แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2555
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธนาคารชุมชนและสถาบันการเงินชุมชน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางรัชนี แสงศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : อาจารย์ด้านบัญชี
ความเชี่ยวชาญ : การบัญชี
หัวหน้าโครงการ
นางสายเพชร อักโข คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ด้านการตลาด การค้าปลีก
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปวีณา คำพุกกะ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิธีวิทยาการวิจัย
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : สถิติศาสตร์และการวิจัย
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทย ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ แต่ละแผนได้กำหนดเป็นช่วงระยะเวลาโดยมีความมุ่งหวังให้ประชากรอยู่ดี กินดี ซึ่งในปัจจุบันนับเป็นฉบับที่ 10 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2550) ที่มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนซึ่งมีทั้งการสนับสนุนในด้านการจัดกลุ่มอาชีพ การสร้างรายได้ การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการลดรายจ่ายเพื่อให้เกิดการออมขึ้น จนเป็นที่มาของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกหมู่บ้านจะมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเกิดขึ้น บางหมู่บ้านสามารถพัฒนากลุ่มออมทรัพย์ไปจนถึงระดับสถาบันการเงินชุมชนในขณะที่บางหมู่บ้านยังประสบปัญหาในการพัฒนา อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ธนาคารชุมชนหรือสถาบันการเงินชุมชนเหล่านี้ประสบอยู่คือปัญหาด้านการบริหารจัดการระบบบัญชีซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงเป็นการจัดทำเอกสารการรับฝากและกู้ยืมต่าง ๆ ด้วยมือทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน ต้องทำงานซ้ำซ้อน และเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ง่าย ซึ่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยีและสารสนเทศมีการพัฒนาไปมากและคนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นหากสามารถนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการและการทำบัญชีจะทำให้การทำงานของธนาคารชุมชนหรือสถาบันการเงินชุมชนเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาให้ประสบความสำเร็จส่งผลดีต่อประเทศชาติ ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้ทราบถึงปัญหาการบริหารจัดการของธนาคารชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านการบัญชีจึงได้ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องรูปแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่เหมาะสมของธนาคารชุมชนโดยใช้ธนาคารสัจจะออมทรัพย์บ้านศรีไคออกเป็นกรณีศึกษา ซึ่งจากการวิจัยดังกล่าวทำให้สามารถพัฒนาระบบโปรแกรมบัญชีที่สามารถนำมาใช้ให้เหมาะสมกับธนาคารชุมชนและช่วยในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องการเผยแพร่โปรแกรมบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ของธนาคารชุมชนต่าง ๆ เพื่อจักได้นำไปใช้ประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานให้แก่ชุมชนซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนาประเทศชาติ นอกจากนี้ยังถือเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปสู่ชุมชนได้จริง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อช่วยพัฒนาธนาคารชุมชนหรือสถาบันการเงินชุมชนโดยการนำโปรแกรมบัญชีมาใช้ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถนำพาชุมชนให้เข้มแข็งยั่งยืนต่อไป
2.เพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยในการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปเผยแพร่สร้างประโยชน์แก่ชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เจ้าหน้าที่ของธนาคารชุมชน กองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีหรือจังหวัดใกล้เคียงที่สนใจ ที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.การเตรียมแผนงานอบรม 2. การประชาสัมพันธ์ 3. การเตรียมข้อมูลอุปกรณ์ในการอบรม 4. ประชุมวิธีการดำเนินงาน 5. การดำเนินงานอบรม 6. สรุปผลการดำเนินงานอบรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2554
2555
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การเตรียมแผนงานอบรม - --- --- --- 5,300.00
2.การประชาสัมพันธ์ -- -- --- --- 2,500.00
3.การเตรียมข้อมูลอุปกรณ์ในการอบรม --- - --- --- 9,500.00
4.ประชุมวิธีการดำเนินงาน --- --- -- --- 1,500.00
5.การดำเนินงานอบรม --- --- -- --- 28,700.00
6.สรุปผลการดำเนินงานอบรม --- --- -- --- 1,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
9.00-10.00 ระบบสารสนเทศกับการจัดทำบัญชี รัชนี แสงศิริ
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
10.00-12.00 การใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธนาคารชุมชน นายดุสิต ศรีสร้อย และ นางรัชนี แสงศิริ
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
13.00 - 16.00 การใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธนาคารชุมชน นายดุสิต ศรีสร้อย และ นางรัชนี แสงศิริ
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
9.00 - 12.00 การใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธนาคารชุมชน นายดุสิต ศรีสร้อย และ นางรัชนี แสงศิริ
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
13.00 - 16.00 การใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธนาคารชุมชน นายดุสิต ศรีสร้อย และ นางรัชนี แสงศิริ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เจ้าหน้าที่ธนาคารชุมชน/เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่ดูแลการออมทรัพย์ของหมู่บ้านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดเพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาการบริหารจัดการธนาคารของตนเองได้
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
24
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1706344 PHP Programming
หลักสูตร การจัดการสารสนเทศ
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 385,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 13,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 13,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 372,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 120,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 200 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
120,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 252,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 420 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
252,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 22,950.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,500.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
3,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 5,250.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
5,250.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 14,200.00 บาท )
1) จ้างเหมาแรงงาน
=
1,200.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาสรุปประเมินผลโครงการพร้อมเข้าเล่ม
=
1,500.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์เอกสารบรรยายเพื่อเผยแพร่
=
4,500.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาโฆษณาประชาสัมพันธ์
=
2,500.00 บาท
5) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการประสานงาน
=
4,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 5,150.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 5,150.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,150.00 บาท
=
5,150.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 500.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 0 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 500 บาท
=
500.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 414,400.00 บาท