แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่รุ่นที่ 8"
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ทินน์ พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
หัวหน้าโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การปลูกไม้ผลในสมัยก่อนปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน ใช้ทรงพุ่มเป็นร่มเงาไม่ได้หวังผลในทางเศรษฐกิจ ส่วนมากปลูกโดยใช้เมล็ด ขาดการบำรุงดูแลรักษาทำให้ผลผลิตต่ำและไม่มีคุณภาพ จากการปลูกโดยปล่อยให้เจริญเติบโตตามสภาพธรรมชาติเพียงเพื่อหวังบริโภคในครัวเรือนมาเปลี่ยนเป็นการปลูกแบบ "หวังผลทางการค้า" เคยปลูกด้วยเมล็ดซึ่งมีการกลายพันธุ์ มาเป็นการคัดเลือกพันธุ์ดีมาปลูก ขยายพันธุ์โดยวิธีไม่ใช้เพศ เช่น การทาบกิ่ง การเสียบยอด ทำให้ไม่กลายพันธุ์ และไ้ด้ผลผลิตเร็ว แต่อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรหลายรายยังขาหลักวิชาการและเทคโนโลยีบางอย่างทำให้การทำสวนไม้ผลไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ประกอบกับยังต้องการความรู้ความเข้าใจในการทำการเกษตรที่เหมาะสม เพราะการทำสวนไม้ผลเป็นอาชีพที่มีต้นทุนสูง และใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะได้ผลตอบแทนกลับคืนมา การศึกษาข้อมูลก่อนปลูกไม้ผล เช่น การเลือกพื้นที่ปลูก การเลือกชนิดของไม้ผล พันธุ์ไม้ผล และเทคนิคการเขตกรรมแบบต่างๆ ที่ทันสมัย แนวทางการสร้างสวนไม้ผลแบบอินทรีย์ ปลอดสารพิษ จะช่วยให้การปลูกไม้ผลประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านการสร้างสวนไม้ผลจึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้สนใจ ดังนั้นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ รุ่นที่ 8" จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยเหตุนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญแก่ผู้ที่ต้องการสร้างสวนไม้ผล จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่รุ่นที่ 8" ให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ และเป็นการพัฒนาอาชีพการปลูกไม้ผล ยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตกรโดยรวม ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติดี่ต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกไม้ผลให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจทั่วไป
2.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถขยายพันธุ์ไม้ผลแบบไม่ใช้เพศได้ และสามารถวางแผนสร้างสวนไม้ผลได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกร ข้าราชการ ผู้สนใจในด้านการปลูกไม้ผลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถอ่านออกเขียนได้ สามารถเดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักกับสถานที่ฝึกอบรมได้เอง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ภาคทฤษฎี สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี บรรยายเกี่ยวกับ การเลือกพื้นที่ทำสวน การเตรียมพื้นที่ทำสวน การปลูก ระบบน้ำในแปลงไม้ผล การดูแลรักษาสวนไม้ผล การขยายพันธุ์ไม้ผล การจัดการดินและปุ๋ยในการปลูกไม้ผล การจัดทรงพุ่มและการตัดแต่งกิ่งไม้ผล ภาคปฏิบัติ แปลงพืชสวน สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง โดยแบ่งผู้เข้าร่วมฝึกอบรมออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน มีวิทยกรประจำกลุ่มๆ ละ 1 ท่าน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมเอกสารวิชาการ - --- --- --- 0.00
2.ประชาสัมพันธ์ - - --- --- 5,000.00
3.จัดหาวัสดุการเกษตร พันธุ์พืช --- - --- --- 15,000.00
4.เตรียมพื้นที่ปลูก --- -- --- --- 3,000.00
5.ดำเนินการจัดการฝึกอบรม 23-25 เม.ย. 2557 --- --- -- --- 30,000.00
6.สรุปรายงานผลการฝึกอบรม --- --- --- -- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557 - 25 เมษายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
23 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00-10.00 บรรยาย การเลือกพื้นที่ทำสวน การเตรียมพื้นที่ทำสวนและการปลูก นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
23 เมษายน พ.ศ. 2557
10.00-12.00 บรรยาย ระบบน้ำในแปลงไม้ผล ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
23 เมษายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
23 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฎิบัติการ การเตรียมพื้นที่ทำสวน การปลูกไม้ผล และการติดตั้งระบบน้ำในแปลงไม้ผล นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และ ดร.ทินน์ พรหมโชติ
24 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฏิบัติการ ขยายพันธุ์ไม้ผล นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และนายบรรพต คชประชา
24 เมษายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
24 เมษายน พ.ศ. 2557
11.00-12.00 บรรยาย การขยายพันธุ์ไม้ผล นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
24 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00-11.00 บรรยาย การดูแลรักษาสวนไม้ผล อาจารย์สาธิต พสุวิทยกุล
25 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 ศึกษาดูงานสวนเกษตรกร นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และ ดร.ทินน์ พรหมโชติ
25 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00-14.00 บรรยาย การจัดการดินและปุ๋ยในการปลูกไม้ผล นางสาวนพมาศ นามแดง
25 เมษายน พ.ศ. 2557
14.00-15.00 บรรยาย การจัดทรงพุ่มและการตัดแต่งกิ่งไม้ผล อาจารย์สาธิต พสุวิทยกุล
25 เมษายน พ.ศ. 2557
15.00-15.30 แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สรุปการฝึกอบรม
25 เมษายน พ.ศ. 2557
15.30-16.00 มอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรม คณบดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ด้านการขยายพันธุ์ไม้ผล การสร้างสวนไม้ผลมาสร้างเป็นอาชีพเสริม หรือสร้างอาชีพใหม่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ด้านสังคม : ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่เพื่อการผลิตไม้ผล สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในอาชีพหรือในชีวิตประจำวันได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้ผ่านการอบรมจะรู้จักการผลิตไม้ผล การขยายพันธุ์ไม้ผล และการอนุรักษ์ไม้ผลอย่างยั่งยืน
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,140.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,000.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
7,200.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,140.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,240.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,240.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 16,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 22,160.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 22,160.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,460.00 บาท
=
3,460.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
30 คน x 340.00 บาท
=
10,200.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,500.00 บาท
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 55,000.00 บาท