แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้ทางภาษา ศิลปะ สังคม วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน (Kid Zone) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเข้าร่วมประชาคมอาเซียน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วิชา : ภาษาศาสตร์ (ไทย อังกฤษ)
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุวภัทร ศรีจองแสง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิยาลัยศิลปากร
ประสบการณ์ : งานวิจัย : - ศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี (ผู้เข้าร่วม) [สกว.] - การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) (ผู้เข้าร่วม) งานทำนุบำรุงฯ : - แนวทางการอนุรักษ์อาคารที่ทรงคุณค่าในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (Tourism and Architecture)
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ตามพันธกิจของของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่มุ่งเน้นการให้บริการวิชาการ และเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคม ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและสมรรถนะตามมาตรฐานสากล สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ ความพอเพียง จิตสำนึกที่ดี และมีความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดให้มีทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมถึงการให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตอีสานใต้และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนทุกภาคส่วน โดยมีการจัดตั้งคณะต่างๆเพื่อดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ตั้งไว้ไม่ว่าจะเป็น คณะศิลปศาสตร์ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีคุณธรรมและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมทั้งมุ่งสร้างและบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอีสานใต้ ประเทศ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นการให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและเรียนรู้กับชุมชน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงด้วยการบูรณาการกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบที่เน้นการส่งเสริมการวิจัยและผลิตผลงานสร้างสรรค์ ที่มีการเผยแพร่ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บริการวิชาการในสาขาศิลปประยุกต์และการออกแบบ ในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจการสร้างสังคมและชุมชนเข้มแข็ง เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและจริยธรรมอันดีงามให้คงอยู่ และเจริญงอกงามในสังคมอันเป็นการสืบทอดองค์ความรู้ และนำมาใช้ประโยชน์ให้กับสังคมปัจจุบัน และอนาคต การดำเนินการให้บริการวิชาการ และเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคม ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงดังกล่าวสามารถดำเนินการผ่านโครงการโครงการเรียนรู้ทางภาษา ศิลปะ สังคม วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน (Kid Zone) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนได้ ซึ่งยังมีความสอดคล้องกับมาตรการการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในมาตรการที่ 5 การเสริมสร้างความเข้มแข็งการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน โดยเป็นกิจกรรมการร่วมทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบและคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุบลราชธานีและห้องสมุดประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี จากปัญหาของการจัดระบบการเรียนการสอนของนักเรียนในระดับปฐมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้เชิงประจักษ์และเชิงประยุกต์ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชีย รวมถึงการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะและสมรรถภาพทางร่างกายที่ยังคงมีระบบการเรียนการสอนที่เน้นภาคทฤษฎีโดยขาดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติและใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน ดังเช่นผู้อำนวยการโรงเรียนฮั้วเฉียวกงฮักอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีได้ให้ทรรศนะไว้ว่า ?การเรียนรู้ของนักเรียนในระดับปฐมศึกษาในปัจจุบันยังขาดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับความเป็นจริงของชีวิตประจำวันของเด็กนักเรียน คือ ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองเรียนนั้นสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางด้านภาษา วิทยาศาสตร์และศิลปะ ซึ่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้นควรที่จะเน้นให้นักเรียนได้เข้าใจในองค์ความรู้ของสิ่งที่เรียนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้? (นายสุทน มากดี, 2555: สัมภาษณ์) ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทางด้านวิชาการ ทางสังคมและสมรรถภาพทางร่างกายของนักเรียนในระดับปฐมศึกษาและเพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ของกลุ่มนักเรียนระดับปฐมศึกษา รวมถึงเพื่อกระตุ้นความรักและความฝักใฝ่ในการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับปฐมศึกษาและเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียนการสอนของนักศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างสถาบันทางการศึกษาคือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุบลราชธานีและห้องสมุดประชาชน ทางผู้เสนอโครงการจึงเล็งเห็นความสำคัญของโครงการเรียนรู้ทางภาษา ศิลปะ สังคม วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน (Kid Zone) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนเพื่อเป็นการตอบสนองการให้บริการวิชาการทางสังคมแก่ชุมชนตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยในข้อที่ 1 สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล มีคุณธรรมนำความรู้ คิดเป็น ทำเป็น และดำรงชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียงและ ข้อที่ 3 บริการวิชาการ และเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคม ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้ทางด้านภาษา ศิลปะ สังคม วัฒนธรรมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน (Kid Zone) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเข้าร่วมประชาคมอาเซียน
2.เพื่อส่งเสริมการฝึกทักษะทางวิชาการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนอกชั้นเรียน
