แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตจังหวัด อุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุวภัทร ศรีจองแสง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิยาลัยศิลปากร
ประสบการณ์ : งานวิจัย : - ศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี (ผู้เข้าร่วม) [สกว.] - การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) (ผู้เข้าร่วม) งานทำนุบำรุงฯ : - แนวทางการอนุรักษ์อาคารที่ทรงคุณค่าในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (Tourism and Architecture)
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
บทบาทของชุมชนในการเข้ามาจัดการการท่องเที่ยวหรือที่เรียกว่า “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเติบโตเป็นเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ รูปแบบของการจัดการโดยชุมชนถูกคาดหวังว่าเป็นวิธีการจัดการท่องเที่ยวแบบหนึ่งที่มี ศักยภาพ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและสนับสนุนการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจชุมชนของคนในท้องถิ่นอีกด้านหนึ่งด้วย นอกจากนี้หากมองในด้านของการตลาดด้วยแล้ว ปรากฏว่าตลาดของการท่องเที่ยวโดยชุมชนยังเป็นตลาดกลุ่มเฉพาะ และบ่อยครั้งคำว่า “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” (Community – Based Tourism) ได้ถูกนำมาใช้เป็นเพียงสื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมภาพพจน์ของการท่องเที่ยว แต่กลับตรงกันข้ามได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น หากพิจารณาถึงองค์ความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้วพบว่า หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าว รวมทั้งผู้ประกอบการเองกลับยังมีความไม่ชัดเจนในด้านแนวคิดและหลักการ วิธีการและกระบวนการจัดการ การกระจายผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน เนื่องจากในหลายชุมชนของจังหวัดอุบลราชธานี มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน แต่สภาพการณ์ในปัจจุบันพบว่าชุมชนหลายแห่งที่มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้นในพื้นที่ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการ หลักการ วิธีการปฏิบัติในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม อันจะส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรของชุมชน ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งหาก ชุมชนท้องถิ่นเกิดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างถูกวิธีแล้ว จะส่งผลให้เกิดการความยั่งยืนต่อฐานทรัพยากร ประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพของนักท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนท้องถิ่นได้ในที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว หลักสูตรวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในฐานะสถาบันการศึกษาในส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น จึงเห็นสมควรจัดโครงการอบรมผู้นำท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน
2.2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยว

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนประชาชนในชุมชนท้องถิ่นของพื้นที่นำร่อง จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1. ชุมชนบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2. ชุมชนบ้านบากชุม อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 3. ชุมชนบ้านผาชัน ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี 4. ชุมชนบ้านลาดเจริญ ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
1000 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ตุลาคม – พฤศจิกายน 2557 2. ประสานงานวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ธันวาคม 2557 – มกราคม 2558 3. ประชาสัมพันธ์โครงการ กุมภาพันธ์ 2558 4. จัดอบรม พื้นที่ละ 2 วัน มีนาคม – เมษายน 2558 5. สรุปผลการอบรม กรกฎาคม 2558 6. รายงานผลการดำเนินโครงการ สิงหาคม 2558

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน - --- --- --- 0.00
2.ประสานงานวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -- -- --- --- 0.00
3.ประชาสัมพันธ์โครงการ --- -- --- --- 15,000.00
4.จัดอบรม พื้นที่ละ 2 วัน --- -- -- --- 120,800.00
5.สรุปผลการอบรม --- --- --- -- 0.00
6.รายงานผลการดำเนินโครงการ --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 335 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
7 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานี
8 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. ประยุกต์ใช้แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - based tourism) ในการจัดการ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
14 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานี
15 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. การประยุกต์ใช้แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - based tourism) ในการจัด อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4 เมษายน พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานี
5 เมษายน พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. การประยุกต์ใช้แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - based tourism) ในการจัด อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
18 เมษายน พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานี
19 เมษายน พ.ศ. 2558
09.00-16.00 น. การประยุกต์ใช้แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - based tourism) ในการจัด อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เกิดการพัฒนาทักษะการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่การทอ่งเที่ยวของตนเองอันจะนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวในการเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนและนำไปสู่การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว
ด้านสังคม : 1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - based tourism) 2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนของ ตนเอง
ด้านสิ่งแวดล้อม : ประชาชนที่มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการทรัพยากรทางการท่องเที่ยวภายในชุมชนอันจะนำไปสู่ความเข้าใจและความตระหนักในการอนุรักษ์และเกิดจิตอาสาในการรักษาทรัพยากรภายในชุมชน
ด้านอื่นๆ : 1.ทางด้านวิชาการบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาในหลักสูตรการท่องเที่ยว เช่น 1449 200 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 1449 403 การจัดการทอ่งเที่ยวโดยชุมชน 2. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างชุมชนทั้ง 4 พื้นที่และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. สอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษาในประเด็นการบริการทางด้านวิชาการแก่ชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คำนวณประมาณจากค่าธรรมเนียมการประมาณการอบรมการจัดการทอ่งเที่ยวโดยชุมชน 3,000 บาท/คน ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 100 คน งบประมาณในการอบรมโดยเอกชนรวมประมาณ 300,000 แต่ใช้งบประมาณในการดำเนินการในครั้งนี้ประมาณ 135,800 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1449403 การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
หลักสูตร การท่องเที่ยว
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ดำเนินการทั้ง 4 พื้นที่
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร้อยละ 80 เกิดความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ แนวทางการดำเนินงานการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community - based tourism)
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ รูปเล่มรายงานกลุ่ม แนวทางการพัฒนาการทอ่งเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 4 พื้นที่

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 38,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 38,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
19,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
19,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 95,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 6,400.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 8 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
6,400.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 16 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
16,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 36,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 12 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 13,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาผลิตเอกสารประกอบการอบรม
=
10,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิวประชาสัมพันธ์โครงการ
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 2,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 2,200.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,200.00 บาท
=
2,200.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 136,000.00 บาท