แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาสินค้าชุมชนอย่างครบวงจรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์วิสาหกิจชุมชน บ้านใหม่สารภี อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อเนื่องระยะที่ 2
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวพิมลพรรณ อุดมพันธ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : สอน 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : e-commerce
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมความรู้และพัฒนาความสามารถในการจัดการในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการหน่วยธุรกิจในระดับประเทศและต่างประเทศได้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินการวิสาหกิจชุมชนในหลายมิติ นับตั้งแต่การส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรในชุมชน ค้นหาศักยภาพของชุมชน พัฒนากระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน การสร้างฐานข้อมูลและจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนา เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนจัดทำแผนอย่างมีส่วนร่วม และมีเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบทางการเกษตร โดยผ่านการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตรชุมชนโดยการเพิ่มขีดความสามารถ ทักษะของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในชุมชน ให้สามารถเป็นผู้ประกอบการได้และมีความสามารถในการกระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง บ้านใหม่สารภี อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหมู่บ้านในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มและกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีกลุ่มอาชีพเกิดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่สตรีที่ว่างงานหลังจากฤดูกาลทำนา เป็นการเพิ่มรายได้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กลุ่มต่าง ๆ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น สบู่และโลชั่นจากน้ำมันงา ดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้า ทอเสื่อ ลูกประคบและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และขนมขบเคี้ยว นอกจากนี้ยังเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับการคัดเลือกในระดับตำบลท่าช้างในโครงการหมู่บ้านพอเพียง สู่ตำบลพอเพียง เมื่อปี 2553 และเป็นแหล่งศึกษาดูงานจากหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน มีการแบ่งหน้าที่กันภายในหมู่บ้าน และจัดตั้งกลุ่มพ่อ กลู่มแม่ และกลุ่มลูก โดยกลุ่มพ่อจะทำกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไข่ เป็ด ปลา เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและที่เหลือจากการบริโภคกลุ่มแม่จะเป็นผู้นำไปจำหน่ายภายในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง นอกจากนี้กลุ่มแม่จะทำกิจกรรมแปรรูปอาหาร เช่น ทำขนมขบเคี้ยว ทอเสื่อ ดอกไม้ประดิษฐ์ น้ำยาล้างจาน น้ำมันงา ลูกประคบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ส่วนกลุ่มลูกจะร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด และไก่พันธุ์พื้นเมือง ชุมชนมีผู้นำและแกนนำชุมชนที่มีความเข็มแข็งและต้องการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสามารถในการแข็งขันในตลาด ซึ่งถือได้ว่าชุมชนบ้านใหม่สารภีเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการหน่วยธุรกิจในระดับประเทศและต่างประเทศได้ จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว โดยคณาจารย์คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่าชุมชนยังมีความต้องการในด้านการสร้างสินค้าใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การสร้างตราสินค้า การจัดการตลาด การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย การคิดต้นทุนสินค้าและการจัดทำบัญชี การบริหารการเงิน การจัดทำระบบสารสนเทศและเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและจำหน่ายสินค้า นอกจากนี้พื้นที่ชุมชนบ้านใหม่สารภียังมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งชุมชนต้องการได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มอย่างมีสัมฤทธิผล ดังนั้นคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้บริการทางวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบ้านใหม่สารภี ในการพัฒนาสินค้าชุมชนอย่างครบวงจรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์ของชุมชนให้ ให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศและสากลได้ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่นให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ คณะบริหารศาสตร์จึงดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยบูรณาการสหสาขาวิชาเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจชุมชนของบ้านใหม่สารภีอย่างต่อเนื่อง
2.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสินค้าชุมชนอย่างครบวงจรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์ของชุมชนให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศและสากล อย่างต่อเนื่อง
3.เพื่อประเมินผลกระทบด้านบริการวิชาการแก่สังคมของคณะบริหารศาสตร์
4.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนท้องถิ่นและเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้คณะและมหาวิทยาลัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ชาวบ้านและกลุ่มอาชีพในบ้านใหม่สารภี อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 จัดตั้งทีมงานและวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ 1.2 ประสานงานชุมชน 1.3 เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ /เอกสารประกอบการอบรมและการถ่ายทอดความรู้ 1.4 จัดฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และร่วมพัฒนา 1.5 ติดตามและประเมินผลโครงการ 1.6 สรุปโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดตั้งทีมงานและวิทยากรถ่ายทอด,ประสานงานชุมชน,เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ / เอกสารประกอบการสอน --- --- --- 24,780.00
2.กิจกรรมสาขาการเงินและการธนาคาร:การบริหารเงินทุนหมุนเวียนของวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมสาขาการจัดการ:การอบรม“การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่ --- --- --- 145,720.00
3.กิจกรรมสาขาเศรษฐกิจพอเพียง:การพัฒนาศักยภาพการจัดการฟาร์มเห็ดครบวงจร กิจกรรมสาขาการบัญชี:การบันทึกบัญชีและจัดทำงบการเงินเพื่อการบริหารสู่ความยั่งยืน --- --- --- 200,000.00
4.การติดตามการดำเนินโครงการ เบิกจ่ายโครงการ สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ --- --- --- 9,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 30 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
08.00-16.00 น. กิจกรรมสาขาเศรษฐกิจพอเพียง:การพัฒนาศักยภาพการจัดการฟาร์มเห็ดครบวงจร อ.อุทัย อันพิมพ์และคณะ
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
08.00-16.00 น. กิจกรรมสาขาการเงินและการธนาคาร:การบริหารเงินทุนหมุนเวียนของวิสาหกิจชุมชน ดุสิต จักศิลป์ และคณะ
13 มีนาคม พ.ศ. 2556
08.00-16.00 น. กิจกรรมสาขาการจัดการ:การอบรม“การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน” กิจกรรมสาขาการจัด อ.ศุภกัญญา จันทรุกขา และคณะ
10 เมษายน พ.ศ. 2556
08.00-16.00 น. กิจกรรมสาขาการจัดการอุตสาหกรรมบริการ:การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืน อ.สิริรัตน์ ชอบขาย และคณะ
12 มิถุนายน พ.ศ. 2556
08.00-16.00 น. กิจกรรมสาขาการบัญชี:การบันทึกบัญชีและจัดทำงบการเงินเพื่อการบริหารสู่ความยั่งยืน อ.จริยา อ่อนฤทธิ์ และคณะ
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
08.00-16.00 น. กิจกรรมสาขาการตลาด:ประเมินตราสินค้าและวางแผนการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย อ.ใจแก้ว แถมเงิน และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -ทางเศรษฐกิจ ต่อยอดให้ชุมชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถในการนำความรู้ไปใช้ได้จริง ในด้าน การสร้างสินค้าใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การสร้างตราสินค้า การทำการตลาด การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย การคิดต้นทุนสินค้าและการจัดทำบัญชี การบริหารการเงิน การจัดทำระบบสารสนเทศและเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและจำหน่ายสินค้า และการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ด้านสังคม : ทางสังคม ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการตลาด
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 57,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 57,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 57,600.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
57,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 5,476.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 76.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการจัดพิมพ์เอกสาร
=
19.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบริการจ้างนักศึกษา
=
14.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาบริการเช่าสถานที่
=
9.00 บาท
4) จ้างเหมาแรงงาน
=
7.00 บาท
5) จ้างเหมาล้างอัดรูป
=
1.00 บาท
6) ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการ
=
21.00 บาท
7) จ้างเหมาเช่าอุปกรณ์สำหรับการฝึกปฎิบัติ
=
5.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 30,113.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 30,112.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
7,550 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,775.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
9.00 บาท
=
9.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
4.00 บาท
=
4.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 526.00 บาท
=
26,300.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
24.00 บาท
=
24.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 1.00 บาท )
1) ของที่ระลึก
=
1.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 3,598.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 866 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
2,598.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 1000 บาท
=
1,000.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 96,787.00 บาท