีพ (ต่อ) ผศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาญี่ปุ่นสำหรับการประกอบอาชีพ อาจารย์เสาวลักษณ์ หีบแก้ว
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องการใช้ภาษาไทยในการสมัครงาน อาจารย์สัมพันธ์ สุวรรณเลิศ
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมภาษาญี่ปุ่นสำหรับการประกอบอาชีพ (ต่อ) อาจารย์เสาวลักษณ์ หีบแก้ว
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องการใช้ภาษาไทยในการสมัครงาน (ต่อ) อาจารย์สัมพันธ์ สุวรรณเลิศ
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมหลักสูตรการอ่าน-เขียนภาษาลาวเบื้องต้น อาจารย์นงลักษณ์ สูงสุมาลย์
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมหลักสูตรการอ่าน-เขียนภาษาลาวเบื้องต้น(ต่อ) อาจารย์นงลักษณ์ สูงสุมาลย์
7 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมหลักสูตรการกินเพื่อสุขภาพ อาจารย์พัชรี ธานี
7 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อาจารย์สุธิดา ตันเลิศ
8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมหลักสูตรการกินเพื่อสุขภาพ (ต่อ) อาจารย์พัชรี ธานี
8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (ต่อ) อาจารย์สุธิดา ตันเลิศ
14 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ดร.ปริวรรต สมนึก
14 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องประชาสัมพันธ์กับการค้าข้ามแดน อาจารย์กรรณศลักษณ์ อุ่นณพลักษณ์
15 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องประชาสัมพันธ์กับการค้าข้ามแดน (ต่อ) อาจารย์กรรณศลักษณ์ อุ่นณพลักษณ์
15 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่น (ต่อ) ดร.ปริวรรต สมนึก
21 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนคนข้ามแดน ดร.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ
22 ธันวาคม พ.ศ. 2556
09.00-16.00 การอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนคนข้ามแดน (ต่อ) ดร.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เมื่อเข้ารับการอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ ความเข้าเรื่องภาษา สังคม และวัฒนธรรมอันจะส่งผลดีต่อการประกอบอาชีพเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ด้านสังคม : เมื่อเข้ารับการอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องภาษา สังคม และวัฒนธรรม และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
650
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ในการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมของภาคประชาชนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในครั้งนี้มีค่าใช้จ่าย 1990 บาท ต่อผู้เข้ารับการอบรมหนึ่งคน ถือว่าเป็นการดำเนินการที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลลัพธ์ในการสร้างสังคมให้มีความพร้อมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 (Foundation English I)
หลักสูตร วิชาศึกษาทั่วไป
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีการบูรณาการเนื้อหาที่ได้จากการบริการวิชาการกับเนื้อหาในรายวิชา จำนวน 5 เรื่อง การทักทาย (greeting) การแนะนำตนเอง(self-introduction) การขอให้พูดซ้ำ(asking for repetition) การถามและการแสดงความคิดเห็น(asking and giving opinions) การกล่าวลา (leave-taking)
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 87,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 86,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 86,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 12 คน
=
86,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 6,040.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,840.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,840.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 12 คน x ครั้งละ 160.00 บาท
=
3,840.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,200.00 บาท )
1) ค่าบำรุงสถานที่
=
2,000.00 บาท
2) ค่าเข้าเล่มรายงานผลโครงการฯ
=
200.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 36,560.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 36,560.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
58,560 แผ่น x 0.50 บาท
=
29,280.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,280.00 บาท
=
5,280.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 130,000.00 บาท