3.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดอุบลราชธานี และห้องสมุดประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนในระดับประถมศึกษา 6 โรงเรียน ได้แก่ 1. นักเรียนโรงเรียนวัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2. นักเรียนโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 3. นักเรียนโรงเรียนฮั้วเฉียวกงฮักอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 4. นักเรียนโรงเรียนอาเวมารีอา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 5. นักเรียนโรงเรียนวัดท่าวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 6. นักเรียนโรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการโดยบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย 2. จัดทำแผนกิจกรรมการเรียนรู้ kids zone 3. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเรียนรู้ kids zone ไปยังกลุ่มเป้าหมายของโครงการทั้งหมด 6 โรงเรียน 4. กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Chinese Foundation) 5. กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Japanese Foundation) 6. กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาเวียดนามขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Vietnamese Foundation) 7. กิจกรรมสร้างสรรค์กับการพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ 8. กิจกรรมทางด้านงานประดิษฐ์ 9. สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการโดยบูรณาการกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย -- --- --- --- 0.00
2.จัดทำแผนกิจกรรมการเรียนรู้ kids zone -- --- --- --- 5,000.00
3.ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเรียนรู้ kids zone ไปยังกลุ่มเป้าหมายของโครงการทั้งหมด 6 โรงเรียน -- --- --- --- 3,000.00
4.กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Chinese Foundation) --- -- --- --- 19,000.00
5.กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Japanese Foundation) --- -- --- --- 19,000.00
6.กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาเวียดนามขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Vietnamese Foundation) --- -- --- --- 19,000.00
7.กิจกรรมสร้างสรรค์กับการพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ --- --- -- --- 19,000.00
8.กิจกรรมทางด้านงานประดิษฐ์ --- --- -- --- 19,000.00
9.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- -- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
4 มกราคม พ.ศ. 2557
09.00-16.00 กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาจีนขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Chinese Foun อาจารย์ณัฐพัชร์ เตชะรุ่งไพศาล
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
09.00-16.00 กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Japanese อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1 มีนาคม พ.ศ. 2557
09.00-16.00 กิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์และไวยาภาษาเวียดนามขั้นพื้นฐานเชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning for Vietnam อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00-16.00 กิจกรรมสร้างสรรค์กับการพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
09.00-16.00 กิจกรรมทางด้านงานประดิษฐ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.เป็นการฝึกฝนทักษะทางวิชาการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านทักษะทางวิชาการที่ประยุกต์ใช้ในการทำงานก่อนการทำงานในสายอาชีพจริง 2. เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันคือมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและหน่วยงานภายนอกที่เป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสู่ชุมชนและเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในการสมัครงานและทำงานต่อไปในอนาคต 3. สามารถลดค่าใช้จ่ายของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการและผู้ปกครอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนเพิ่มเติมในโรงเรียนกวดวิชาแต่สามารถร่วมเรียนรู้ทางวิชาการกับโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคมจากการบูรณาการของคณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบและคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้
ด้านสังคม : เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ของกลุ่มนักเรียนระดับปฐมศึกษา 2. เกิดความรักและความฝักใฝ่ในการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับปฐมศึกษาและเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเรียนการสอนของนักศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. นักเรียนในระดับปฐมศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจด้านภาษาต่างประเทศในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ความรู้ทางศิลปะและความรู้ทางวิยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ทางวิชาการ 1. ก่อให้เกิดความรู้ทางด้านภาษา ศิลปะ สังคม วัฒนธรรมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน (Kid Zone) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเข้าร่วมประชาคมอาเซียน 2. เกิดการฝึกทักษะทางวิชาการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนอกชั้นเรียน 3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดอุบลราชธานี และห้องสมุดประชาชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ โดยประมาณการเป็นการลดค่าใช้จ่ายจากค่ากวดวิชา 100 คน คนละ 100 บาท จำนวน 32 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน 3200000 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1415 451 ปริทัศน์การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
หลักสูตร ภาษาจีนและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาร้อยละ 80 ที่เรียนรายวิชานี้ได้รับความรู้และประสบการณ์สอนเพิ่มขึ้นและสามารถสอบผ่านในรายวิชานี้ได้
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร้อยละ 80 ที่เรียนรายวิชานี้ได้มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาร้อยละ 80 ที่ได้เข้าร่วมการบริการวิชาการสามารถอธิบายและสังเคราะห์ถึงปรากฏการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการร่วมดำเนินการกิจกรรม kids zone ผ่านแบบทดสอบได้

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 30,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 500.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 71,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 48,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 16 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิวประชาสัมพันธ์โครงการ
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 2,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 103,000.00 บาท