แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ “การวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจทั่วไป” สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ตรวจสอบบัญชี และการควบคุมภายใน
ความเชี่ยวชาญ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศไทยแล้วมักจะไม่มีการวางแผนภาษีก่อนเริ่มหรือในระหว่างดำเนินกิจการ หรือเมื่อได้ดำเนินกิจการไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อภาษีอากร และรวมไปถึงระบบบัญชีเพื่อให้การจัดทำบัญชีและภาษีอากรถูกต้องสอดคล้องกัน หลายฝ่ายมักเข้าใจว่าเรื่องภาษีอากรเป็นเรื่องของฝ่ายบัญชีซึ่งมีหน้าที่จัดทำบัญชีและเสียภาษีให้ถูกต้อง หากภาษีอากรมีปัญหามักจะโยนปัญหาไปให้ฝ่ายบัญชีไปทำการแก้ไข สิ่งที่ทุกฝ่ายในกิจการจะต้องพิจารณาก็คือฝ่ายบัญชีมีหน้าที่เพียงนำเอกสารหลักฐานทางการค้าที่เกิดขึ้นจากฝ่ายต่างๆ ไปบันทึกรายการค้าและเสียภาษีเท่านั้น ซึ่งหากเรามองให้เห็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วเราก็จะทราบว่าภาษีอากรไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบัญชีเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นความรับผิดชอบของทุกคนในกิจการที่ได้ร่วมกันบริหารงานของกิจการด้วยกันนั่นเอง ในปัจจุบันภาษีอากรได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อยและรวดเร็ว ฝ่ายบริหารและฝ่ายบัญชีจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารให้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อให้การเสียภาษีอากรถูกต้องครบถ้วนและประหยัด ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทั้งในด้านบัญชีและภาษีอากร ทุกฝ่ายในองค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน เพื่อหาวิธีการจัดทำบัญชีและภาษีอากรโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนสมเหตุผล และได้รับประโยชน์ต่อกิจการสูงสุด การวางแผนภาษีอากรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม และต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารกิจการได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยที่สุด

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยตื่นตัว เห็นความสำคัญ และมีความรู้เพิ่มเติมในการวางแผนภาษีเพื่อการประกอบธุรกิจ อันนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการทำธุรกิจในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียน 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจหลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีและการวางแผนภาษี ตามประมวลรัษฎากรได้อย่างถูกต้อง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถประหยัดภาษี หรือลดค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่มต่างๆ เนื่องจากการจ่ายชำระภาษีที่ไม่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรม/วิธีการ 1.เสนอโครงการ 2.ประชุมคณะกรรมการ 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.รับสมัครผู้เข้าอบรม 5.เตรียมเอกสารการสอน 6.ดำเนินการอบรม 7.สรุปโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.ประชุมคณะกรรมการ --- -- --- --- 0.00
3.ประชาสัมพันธ์โครงการ --- -- --- --- 3,000.00
4.รับสมัครผู้เข้าอบรม --- -- --- --- 2,000.00
5.เตรียมเอกสารการสอน --- --- -- --- 5,000.00
6.ดำเนินการอบรม --- --- --- - 35,000.00
7.สรุปโครงการ --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 316 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
8.30-16.00 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนภาษี ความสำคัญของการทำบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมาย และการทำความเข้าใจก ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
8.30-16.00 น. การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม และตอบข้อซักถาม ปัญหาจากการประกอบการจริง ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ผู้ประกอบการตื่นตัว เห็นความสำคัญ และมีความรู้เพิ่มเติมในการวางแผนภาษีสำหรับการประกอบธุรกิจ อันนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในการทำธุรกิจ 2. ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการอบรมไปพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจของตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเปลี่ยนไป
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
24
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การภาษีอากร
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต และบริหารธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้ศึกษากรณีศึกษาเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นจริงในการประกอบธุรกิจ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 14,640.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,440.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
2,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 18,900.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 11,400.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันในการติดต่อประสานงาน
=
4,500.00 บาท
2) ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษาช่วยงาน (200 บาท 2 คน 4 วัน)
=
1,600.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด (200 บาท 2 คน 2 วัน)
=
800.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล ประเมินผลโครงการและจัดทำรูปเล่ม
=
4,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,460.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 11,960.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,460.00 บาท
=
5,460.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,500.00 บาท
=
1,500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 4,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
4,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 50,000.00 บาท