แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การออกแบบการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่ายด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนของครูในเขตจังหวัดอีสานใต้
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายฐิติ ราศีกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถิติประยุกต์
ประสบการณ์ : - การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการจัดการ การตลาด บุคคล -การส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อทำการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับประเทศในกลุ่ม AEC ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - การวิจัยในประเทศกัมพูชา - การจัดงาน เปิดบ้านบริหารศาสตร์ ณ เซนทรัลพลาซา อุบลราชธานี ปี 2559 , 2560
ความเชี่ยวชาญ : - การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) - การวิจัยเชิงพื้นที่ - การวิจัยตลาด
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามีการทำวิจัยหรือศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำผลงาน การทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ในการศึกษาต่อโดยอาศัยความรู้ ทฤษฎี แนวคิด หลักการมาจากเนื้อหาในหลักสูตรที่ตนเองศึกษาเท่านั้น แต่ยังขาดการตั้งปัญหาการวิจัยจากประเด็นปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นกระบวนการศึกษาหรือวิจัย จึงอาจไม่ใช่คำตอบที่นำไปใช้ในการจัดการศึกษาได้อย่างแท้จริง การอบรมการออกแบบการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่บุคลากรทางการศึกษา อันประกอบด้วยครู ผู้บริหาร นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา หรือผู้เกี่ยวข้อง จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการออกแบบการวิจัย ตั้งแต่การหาปัญหาที่แท้จริงของการบริหารจัดการ ที่ตรงตามความต้องการ ต่อจากนั้นจะต้องมีการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ มีความเป็นปัจจุบัน ตามหลักวิชาการที่ควรจะเป็น จากนั้นการใช้เครื่องมือทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจะมีส่วนเข้ามาช่วยในการตัดสินปัญหา จากนั้นจะนำไปการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำ น่าเชื่อถือ การอบรมครั้งนี้ จึงเป็นการอบรมที่มีเนื้อหาในการออกแบบการวิจัยทั้งระบบ ตั้งแต่การศึกษาปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล โดยเนื้อหาที่นำเสนอจะเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน อันจะส่งผลให้การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบการวิจัยอย่างง่ายเพื่อประกอบการเรียนการสอน 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ออกแบบการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการวิจัยในชั้นเรียน หรือการวิจัยอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ น่าเชื่อถือ ตามหลักวิชาการ 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ น่าเชื่อถือ ตามหลักวิชาการ 4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถแปลผลข้อมูลจากการวิเคราะห์ ได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ น่าเชื่อถือ ตามหลักวิชาการ 5. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ น่าเชื่อถือ ตามหลักวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เป็นครู หรือบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และยโสธร 2. นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4 หรือ 5 ในหลักสูตรการผลิตครู ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ 3. นักศึกษา ระดับปริญญาโท ทุกสาขาวิชา 4. ผู้สนใจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
โครงการอบรมนี้ประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1.1 กิจกรรมการอบรมเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการวิจัยอย่างง่าย ตั้งแต่การระบุปัญหาเพื่อประกอบการตัดสินใจ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ และทันสมัย รวมไปถึงการเลือกใช้เครื่องมือทางสถิติที่เหมาะสมไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1.2 กิจกรรมการอบรมเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่ายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน 1.3 กิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1.4 กิจกรรมการเพิ่มพูนความรู้ในการอภิปรายผลข้อมูล 1.5 กิจกรรมการนำเสนอผลการวิจัย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแผนการฝึกอบรม -- --- --- 1,000.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ รับสมัครผู้เข้าอบรม และจัดเตรียมเอกสาร -- --- --- 25,000.00
3.ดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยครั้งที่ 1 ได้แก่การเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการวิจัยอย่างง่าย --- --- -- --- 20,000.00
4.ดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยที่ 2 ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป --- --- -- --- 20,000.00
5.ดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยที่ 3 ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้ด้านการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล --- --- -- --- 10,000.00
6.ดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยที่ 4 ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้ด้านการอภิปรายผลการวิจัย --- --- -- --- 10,000.00
7.ดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยที 5 การนำเสนอผลการวิจัย --- --- --- -- 25,000.00
8.สรุปโครงการ --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 316 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
9.00-16.00 การนำเสนอผลการวิจัย อ.ฐิติ
4 เมษายน พ.ศ. 2558
9.00-16.00 การออกแบบวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล อ.ฐิติ
5 เมษายน พ.ศ. 2558
9.00-16.00 การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม อ.ฐิติ
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
9.00-16.00 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล อ.ฐิติ, อ.ณัฐพร (วิทยากรภายนอก)
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
9.00-16.00 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล อ.ฐิติ , อ.ณัฐพร (วิทยากรภายนอก)
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
9.00-16.00 การอภิปรายผลการวิจัย อ.ฐิติ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : มีความรู้ความสามารถในการวิจัยอย่างง่ายเพื่อใช้ในประกอบการตัดสินใจในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มความสามารถในการพัฒนาการศึกษาให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น
ด้านสังคม : เพื่อให้การวิจัยได้นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริง
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
35
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
100

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สถิติธุรกิจ
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ได้กรณีตัวอย่างเพื่อประกอบการเรียนการสอน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาช่วยในการดำเนินโครงการ อย่างน้อย 10 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การให้นักศึกษาช่วยในการดำเนินโครงการ อย่างน้อย 10 คน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 27,120.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 6 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,320.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,320.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,320.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษาช่วยงานจำนวน 1 คน x จำนวน 6 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
1,200.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 53,030.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,580.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
1,200.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,880.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
2,880.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,450.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
9,450.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 32,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
27,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 500.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 2,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 18,650.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 18,650.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,300 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,650.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 1,200.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 400 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
1,200.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 0 บาท
=
0.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท