แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประชุมวิชาการนานาชาติศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 3 "ภูมิภาคแม่น้ำโขงและอาเซียนในกระแสการเปลี่ยนแปลง: ผู้คนกับการก้าวข้ามพรมแดน"
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการแก่สังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สังคมวิทยา
ประสบการณ์ : รองประธานคณะกรรมการศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ความเชี่ยวชาญ : สังคมวิทยา การวิจัยวัฒนธรรม
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิกทั้ง 10 ชาติ ของอาเซียนจะมีสภาพเป็นประชาคมโดยสมบูรณ์ โดยมี ?กฎบัตรอาเซียน? (ASEAN Charter) เป็นธรรมนูญในฐานะกรอบกติกาการอยู่ร่วมกัน และมีการกำหนดสามเสาเพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาร่วมกันคือประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political and Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio - Cultural Community : ASC) โดยประชาคมการเมืองและความมั่นคงเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนแนวคิดสันติวิธีผ่านการกำหนดมาตรฐาน การป้องกันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพ ส่วนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเน้นให้สมาชิกมีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้ สำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนนั้นการยอมรับรับความหลากหลาย อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ที่ดี การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมเอกภาพท่ามกลางความหลากหลายใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนาและอารยธรรมโดยพยายามสร้างความเข้าใจระหว่างกันเพื่อการก้าวข้ามกรอบคิดทางสังคม ภาษาและวัฒนธรรมแห่งชาติ สำหรับ ?ชายแดน? และ ?พรมแดน? ภายใต้บริบทเสรีนิยมของการรวมตัวกันเป็นภูมิภาคแม่โขงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนนี้คือพื้นที่ของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ กลุ่มชน ภาคเอกชน และชนชายแดนที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องตามบริบทและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม ชายแดนกลายเป็นพื้นที่ของการข้ามชาติที่มีทั้งชุมชนข้ามชาติ ผสมผสานกับชุมชนใหม่ ๆและชุมชนเดิม มีผู้กระทำการและผู้กระทำการซึ่งเป็นชนของชาติอยู่อาศัยอยู่และชนต่างชาติโดยมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆระหว่างกันและกัน พรมแดนได้ปรับเปลี่ยนจากการเป็นพรมแดนของการควบคุมมาสู่พรมแดนเปิดภายใต้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้เกิดการไหลหรือเคลื่อนย้ายผู้คน สินค้า ทุนและวัฒนธรรมข้ามแดน นอกจากนี้ชายแดนยังเป็นพื้นที่ของสนามการค้าที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้อำนวยการให้มีการค้าและการข้ามแดนโดยพัฒนาเครื่องอำนวยการค้า เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีกฎหมาย ระเบียบต่างๆที่เอื้อต่อการค้าเสรีและการโยกย้ายทรัพยากร ผู้คน สินค้า ภาษาและวัฒนธรรม ในด้านพลวัตการพัฒนาในพื้นที่ชายแดน พบว่า ปรากฏการณ์ที่ผู้คน สิ่งของ สินค้า ทุน นวัตกรรมเทคโนโลยี และความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าข้ามชาติและการค้าชายแดนในพื้นที่พรมแดนระหว่างไทยและประเทศลาวที่มีความสะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว เพื่อการดำเนินกิกรรมต่างๆมากมายซึ่งเป็นไปได้ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ ถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมที่ได้รับความใจและสนับสนุนจากรัฐในประเทศลุ่มน้ำโขงและประชาชนในพื้นที่พรมแดนหรือชายแดนระหว่างประเทศอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ซึ่งปรากฏการณ์การข้ามแดนดังกล่าวนำมาสู่การเติบโตทางการค้าชายแดนและค้าข้ามชาติ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่เกิดขึ้นภายใต้บริบทใหญ่ของการพัฒนาชาติและการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์สังคม ภาษาและวัฒธรรมของภูมิภาคแม่น้ำโขงที่ผ่านมา การค้าชายแดนและการค้าข้ามชาติที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสิ่งต่างๆนั้นเกิดจากนโยบายเกื้อหนุนต่างๆที่สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง จนนำมาสู่การพัฒนาเครื่องอำนวยความสะดวกต่อการข้ามแดน (Border facilities- เช่น เอกสารผ่านแดน ช่องทางผ่านต่างๆ ทั้งด่านที่เป็นทั้งจุดผ่อนปรน ด่านชั่วคราวและด่านสากล การลดกฎเกณฑ์ทางการค้า เป็นต้น) ซึ่งนโยบายต่างๆ ได้แก่ การการปรับนโยบายของ 3 ประเทศอินโดจีนที่เคยถือลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ได้แก่การประกาศนโยบายเสรีนิยมโด๋ยเม้ย (Doi Moi ในปีพ.ศ.2529) ของเวียดนาม ลาวเรียกว่า กลไกเศรษฐกิจใหม่ (New Economy Mechanism ในปี พ.ศ.2529) และกัมพูชาที่เน้นทุนนิยม หลังการเลือกตั้งทั่วไป ภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ ในปี ค.