แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาท้องถิ่น
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ปัญณ์ พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีอาหาร
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ขนมอบ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสภาวะราคาผลผลิตทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับราคาของผลิตผลทางการเกษตรหรือการประมง อาชีพการประมงจัดเป็นหนึ่งในอาชีพหลักของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานีเนื่องจากมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านทำให้พื้นที่อุดมไปด้วยสัตว์น้ำหลายชนิดโดยเฉพาะปลาวงศ์สวาย เช่น ปลาเทโพ ปลาสวาย ปลามรกตหรือปลาเทโพหูหลุด ซึ่งจัดเป็นสัตว์น้ำท้องถิ่นของจังหวัด ปลาท้องถิ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่จำหน่ายในรูปของปลาสดเพื่อปรุงอาหารรับประทานในครัวเรือนหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมัก เช่น ปลาส้ม และเค็มบักนัด เป็นต้น แต่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่น เช่น การทำแห้งและการรมควัน การทำเค็ม หรือผลิตภัณฑ์เจลยืดหยุ่น ยังมีจำกัด ดังนั้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาท้องถิ่นจึงเป็นแนวทางหนึ่งทางการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าปลาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนซึ่งเดิมทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ นอกจากนี้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงการพัฒนาสินค้าให้มีศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดทั้งด้านคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งสาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยสามารถจัดดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการและเทคนิคการแปรรูป บรรจุภัณฑ์ และสุขลักษณะที่ดีในการแปรรูป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาท้องถิ่นที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสัตว์น้ำ กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง 2. อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สามารถอ่านออกเขียนได้ สามารถเดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักกับ สถานที่ฝึกอบรมได้เอง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 ภาคทฤษฎี ดำเนินการที่ห้องประชุมสุริยภัทร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รูปแบบเป็นการเสวนาโดยคณาอาจารย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปปลา เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องหลักการแปรรูป สุขลักษณะที่ดีเกี่ยวกับการแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลา พร้อมใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ประกอบ 1.2 ภาคปฏิบัติ ดำเนินการที่อาคารปฏิบัติการและโรงงานต้นแบบทางอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม กลุ่มละ 2 ท่าน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. จัดตั้งและประชุมคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน --- --- --- 2,000.00
2.2.การประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประกาศรับสมัครผู้เข้าอบรม --- -- --- 8,000.00
3.จัดทำเป็นเอกสารการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- -- - --- 8,000.00
4.จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- -- --- 64,000.00
5.สรุปผลการจัดโครงการ --- --- -- -- 4,000.00
6.จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- - 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
8.30-9.00 น. ลงทะเบียน
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
9.00-11.00 การบรรยายความรู้ในรูปแบบการเสวนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับหลักการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลา และสุขลักษณะที่ดีเกี่ ดร.ปัญณ์ ดร.วีรเวทย์ และวิทยากรภายนอก
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
11.00-16.00 ปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลา เช่น ปลายอ ลูกชิ้นปลา ปลารมควัน ปลาเค็ม ปลาส้ม ปลาเส้น ข้าวเกรียบปลา เป ดร.ปัญณ์ ดร.วชิราพรรณ ดร.ธิดารัตน์
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
9.00-11.00 การบรรยายความรู้ในรูปแบบการเสวนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับหลักการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ สุขลักษณะที่ดีเก ดร.ปัญณ์ ดร.วีรเวทย์ และวิทยากรภายนอก
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
11.00-16.00 ปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และการบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ดร.วชิราพรณณ ดร.ธิดารัตน์ ดร.ปัญณ์ ดร.วีรเวทย์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาท้องถิ่นที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ มาสร้างเป็นอาชีพเสริมหรือสร้างอาชีพใหม่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ด้านสังคม : เป็นการส่งเสริมการแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำท้องถิ่น และเป็นแนวทางช่วยส่งเสริมการจำหน่ายปลาของเกษตรกรทางอ้อม ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแปรรูปและสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเป็นช่องทางการประกอบอาชีพซึ่งจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถลดภาวะการว่างงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้ผ่านการอบรมทราบแนวทางการใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เทคโนโลยีการแปรรูปสัตว์น้ำ
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 14,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
2,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 32,560.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 9,760.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 3,600.00 บาท
=
7,200.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 1,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
1,600.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 960.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
960.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) ค่าจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม
=
7,200.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 43,040.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 40,940.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,940.00 บาท
=
2,940.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
6,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
1 คน x 27,500.00 บาท
=
27,500.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,100.00 บาท )
1) วัีสดุคอมพิวเตอร์
=
2,100.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 90,000.00 บาท