แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบริการให้คำปรึกษา
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายวัชรพงษ์ แสงนิล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เริ่มดำเนินกิจกรรมครั้งแรกเมื่อปี 2547 ตามความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการที่จะนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ชุมชน เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนงานของคลินิกเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง กว่า50 โครงการ ซึ่งประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ โดยในปีงบประมาณ 2554 ที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การให้บริการคำปรึกษาและฐานข้อมูลเทคโนโลยี ในหลายด้าน เช่น การบริการคำปรึกษาด้านเครื่องสีข้าว การบริการคำปรึกษาเครื่องทำความสะอาดเมล็ดพืช การให้บริการตรวจวิเคราะห์ดินและปุ๋ย ฯลฯ การจัดทำจดหมายข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่กลุ่มสมาชิก ตลอดจนสถาบันการศึกษา อบต. ในพื้นที่ รวมถึงการออกพื้นที่เพื่อติดตามและประเมินผลจากกลุ่มผู้ผ่านการอบรม สมาชิกของคลินิก ฯ ซึ่งจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ขณะนี้ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีสมาชิกกว่า 1,000 คน ผู้ผ่านการฝึกอบรมและขอบริการคำปรึกษากว่า 1,000 คน กลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรวมทั้งหน่วยงานราชการและผู้นำชุมชน กว่า 20 แห่ง ที่ประสงค์จะร่วมกิจกรรมกับคลินิก ฯ นอกจากนี้แล้ว ในปีงบประมาณ 2554 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ยังได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามนโยบายการบูรณาการงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมกับจังหวัด ในการที่จะจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลทางเทคโนโลยี 2) เพื่อเป็นตัวกลางและประสานการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างเครือข่าย 3) เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและสนับสนุนงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัด

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน ประชาชนโดยทั่วไปในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน100คน วิสาหกิจชุมชน OTOP จำนวน 5กลุ่ม ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 3กลุ่ม ส่วนราชการ /อบต. จำนวน 35 แห่ง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
145 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ช่องทางหรือวิธีการ ทางโทรศัพท์ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ 0-4535-3035 ช่วงเวลาที่ให้บริการเวลา 09.00 .น. ถึงเวลา16.00.น. (เว้นวันเสาร์-อาทิตย์) ชื่อเจ้าหน้าที่ประจำที่ให้บริการนางสาวโฉมสอางค์ ไชยยงค์ การบริการนอกสถานที่ 4 ครั้ง/ปีความถี่ 3 เดือน/ครั้ง เรื่องที่จะให้บริการการบริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินและปุ๋ย การบริการด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร การบริการด้านการเกษตรอินทรีย์ การเพาะเห็ด การแปรรูปอาหาร เครื่องจักรกลการเกษตร การรวมรวบข้อมูลผลงานวิจัยและพัฒนาภายในคลินิกฯ การสำรวจความต้องการทางเทคโนโลยีและจัดทำข้อมูลความต้องการ กิจกรรม 2) การประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย  การประสานงานภายในสถาบันการศึกษาและกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี  การบริหารจัดการทางด้านการเงิน งบประมาณ การติดตาม ประเมินผลและรายงานผล กิจกรรม3) การประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาจังหวัดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็น PCSO

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี 0.00
2.การประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาจังหวัดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็น PCSO --- - -- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
23 เมษายน พ.ศ. 2556
08.30-16.30 น. การอบรมการทำน้ำข้าวกล้องสมุนไพร อ.จินดามณี แสงกาญจนวนิช

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ดี
ด้านสังคม : ดีมาก
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
100
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา -
หลักสูตร -
นักศึกษาชั้นปี : -
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน -
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 82,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 70,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 70,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
70,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 68,625.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 36,125.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 125.00 บาท )
1) จำนวน 5 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 5.00 บาท
=
125.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 คืน x จำนวน 5 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
30,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,500.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 80 มื้อ x มื้อละ 3.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 8,000.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 31,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 31,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 120.00 บาท
=
6,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 182,125.00 บาท