แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2555
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ หมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลเมืองศรีไค
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
รศ.นายแพทย์ป่วน สุทธิพินิจธรรม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : โรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง
ประสบการณ์ : "1.อดีตเป็นอาจารย์สอนที่ศิริราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข 2.ดูแลผู้ป่วยด้านโรคผิวหนังที่โรงพยาบาลพญาไท 2 นานกว่า 24 ปี"
ความเชี่ยวชาญ : เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุมักมีผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังที่พบบ่อยได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด การเป็นโรคตามัว และหูเสื่อมจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาอุบัติเหตุซึ่งนำไปสู่ภาวะความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วเหลือตัวเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพา เกิดภาวะทุพพลภาพ เป็นภาระแก่ผู้ดูแล สิ่งเหล่านี้ทำให้การดำรงของผู้สูงอายุอยู่อย่างไม่มีความสุข นอกจากนี้ประชากรกลุ่มสูงอายุอาจมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ภาวะทางเศรฐกิจของครอบครัวทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งในช่วงเวลาทำงานของผู้ดูแล และมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางจิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ขาดผู้ดูแล ถูกละเลย และไม่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่างๆในชุมชน ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุในเขตตำบลเมืองศรีไคจากข้อมูลอนามัยตำบลเมืองศรีไคปี 2553 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 644 ราย พบผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 254 ราย โรคเบาหวาน 175 ราย และผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมจำนวน 24 ราย จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอาสาสมัครนักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ฯ เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เพื่อดูแลติดตามเยี่ยมที่บ้าน ให้ความรู้ในการพัฒนาพฤติกรรมด้านสุขภาพตนเอง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการบริการสุขภาพ แบบองค์รวม ที่ผู้สูงอายุกลุ่มด้อยโอกาสควรได้รับบริการ และยังเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีบริการสุขภาพทั้งภาย จิต และสังคม สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การวินิจฉัยโรค ในระยะเริ่มแรก รวมทั้งการรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการดูแลคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ตรงกับความต้องการของชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้าง ขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกับชุมชน และนักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ฯได้ศึกษาเรียนรู้ในสถานการณ์จริง 2. เพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลเมืองศรีไค

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 100 รายในเขต ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ) 1.1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ 1.2 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์สุขภาพเขต 7 องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.3 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับตรวจสุขภาพชุมชน และรวบรวมข้อมูลสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย - หูฟัง (Steththoscope) - เครื่องวัดความดันและที่พันต่างๆ (Sphygmomanometer and various cuff sizes) - เครื่องตรวจหูและตา (Otoscope and ophthalmoscope) - แฟ้มประวัติครอบครัว - ไม้กดลิ้น - ถุงมือใช้แล้วทิ้ง - ไฟฉาย - ปรอทวัดไข้ - ยาและเวชภัณฑ์เบื้องต้น 1.4 จัดอบรมและประชุมนักศึกษาแพทย์และสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกตรวจสุขภาพชุมชน 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1. สร้างเครือข่ายกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2.2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2.3. จัดนักศึกษาแพทย์และสาธารณสุขอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครในชุมชน 2.4. นักศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ฯและอาสาสมัครในชุมชนทำการประเมินผู้สูงอายุในชุมชนโดยการ สัมภาษณ์และสังเกตในการออกเยี่ยมบ้านของนักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ฯ มีดังนี้ - ประเมินการเคลื่อนไหว ได้แก่ กิจวัตรประจำวัน - ประเมินลักษณะอาหาร ชนิดของอาหาร ความเหมาะสมต่อการบริโภค - ประเมินสภาพบ้านครอบครัว ความเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น - ประเมินครอบครัวที่แพทย์ฯดูแล ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน - ประเมินวิธีการใช้ยา - ประเมินการตรวจร่างกายของสมาชิกในครอบครัว - ประเมินแหล่งบริการที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชนได้ - ประเมินความปลอดภัยภายในครอบครัว - ประเมินความเชื่อและคุณค่าของจิตวิญญาณความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพ 3. ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สภาพปัญหา และวางแผนการติดตามผลเยี่ยมผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2554
2555
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผนประสานงานประชาสัมพันธ์และเตรียมการ 2.ดำเนินกิจกรรม 3.สรุปผลและประเมิน 200,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.เกิดเครือข่ายภาคีและการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้และเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ชุมชนรอบนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้มีบริการสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาสตร์ชุมชน และการดูแลรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้น และได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง มากว่าร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมมากกว่าร้อยละ 80
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้น หลังเสร็จสิ้นโครงการฯ ร้อยละ 80

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 20,160.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 20,160.00 บาท )
1) ปฏิบัติงานนอกเวลาจำนวน 4 คน x จำนวน 12 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
20,160.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 138,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 21,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 12 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 4 เดือน x เดือนละ 9,000.00 บาท
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 80,400.00 บาท )
1) ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ 20คน อัตรา75 บาท/คน/วัน จำนวน 12 วัน
=
18,000.00 บาท
2) ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ 20คน อัตรา 30บาท/คน/วัน จำนวน 12วัน
=
7,200.00 บาท
3) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน 12 คน อัตรา30บาท/คน/วัน จำนวน 20วัน
=
7,200.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาแรงงานนักศึกษาออกพื้นที่ 15 คน อัตรา 200บาท/คน/วัน จำนวน 12 วัน
=
36,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาแรงงานเก็บข้อมูลโครงการฯ 5คนอัตรา 200บาท/คน/วัน จำนวน 12วัน
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 35,840.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 35,840.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
16,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
8,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
15,840.00 บาท
=
15,840.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
12,000.00 บาท
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 194,000.00 บาท