แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการเผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ 2557
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน
นโยบาย : พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการแก่สังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ยังไม่ได้เพิ่มผู้รับผิดชอบโครงการselect * from response_data rd,user_data ud,education ed,user_tname ut,resp_type rt where (rd.user_id=ud.user_id) and (rd.resp_type_id=rt.resp_type_id) and (ud.tname_id=ut.tname_id) and (ud.edu_id=ed.edu_id) and rd.pro_id=858 order by rd.resp_type_id

หลักการและเหตุผล
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ซึ่งการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์แต่ละสังคมนั้นจะมีกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน ในยุคดั้งเดิมนั้นมนุษย์สามารถที่จะรู้กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันได้โดยตัวของมนุษย์แต่ละคนเองเพราะกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันนั้นสอดคล้องกันศีลธรรมและมโนธรรมสำนึกผิดชอบชั่วดีของมนุษย์เอง มนุษย์จึงสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจกฎเกณฑ์เหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่ในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นคือ กฎเกณฑ์ที่เรียกว่ากฎหมาย ซึ่งกฎหมายในยุคปัจจุบันนั้นจะเป็นเรื่องทางเทคนิคมากขึ้นและมนุษย์จะไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงตัวกฎหมายได้โดยตัวของมนุษย์เองเช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันในยุคดั้งเดิม และการที่มนุษย์ไม่รู้กฎหมายนี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ละเมิดกฎหมายหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่รู้กฎหมาย อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม หากไม่มีความเป็นธรรมในสังคมแล้วความสงบสุขในสังคมก็จะไม่มีเกิดขึ้นและสังคมมนุษย์สังคมนั้นก็จะล่มสลายไปในที่สุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น เป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดีและมีระดับการศึกษาในระดับที่ไม่สูงนัก จึงขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย อันเป็นสาเหตุให้ถูกเอารัดเอาเปรียบเนื่องจากความไม่รู้กฎหมาย ทั้งเมื่อเกิดปัญหามีข้อพิพาททางกฎหมายขึ้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะหาที่พึ่งที่จะให้ความช่วยเหลือในทางกฎหมายที่น่าเชื่อถือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้น ประชาชนทั่วไปจึงมีความคาดหวังว่าคณะนิติศาสตร์จะสามารถเป็นที่พึ่งทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ ด้วยความตระหนังถึงภารกิจของคณะที่มหาวิทยาลัยได้มอบหมายและความคาดหวังของประชาชนดังกล่าวข้างต้น คณะนิติศาสตร์จึงได้จัดตั้งศูนย์เผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย (ศชปก.) ขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการให้บริการวิชาการทางกฎหมายในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การจัดเผยแพร่กฎหมายโดยการบรรยายในรูปแบบของกิจกรรมนิติศาสตร์สัญจร การจัดประชุม/อบรม/สัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น แต่เนื่องจากคณะนิติศาสตร์เป็นคณะที่อยู่ในกำกับของมหาวิทยาลัย งบประมาณของคณะนิติศาสตร์ที่จะสนับสนุนการให้บริการวิชาการทางด้านนิติศาสตร์แก่ประชาชนทั่วไปจึงมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ศูนย์เผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงจัดทำโครงการเผยแพร่และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ 2557 ขึ้น โดยมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป

วัตถุประสงค์
1.จัดกิจกรรมอบรมกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันหรือกฎหมายเฉพาะเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในชนบทหรือประชาชนที่มีปัญหาทางกฎหมายเฉพาะเรื่องในรูปแบบของนิติศาสตร์สัญจร ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และองค์กรภาคประชาชน
2.จัดให้คำปรึกษาทางกฎหมายให้แก่นักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป
3.จัดเผยแพร่กฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายปกครองและกฎหมายอื่นผ่านสื่อออนไลน์
4.จัดกิจกรรมเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ์ ครั้งที่ 5
5.จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ
6.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการทางกฎหมายกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์กรภาคประชาชน และโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัยผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ
7.จัดพิมพ์วารสารกฎหมายคณะนิติศาสตร์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านกฎหมายในกลุ่มสาขาวิชาของคณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ โดยการจัดเวทีให้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ประชาชนทั่วไปในชนบท (ที่เข้าร่วมกิจกรรมนิติศาสตร์สัญจรและกิจกรรมจัดทำแผนฯ) 240 คน 2. นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป (ที่ขอรับคำปรึกษาทางกฎหมาย) 20 คน 3. คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ทั่วประเทศ (ที่ได้อ่านวารสารกฎหมายฯ) 250 คน 4. นักเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าค่ายเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ครั้งที่ 5 80 คน 5. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ (31 พฤษภาคม 2557) 100 คน 6. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันรพี (นักศึกษาทุกชั้นปี 100 คน, นักเรีย นชั้นมัธยมตอนปลาย 300 คน 40 โรงเรียน 120 คน, คณะครูอาจารย์ที่ติดตามนักเรียน 60 คน,บุคลากรคณะฯ 20 คน)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
990 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ 2. ดำเนินการจัดทำสื่อ (วารสารกฎหมายเพื่อประชาชน) 3. ประสานงานกลุ่ม/ชุมชน/องค์กร/หน่วยงานต่างๆ (โรงเรียน, องค์การบริหารส่วนตำบล) เพื่อเชิญเป็น องค์กรร่วมจัดกิจกรรมตามโครงการและเป็นกลุ่มเป้าหมายในการเข่าร่วมกิจกรรม 4. เริ่มจัดกิจกรรมต่างๆไปตามแผนการดำเนินงาน (ดังปรากฏตามแผนการดำเนินงาน) 5. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดกิจกรรมวันรพี --- --- --- -- 0.00
2.จัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการฯ --- --- -- --- 0.00
3.สัมมนาสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ --- --- --- -- 0.00
4.นิติศาสตร์สัญจร --- --- 0.00
5.จัดทำสื่อกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน - วารสารกฎหมายฯ -- --- --- -- 0.00
6.ค่ายเครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิ ครั้งที่ 5 --- --- -- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
8 สิงหาคม พ.ศ. 2556
09.00 - 12.00 น. การแข่งขันตอบปัญหา (ห้อง 2305) ประกวดสุนทรพจน์ (2214) จัดบอร์ดนิทรรศการ (เต็นท์หน้าคณะนิติศาสตร์)
1 มกราคม พ.ศ. 2557
09.00 - 10.30 บรรยายกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน หัวข้อที่ 1 วิทยากรอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ คนที่ 1
1 มกราคม พ.ศ. 2557
13.00 - 14.30 บรรยายกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน หัวข้อที่ 3 วิทยากรอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ คนที่ 3
1 มกราคม พ.ศ. 2557
10.30 - 12.00 บรรยายกฎหมายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน หัวข้อที่ 2 วิทยากรอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ คนที่ 2
24 เมษายน พ.ศ. 2557
10.30 - 12.00 ละลายพฤติกรรมและกิจกรรมความคาดหวังในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ร่วมค่าย
24 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00 - 16.30 สิทธิมนุษยชน
25 เมษายน พ.ศ. 2557
21.30 – 22.30 น. อุดมการณ์และความใฝ่ฝัน
25 เมษายน พ.ศ. 2557
13.00 - 16.00 หลักการมีส่วนร่วมในทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
25 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00 - 12.00 สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ
25 เมษายน พ.ศ. 2557
18.30 – 21.30 น. ภาพยนตร์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
26 เมษายน พ.ศ. 2557
09.00 – 12.00 น. เสวนา “คนรุ่นใหม่กับการพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน”
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
08.30 - 09.30 น. ปาฐกถานำ เรื่อง .........................................................
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
09.30 – 12.00 น. เสวนาทางวิชาการเรื่อง ........................................
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
13.00 – 16.00 น. นำเสนอผลงานทางวิชาการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : ประชาชนมีความรู้ในกฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในกรณีที่มีมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจริง ได้ไกล่เกลี่ยร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านได้ความรู้จากการอบรมไปใช้ไกล่เกลี่ยซึ่งคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน ทำให้ปัญหาการพิพาทในหมู่บ้านลดลง
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
990
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 0.00 บาท