แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2555
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ รุ่นที่ 8
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับภาครัฐ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายประสิทธิ์ กาญจนา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์)
ประสบการณ์ : 1.หัวหน้าโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพารา 10 ปีทำงานวิจัยทางด้านยางพารา 8 ปีที่ปรึกษานิคมยางพาราในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกรรมการตรวจการจ้างต้นพันธุ์ยางพาราของกรมวิชาการเกษตรกรรมการศูนย์เรียนรู้ยางพาราของสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ปรึกษากลุ่ม/เครือข่ายยางพาราจังหวัดอุบลราชธานีวิทยากรทางด้านยางพารากรรมการหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการยาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯและเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาหลักการผลิตยางธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ 2.หัวหน้าโครงการวิจัยปาล์มน้ำมัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : 1.ระบบการผลิตยางพารา 2.ระบบตลาดยางพารา 3.ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เริ่มทดลองปลูกยางพาราตั้งแต่ปี 2521 เมื่อเปิดกรีดได้พบว่า ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ผลผลิตที่น่าพอใจ จึงได้เพิ่มพื้นที่ปลูกเรื่อยมา ตั้งแต่โครงการอีสานเขียว ในปี 2532 ? 2536 โดยเฉพาะโครงการยาง 1 ล้านไร่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2547-2549 ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบันเกษตรกรก็ยังปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นตลอดมา นอกจากนี้รัฐบาลได้ทำโครงการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 ระหว่างปี 2553-2555 ตาม พรบ.กองทุนสงเคราะห์สวนยาง มาตรา 21 ทวิ เพื่อให้เกษตรกรที่ยังไม่เคยมีสวนยางมาก่อนได้มีโอกาสปลูกยางพาราเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็ง เปิดโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่มั่นคง ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน และเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า ซึ่งมีเป้าหมายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 แสนไร่ เนื่องจากพบว่า การปลูกยางพาราเกษตรกรมีรายได้สูงเมื่อเทียบกับการปลูกพืชไร่อื่นๆ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฯลฯ ยางพาราจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นความต้องการของเกษตรกรในทุกภูมิภาคในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกร ที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่ภาครัฐให้คำนิยามว่า (การปลูกยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่) มีความรู้ความเข้าใจมีโอกาสได้มีการเรียนรู้การผลิตยางพาราและฝึกฝนทดลองปฏิบัติการจริง คณะเกษตรศาสตร์จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ เรื่องการปลูก การดูแลรักษา การปลูกพืชแซมและพืชร่วมยางเพื่อสร้างความหลากหลายในสวนยาง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกรถ้ายางพารามีปัญหา การกรีดยางและการทำยางแผ่นคุณภาพดี เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กรีดยางที่ถูกวิธี การทำยางแผ่นให้มีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด และเรื่องการจัดการตลาดยางเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านศักยภาพและเสถียรภาพราคายาง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในเชิงวิชาการให้ได้รับความรู้อย่างถูกต้องในการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องยางพาราและเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ 2.เพื่อฝึกให้เกษตรกรได้ลงปฏิบัติจริงในการพัฒนาคุณภาพยางพารา การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการจัดการตลาดยางพาราที่มีคุณภาพ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.เกษตรที่สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราพื้นที่ปลูกยางใหม่ในจังหวัดอุบลราชธานี ระยะที่ 3 ตาม พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ และผู้สนใจทั่วไป 2.กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่เปิดกรีดแล้วในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาหลักการผลิตยางธรรมชาติ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
180 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1.การเตรียมแปลงปลูกและแปลงฝึกกรีด วิธีดำเนินการโดยการไถเตรียมดินแปลปลูก 2 ครั้ง ส่วนแปลงฝึกกรีดกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยบำรุง กิจกรรมที่ 2 ดูแลรักษาแปลปลูกและแปลงฝึกกรีด การดำเนินการ โดยแปลงปลูกฉีดพ่นสารเคมีควบคุมวัชพืช ส่วนแปลงฝึกกรีดกำจัดวัชพืชทั้งภายในแปลและรอบๆแปลงฝึกกรีด กิจกรรมที่ 3 เตรียมเอกสาร การดำเนินการ ทำเรื่องขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมจากสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร,สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และองค์การสวนยาง จากนั้นนำเอกสารมาจัดรูปแบบให้เป็นหมวดหมู่ กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน ทำเรื่องแจ้งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี ช่วยประชาสัมพันธ์หลักสูตรการฝึกอบรม กิจกรรมที่ 5,6 จัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์ในการฝึกอบรม การดำเนินงาน ทำเรื่องขอยืม,สั่งซื้อ วัสดุ,อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม กิจกรรมที่ 7,8 อบรมการพัฒนาคุณภาพยางและเทคโนโลยการผลิตยาง การดำเนินงาน มีการบรรยาย และฝึกปฏิบัติจากของจริงทั้งในสถานที่ฝึก และการลงปฏิบัติจริงในแปลง กิจกรรมที่ 9 การฟื้นฟูสภาพแปลง การดำเนินงาน ภายหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรม มีการดูแลรักษา เช่นการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย และให้น้ำแปลงที่ผ่านการฝึกเพื่อฟื้นฟูให้อยู่ในสภาพเดิม กิจกรรมที่ 10 ประเมินผล สรุปค่าใช้จ่ายและส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ การดำเนินงาน ภายหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมแล้ว สรุปค่าใช้จ่าย ประเมินผลและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2554
2555
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแปลงปลูก,แปลงฝึกกรีด -- --- --- --- 30,000.00
2.ดูแลรักษาแปลงปลูก,แปลงฝึกกรีด -- --- --- --- 20,000.00
3.เตรียมเอกสาร -- --- --- --- 5,000.00
4.ประชาสัมพันธ์ -- --- --- --- 5,000.00
5.จัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์การฝึกอบรมครั้งที่ 1 (การผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่) -- --- --- --- 15,000.00
6.จัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์การอบรมครั้งที่ 2 (การกรีด การพัฒนาคุณภาพยางแผ่น) -- --- --- --- 25,000.00
7.อบรมการกรีด การพัฒนาคุณภาพยางฯ - --- --- --- 50,000.00
8.อบรมเทคโนโลยีการผลิตยาง -- --- --- --- 30,000.00
9.การฟื้นฟูคืนสภาพแปลงยางพารา --- --- 10,000.00
10.ประเมินผล สรุปค่าใช้จ่าย และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 รวมเวลา 7 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 ตุลาคม พ.ศ. 2554
09.00-11.00 บรรยายเรื่องการกรีดยาง การทำยางแผ่นคุณภาพดี ประสิทธิ์ กาญจนา
28 ตุลาคม พ.ศ. 2554
11.00-12.00 บรรยายการใช้มีดกรีดยาง และการลับมีด สกย.จ.อุบลราชธานี
28 ตุลาคม พ.ศ. 2554
13.00-16.00 ฝึกปฏิบัติลับมีด ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
29 ตุลาคม พ.ศ. 2554
09.00-12.00 ปฏิบัติชั้นพื้นฐาน กระตุกมือสลับเท้า ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
29 ตุลาคม พ.ศ. 2554
13.00-16.00 ปฏิบัติขั้นพื้นฐาน (ต่อ) ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
30 ตุลาคม พ.ศ. 2554
13.00-16.00 ปฏิบัติขั้นพัฒนา 2 กรีดรักษามุม 30 องศา ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
30 ตุลาคม พ.ศ. 2554
09.00-12.00 ปฏิบัติขั้นพัฒนา 1 กรีดหน้าเรียบ ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
31 ตุลาคม พ.ศ. 2554
09.00-12.00 ปฏิบัติขั้นปราณีต 1 กรีดถึงท่อน้ำยาง ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
31 ตุลาคม พ.ศ. 2554
13.00-16.00 ปฏิบัติขั้นปราณีต 2 กรีดสิ้นเปลืองเปลือกน้อย ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
13.00-16.00 การจัดการตลาดยางพารา ประสิทธิ์ กาญจนา
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
09.00-12.00 การทำยางแผ่นคุณภาพดี ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
09.00-12.00 การทดสอบฝีมือช่างกรีดยางรอบที่ 1 ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
13.00-16.00 การทดสอบฝีมือช่างกรีดยางรอบที่ 2 และประกาศผลช่างฝีมือกรีดยางประจำปี ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.จ.อุบลราชธานี
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
16.00-16.30 มอบวุฒิบัติ/ปิดการฝึกอบรม ประสิทธิ์ กาญจนา
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
15.00-16.00 การเชื่อมโยงเครือข่ายชาวสวนยางในพื้นที่ปลูกยางใหม่ สกย.จ.อุบลราช
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
13.00-15.00 การปลูกยางพาราอย่างมืออาชีพในพื้นที่ปลูกยางใหม่ นายวิชิต ลี้ประเสริฐ ประธานเครือข่ายยางพารา จ.บุรีรัมย์
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
11.00-12.00 บรรยายพันธุ์ยางที่เหมาะสมในพื้นที่ปลูกยางใหม่ นายอดุลย์ โคตรพันธ์ ประธานเครือข่ายยางพารา จ.อุบลราชธานี
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
10.00-11.00 บรรยายปัญหาและแนวทางการปลูกยางในภาคอีสาน ผอ.สกย.จ.อุบลราชธานี
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
09.00-10.00 บรรยายสถานการณ์การผลิต และศักยภาพการผลิตยางของไทย ประสิทธิ์ กาญจนา
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
16.00-16.30 ปิดการฝึกอบรม ประสิทธิ์ กาญจนา หัวหน้าโครงการฝึกอบรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตยางพารา และการผลิตยางที่ดีมีคุณภาพ ทำให้สามารถขายยางได้ในราคาที่สูงขึ้น
ด้านสังคม : -ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกฝนการอยู่ร่วมกันและการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิตในสังคม
ด้านสิ่งแวดล้อม : -การปลูกยางพาราเป็นการปลูกป่าเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง และเป็นการช่วยลดโลกร้อนด้วย
ด้านอื่นๆ : -ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
180
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
100
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ใช้งบประมาณตามแผนการเงินที่วางไว้ และมีจำนวนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมครบตามจำนวน โดยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อคน 1,111.11 บาท แต่ผู้ร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้จากการพัฒนาฝีมือชั่งกรีดยางได้ 20,00 บาทต่อเดือน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หลักการผลิตยางธรรมชาติ
หลักสูตร ปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการยาง
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่นำมาสอดแทรกในสาระวิชาที่สอน และทำคะแนนในหัวข้อที่กำหนดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 40,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 37,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 25,200.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
25,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
2,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 69,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 29,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
24,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 40,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
33,600.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
7,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 25,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 25,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 134,800.00 บาท