ศ.1993 อิทธิพลของประเทศจีนในภูมิภาค นโยบายการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า(from the battle field to market place) ในยุคนายกชาติชาย ชุณหะวัณของประเทศไทย การจัดทำกรอบความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub regional Economic Cooperation) ตั้งแต่ปี 2532 ที่สนับสนุนโดยธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (Asian Development Bank) ที่ได้มีโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ คือ กัมพูชา จีน พม่า ลาว เวียดนาม ไทย และร่วมกันจัดทำการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor-EC) ในปี 2541 เช่น แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East West Economic Corridor: EWEC) เป็นต้น และต่อมาได้จัดทำ ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง? (Cross Border Transportation Agreement-CBTA) ในปี 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุน และบริการในภูมิภาคโดยการเชื่อมโยงกลุ่มประเทศต่างด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคม การขนส่ง การพลังงานและอื่นๆ และล่าสุดในปี 2546 ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ได้ออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS : Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) ที่มีความร่วมมือระหว่างประเทศด้านต่างๆ ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ เป็นสถาบันวิจัยและให้บริการวิชาการที่ผลิตสร้างองค์ความรู้ควรต้องตระหนักว่าการบริการวิชาการความรู้เกี่ยวกับแม่โขงและอาเซียน โดยที่คณะศิลปศาสตร์เป็นคณะที่เน้นการเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม ในเขตอีสานใต้ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทางวิชาการมีคุณธรรมและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมทั้งมุ่งสร้างและบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอีสานใต้ ประเทศ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และอาเซียน การเป็นสถาบันการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทำให้คณะศิลปศาสตร์มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อีสานใต้และเขตพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงคือจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งอยู่ในเขตอีสานใต้และลุ่มน้ำโขง รวมทั้งยังมีพื้นที่ติดกับประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงคือประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ประเทศเวียดนามโดยสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่านประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศเวียดนามซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโฮจิมินห์ชิตี้เมืองใหญ่ทางใต้ของประเทศเวียดนาม และนอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่านประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทางสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ในจังหวัดมุกดาหารซึ่งเป็นพื้นที่บริการทางด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและคณะศิลปศาสตร์เข้าสู่ตอนกลางของประเทศเวียดนามซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเว้ ดานังและฮอยอัน และเข้าสู่ตอนเหนือของประเทศเวียดนามซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองฮานอยเมืองหลวงของประเทศเวียดนามโดยสะดวก ดังนั้นเอกลักษณ์ของคณะศิลปศาสตร์คือการเป็นศูนย์กลางความรู้ด้าน ภาษา สังคม และ วัฒนธรรม ในเขตอีสานใต้ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จึงดำเนินการผ่านพันธกิจของคณะ โดยการดำเนินการที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของคณะคือการมีกิจกรรมวิชาการ และทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับอีสานใต้และลุ่มน้ำโขงที่มีมากกว่าปีละ 10 เรื่อง มีหลักสูตรที่มีเนื้อหาในรายวิชาที่เกี่ยวกับอีสานใต้และลุ่มน้ำโขงมากกว่าร้อยละ 90 และยังเปิดสอนวิชาเอกลุ่มน้ำโขงศึกษาในระดับปริญญาโท รวมทั้งการเปิดสอนวิชาโทอินโดจีนศึกษาในระดับปริญญาตรี มีการเปิดสอนภาษาทั้งที่เป็นภาษาสากล ภาษาในประเทศเอเชียตะวันออก และภาษาของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษาลาว นอกจากนี้คณะยังมีศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ( Mekong Sub - region Social Research Centre - MSSRC ) ที่มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติที่เกี่ยวกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นประจำและศูนย์ข้อมูลลุ่มน้ำโขง ( Grater Mekong Sub - region Resource Centre - GMSCR ) อีกด้วยด้วยความพร้อมของคณะศิลปศาสตร์ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงการบริการวิชาการนี้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำเสนอข้อมูลจากงานวิจัยและงานวิชาการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภูมิภาคแม่โขงและอาเซียนในบริบทการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน
2.เพื่อสร้างองค์วามรู้และสร้างความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงสถาบันและผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงและอาเซียน
3.เพื่อส่งเสริมการศึกษา วิจัย ค้นคว้า เผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับภูมิภาคแม่โขงและอาเซียน
4.เพื่อพัฒนาศักยภาพของศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการเป็นศูนย์วิจัยที่สำคัญของภูมิภาค

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักวิชาการต่างชาติ, นักวิชาการภายในประเทศ, นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การจัดการประชุมวิชาการนานาชาติในรูปแบบการ Call for paper โดยคณะผู้จัดจะได้ออกแบบแนวทางการดำเนินการในแต่ละsession ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและมีการสรุปสาระความรู้จากแต่ละ session ของการนำเสนอ รวมทั้งจัดนิทรรศการคนข้ามแดนและชนชายแดนในภูมิภาคแม่โขงและอาเซียนที่เน้นเนื้อหาและแนวคิดการก้าวข้ามกรอบคิดทางสังคม ภาษาและวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยหน่วยงานต่างๆ โดยมีองค์กรร่วมจัด คือ ศูนย์พหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยจำปาสัก วิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้จำปาสัก Monash University, Sydney University และ M-POWER โดยแบ่งห้องย่อย ดังนี้ ห้องย่อยที่ 1 ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงและอาเซียน ห้องย่อยที่ 2 เศรษฐกิจของลุ่มน้ำโขงและอาเซียน ห้องย่อยที่ 3 คนข้ามแดน และชายแดน ห้องย่อยที่ 4 นโยบายและผลกระทบ ห้องย่อยที่ 5 แนวคิด ทฤษฎีในการเรียนรู้ลุ่มน้ำโขงและอาเซียน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมงาน Call for paper --- --- 100,000.00
2.เตรียมงาน Paper Anouncement --- --- --- 50,000.00
3.จัดประชุม --- --- --- -- 600,000.00
4.สรุปประชุม --- --- --- - 50,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
11 กันยายน พ.ศ. 2557
08.00-09.00 Registration -
11 กันยายน พ.ศ. 2557
10.45-12.30 Paper presentation 5 panel *to be confirmed
11 กันยายน พ.ศ. 2557
10.30-10.45 Break -
11 กันยายน พ.ศ. 2557
12.30-13.30 Networking Lunch -
11 กันยายน พ.ศ. 2557
09.15-10.30 Keynote Speech "Unsettling the Mekong: migration, Transnational families and human well/ill being i Prof.Dr. Jonathan Riggs
11 กันยายน พ.ศ. 2557
13.30-15.00 Paper presentation *to be confirmed
11 กันยายน พ.ศ. 2557
09.00-09.15 Welcome Remark / opening speech Secretary, National Reseach Committee of Thailand [*to be confirmed]
12 กันยายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 Keynote Speech Prof. James R. Chamberlain
12 กันยายน พ.ศ. 2557
15.00-15.30 Closing Remark Asst.Prof. Dr.Intira Sahir
12 กันยายน พ.ศ. 2557
13.00-14.30 Paper presentation *to be confirmed
12 กันยายน พ.ศ. 2557
14.45-15.00 Wrap up Asst.Prof. Dr. Kanokwan Manorom
12 กันยายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 Lunch -
12 กันยายน พ.ศ. 2557
10.30 -12.00 Roundtable Special Panel “Disaster, grievance and resilience: Experiencing from Japan and ASEAN” Prof. Oguma Eiji, Prof. Surichai Wangaeo, Asst.Prof.Dr. Kanokwan Manorom

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันในประเด็นต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ได้พัฒนาศักยภาพของศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการเป็นศูนย์วิจัยที่สำคัญของภูมิภาค

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
70
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้ร่วมนำเสนอในการประชุมระดับนานาชาติซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเสนอในต่างประเทศ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1451 402 ลุ่มน้ำโขงกับการพัฒนา
หลักสูตร การพัฒนาสังคม
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลุ่มน้ำโขงร้อยละ 70
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 156,880.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 126,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 72,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
72,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 54,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
54,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 30,880.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 26,880.00 บาท )
1) จำนวน 16 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
26,880.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 600,620.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 302,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 250,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 30,000.00 บาท
=
150,000.00 บาท
2) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 20,000.00 บาท
=
100,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 คืน x จำนวน 10 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
48,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 10 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 180,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 300.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
180,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 16,000.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
16,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 40,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 4 เดือน x เดือนละ 10,000.00 บาท
=
40,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 41,820.00 บาท )
1) ค่าทำเสื้อสำหรับทีมงาน
=
1,820.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
=
30,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 38,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 28,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
15,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
7,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่ากระเป๋าเอกสาร
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 0 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 4000 บาท
=
4,000.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 800,000.00 บาท